เครื่องมือจัดการน้ำ |
เครื่องมือการจัดการน้ำ |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
ฟื้นฟูป่าต้นน้ำ
|
- ช่วยดูดซับน้ำเพื่อลดปริมาณการไหลของน้ำฝนที่ไหลจากที่สูง
- ลดตะกอนที่มากับน้ำ
- ลดการพังทลายของหน้าดิน
- ลดการตื้นเขินของแม่น้ำลำคลอง
|
ทำเกษตรอินทรีย์ หรือลดการใช้สารเคมี |
- ลดการเน่าเสียของน้ำที่ไหลไปท่วมขังในพื้นที่ต่างๆ |
ผันน้ำสู่ที่ลุ่ม
|
- ลดปริมาณน้ำท่า
- ป้องกันน้ำท่วม |
ตกแต่งลำน้ำ ดิน ลาดตลิ่งที่ถูกกัดเซาะ กำจัดวัชพืช ขุดลอกลำน้ำบริเวณตื้นเขิน ทำลายสิ่งกีดขวางทางน้ำ |
- ให้น้ำไหลไปตามลำน้ำได้สะดวกและเร็วขึ้น
- เป็นแหล่งเก็บน้ำสำหรับใช้ในยามหน้าแล้ง |
สร้างเขื่อนเก็บกักน้ำ อ่างเก็บน้ำ
|
- แก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำ
- เพื่อประโยชน์ต่อพื้นที่เพาะปลูก
- บรรเทาปัญหาอุทกภัย |
ก่อสร้างทางผันน้ำ ทำคลองลัด ขุดคลอง สายใหม่เชื่อมต่อกับแม่น้ำที่มีปัญหาน้ำท่วม |
- ผันน้ำส่วนเกินออกจากลำน้ำป้องกันบรรเทาอุทกภัยริมฝั่งแม่น้ำ
กรณีขุดคลองควรขุดบริเวณโค้งน้ำและให้มีระดับท้องน้ำเท่ากับท้องน้ำเดิม |
สร้างคันกั้นน้ำ
|
- ป้องกันน้ำไหลล้นตลิ่ง
- ช่วยในการระบายน้ำไปตามทิศทางที่กำหนด |
สร้างคลองระบายน้ำ ควบคู่กับ ประตูระบายน้ำที่ปลายคลอง
|
- แก้ปัญหาน้ำขังในที่ลุ่มคล้ายแอ่งที่ไม่สามารถระบายได้หมดตามธรรมชาติ
และนำพื้นที่ไปใช้ประโยชน์อื่นได้ เช่น เป็นพื้นที่เพาะปลูก
- ส่วนประตูระบายน้ำทำหน้าที่ป้องกันน้ำไหลย้อนและควบคุมการไหลของน้ำในคลอง |
ทำแก้มลิง
|
- ใช้เก็บน้ำก่อนระบายสู่ทะเลช่วงน้ำลง
- บรรเทาปัญหาอุทกภัย ทั้งนี้การทำแก้มลิง ต้องยึดหลักน้ำไหลทางเดียว โดยให้ใช้ทฤษฎีแรงโน้มถ่วงในการระบายน้ำออกจากแก้มลิง |
ทำฝนเทียม
|
- แก้ปัญหาภัยแล้ง
- เพิ่มปริมาณน้ำในกรณีขาดแคลน |
ฝายทดน้ำ
|
- กันน้ำไว้ในพื้นที่ที่อยู่สูงกว่าแหล่งน้ำ ทั้งใช้ประโยชน์ในชีวิต และเพาะปลูก
- แก้ปัญหาขาดแคลนน้ำ |
อุโมงค์ผันน้ำ
|
- เป็นการจัดการน้ำจากพื้นที่น้ำมาก โดยผันน้ำส่วนที่เหลือใช้ไปใช้ประโยชน์ไปยังพื้นที่ที่ไม่มีน้ำ เป็นหลักการแบ่งปันการใช้น้ำ |
การหาความสัมพันธ์ของระดับน้ำ และปริมาณน้ำบริเวณปากแม่น้ำ
|
- ใช้มากบริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยาที่ไหลสู่ทะเล ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของระดับน้ำ
จะช่วยในการบริหารจัดการปริมาณน้ำเหนือที่ไหลผ่านเขื่อน (เจ้าพระยา ป่าสักชลสิทธิ์ เพื่อควบคุมน้ำเหนือหลากให้สอดคล้องกับสภาพน้ำทะเลหนุนในช่วงฤดูฝนอย่างมีประสิทธิภาพ |