ข้อดีข้อเสียของแนวป้องกันชายฝั่งรูปแบบต่างๆ |
รูปแบบ |
ข้อดี |
ข้อเสีย |
การปักไม้ไผ่/ ไม้ไผ่รวกสลาย พลังคลื่น
|
- ใช้แนวทางธรรมชาติในการแก้ไขปัญหา
- เสริมให้ตะกอนมีเวลาในการตกตะกอน นานขึ้นบริเวณหลังแนวไม้ไผ่
- ใช้งบประมาณน้อย
- ทำให้เกิดรายได้แก่ชุมชน และเสริมสร้างความมีส่วนร่วม ภายในชุมชน มีผลกระทบต่อชายฝั่งข้างเคียงและระบบนิเวศน้อย
- ชุมชนหรือท้องถิ่นสามารถดำเนินการเองได้ หากได้รับ การสนับสนุนงบประมาณจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง |
- ลดพลังคลื่นได้น้อย
- อายุการใช้งานสั้น (3-5 ปี) จำเป็นต้องมีการบำรุงรักษาตลอด
- หากวัสดุขาดแคลนจะมีผลต่อการดำเนินงาน (ไม้ไผ่ 48,000 ลำต่อ 1 กม. หรือ 35,820 ไร่ ต่อความยาว 100 กม.)
- ต้องใช้แรงงานจำนวนมาก
|
เขื่อนหรือกำแพงหิน ป้องกันคลื่นใกล้ฝั่ง
|
- ลดพลังคลื่นได้เกือบทั้งหมดแต่ขึ้นอยู่กับความสูงของ เขื่อนหรือกำแพง เขื่อนไกลฝั่งจะมีสันเขื่อนต่ำ
- เกิดการตกตะกอนด้านหลังแนวเขื่อนเร็ว เพราะลดพลังงานได้เกือบทั้งหมด
- ต้องการการบำรุงรักษาน้อยกว่าไม้ไผ่
- ท้องถิ่นทำเองได้แต่ต้องให้วิศวกรออกแบบ
|
- ไม่สามารถก่อสร้างได้สูงเกิน 1.5-2.0 เมตร เพราะจะทำให้ทรุดและได้ประสิทธิภาพลดลง
- ไม่สามารถสร้างเป็นแนวป้องกันคลื่นนอกฝั่งได้ เพราะต้องใช้งบประมาณสูงในการปรับปรุง ฐานราก
- ทำให้การถ่ายเทน้ำไม่สะดวก ส่งผลต่อคุณภาพน้ำ ทำให้เน่าเสียและทำให้ป่าชายเลนเสื่อมโทรม
- เกิดผลกระทบต่อชายฝั่งข้างเคียง
- ทำให้เสียทัศนียภาพชายฝั่ง |
การปักเข็มคอนกรีต สลายพลังคลื่น
|
- เป็นแนวสลายพลังคลื่นนอกชายฝั่ง
- เสริมให้เกิดการตกตะกอนที่ด้านหลังโครงสร้างมากขึ้น
- อายุการใช้งานนาน
- ต้องการการบำรุงรักษาน้อย
- มีผลของการทรุดตัวน้อย |
- ใช้งบประมาณสูง ขึ้นกับรูปแบบจำนวนแถวและ ความยาวเข็ม
- ทำให้เสียทัศนียภาพชายฝั่ง
- อาจเกิดอันตรายในการสัญจรทางน้ำ
- ประสิทธิภาพต่ำลงเมื่อความยาวคลื่นหรือ คาบเวลาคลื่นมากขึ้น จึงเหมาะกับบริเวณที่คลื่น มีความรุนแรงน้อย |
ไส้กรอกทราย
|
- เป็นโครงสร้างที่ผสมผสานระหว่างแนว ทางธรรมชาติและวิศวกรรม
- เป็นแนวป้องกันคลื่นนอกชายฝั่ง
- สามารถลดพลังงานคลื่นได้เกือบทั้งหมด ทั้งนี้ขึ้นกับความสูงของเขื่อน
- ใช้เป็นพื้นที่จอด/พักเรือด้านหลังจากคลื่นนอกฝั่ง
- เป็นโครงสร้างแบบกึ่งถาวรจะสามารถรื้อถอนออกได้ |
- ต้องใช้งบประมาณสูง
- มีการทรุดตัวหรือทรายรั่วทำให้ประสิทธิภาพลดลง
- หากทรายรั่วออกมามากจะทำให้เกิดผลกระทบต่อ นิเวศวิทยาชายฝั่ง
- ทำให้ทัศนียภาพชายฝั่งเสีย
- อาจทำให้เกิดผลกระทบต่อชายฝั่งข้างเคียง |
การปลูกป่าชายเลน
|
- เป็นการใช้วิธีทางธรรมชาติในการบรรเทา ป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง
- ไม่เกิดผลกระทบทางนิเวศชายฝั่งและสิ่งแวดล้อม และช่วยให้ระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมสมบูรณ์ขึ้น
- ใช้งบประมาณไม่มาก
- ช่วยบรรเทาสภาวะแวดล้อมของโลกที่เปลี่ยนแปลงไป จากการเพิ่มพื้นที่สีเขียว
- สามารถพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศและ เป็นแหล่งเรียนรู้เชิงอนุรักษ์ |
- ต้องใช้ระยะเวลาหนึ่งเพื่อให้ต้นไม้โตพอ ที่จะรับกับสภาวะคลื่นลมได้
- ต้องการพื้นที่เป็นบริเวณกว้าง (300-500 เมตรจากชายฝั่ง) ซึ่งอาจจะทำให้เกิด การขัดแย้งกับการทำอาชีพประมงในพื้นที่
- ปลูกได้ในพื้นที่สาธารณะส่วนที่เอกชนต้องอาศัย เทคนิคและนโยบายที่ชัดเจน
|