แนวทางเพื่อสิ่งแวดล้อมโลกของยูนิลีเวอร์ ไทย |
ปัญหา |
สาเหตุ |
ทางแก้ |
ก๊าซเรือนกระจก |
ผลิตภัณฑ์จำนวนมาก เช่น สบู่ แชมพู ผลิตภัณฑ์ซักล้างต้องใช้น้ำและน้ำร้อน จึงต้องใช้พลังงานจำนวนมาก |
- ตั้งเป้าลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก ที่เกิดจากกระบวนการผลิตลง 90% ภายในปี 2563 |
|
|
- ลดการใช้พลังงานในโรงงานลง 4% ต่อปี เช่น เปลี่ยนตู้แช่ไอศกรีมทั่วประเทศ ซึ่งช่วยลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกลงได้ 2,500 กก.ต่อปี |
|
|
- ลดก๊าซเรือนกระจกจากการขนส่ง โดยอยู่ระหว่างทำโครงการ Project Backhaul เพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งและลดไอเสีย โดยตั้งเป้าลด Co2 ลง 15-20%ภายในปี 2556 |
- ลดก๊าซเรือนกระจกจากการซักเสื้อผ้า ด้วยการนำเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ ที่ให้ผู้บริโภคซักผ้าด้วยอุณหภูมิของน้ำที่ต่ำลง รวมทั้งใช้ผงซักฟอกและน้ำน้อยลง |
น้ำ |
มีการใช้น้ำปริมาณมากในระบบซัพพลาย และผู้บริโภคจะต้องใช้น้ำในการใช้ ผลิตภัณฑ์ของยูนิลีเวอร์เกือบทั้งหมด |
- นำน้ำเสียกลับมาใช้ใหม่ เช่น ที่ผ่านมาโรงงานของยูนิลีเวอร์ที่มีนบุรี มีกระบวนการบำบัดน้ำที่ช่วยประหยัดน้ำ ได้เท่ากับน้ำในสระมาตรฐานโอลิมปิกรวมกัน 72 สระ |
|
|
- อยู่ระหว่างหาวิธีการนำน้ำฝนมาใช้แทนน้ำดิบ ในการผลิต |
- ลดการซักล้างของผู้บริโภคในการใช้ผลิตภัณฑ์ ซึ่งพบว่า 40% ของการใช้น้ำเกิดจากการซักล้าง ยูนิลีเวอร์ตั้งเป้าลดการใช้น้ำจากการซักล้างลง 4% ต่อปี ด้วยการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ เช่น คอมฟอร์ทอัลตร้าน้ำเดียว ซึ่งหากผู้บริโภคปรับพฤติกรรมได้ จะช่วยประหยัดน้ำได้รวมกัน 5 แสนล้านลิตรต่อการซักผ้า 1 ครั้ง เป็นต้น |
ของเสีย |
ยูนิลีเวอร์ต้องซื้อบรรจุภัณฑ์ มากกว่า 2 ล้านตันต่อปี |
- ส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับการรีไซเคิล ผ่านสถาบันการจัดการบรรจุภัณฑ์ และรีไซเคิลเพื่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งยูนิลีเวอร์เป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ก่อตั้ง |
|
|
- ร่วมกับชุมชนทำโครงการรีไซเคิลของเสียในชุมชน เพื่อเปลี่ยนพลาสติกกลับเป็นน้ำมันดิบอีกครั้ง เพื่อนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิง เช่น นำซองบรรจุภัณฑ์ของไอศกรีมวอลล์จำนวน 300 ล้านชิ้นต่อปี มาผ่านกระบวนการแปรรูปเป็นน้ำมันดิบได้ถึง 2.5 แสนลิตร แล้วนำกลับมาใช้เป็นพลังงานในการผลิตได้ใหม่ |
การจัดหา วัตถุดิบ ด้านการเกษตร อย่างยั่งยืน |
ครึ่งหนึ่งของวัตถุดิบมาจาก การเกษตรและป่าไม้ |
- ลดการใช้ลังกระดาษมากกว่า 45 ล้านใบ ซึ่งมาจากต้นไม้ 1 แสนต้นต่อปี เพื่อขนส่งสินค้าไปยังร้านค้าปลีก 2 แสนแห่งทั่วประเทศ ด้วยการลดขนาดกล่องกระดาษจากห้าชั้น เหลือสามชั้นแต่ป้องกันสินค้าได้เท่าเดิม และทำให้ลดกระดาษลงได้ 35-40% ประหยัดต้นไม้ได้ปีละ 3.5หมื่นต้นต่อปี |
|
|