สรุปแนวโน้มเศรษฐกิจและประเด็นที่น่าจับตามองในระยะต่อไป |
ประเด็น |
แนวโน้ม |
สิ่งที่น่าจับตามอง |
จีดีพี |
เศรษฐกิจในปี 2552 จะหดตัว 4.0-4.5% โดยคาดว่าจีดีพีในไตรมาส 2 จะติดลบกว่า 4%
เทียบกับในช่วงเดียวกับปีก่อนหน้า และหดตัวน้อยลงจากที่ติดลบ 7.1% ในไตรมาส 1 ขณะที่การชะลอตัวในภาคการผลิตน่าจะใกล้ถึงจุดต่ำสุดแล้ว
สำหรับผลกระทบจากการชะลอตัวของภาคท่องเที่ยวยังคงมีความเสี่ยง อนึ่ง เราอาจเห็นจีดีพีกลับเป็นบวกอย่างเร็วที่สุดในช่วงไตรมาส
4 ปีนี้ (หรืออย่างช้าในไตรมาส 1 ปี 2553) อย่างไรก็ดี ศูนย์วิจัยฯ คาดว่าจีดีพีจะสามารถกลับไปสู่ระดับสูงสุดเท่ากับช่วงไตรมาส
4 ปี 2550 ได้อย่างเร็วที่สุดในช่วงไตรมาส 4 ปี 2553 |
แม้ว่าตัวชี้เศรษฐกิจโลกจะปรับดีขึ้น แต่ดัชนีส่วนใหญ่ยังแสดงถึงการผ่านพ้นจุดต่ำสุด
มากกว่าที่จะเป็นการฟื้นตัวอย่างชัดเจน โดยดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของ OECD ซึ่งเป็นดัชนีชี้นำที่ดีสำหรับการส่งออกของไทย ได้ปรับตัวดีขึ้น เป็นเดือนที่สองติดต่อกัน
ขณะที่ดัชนีดังกล่าวมีสัญญาณของจุดต่ำสุดในอังกฤษ ฝรั่งเศส และอิตาลี และสัญญาณที่เริ่มขึ้นมีเสถียรภาพในสหรัฐฯ
ญี่ปุ่น และเยอรมนี ขณะเดียวกันดัชนีคำสั่งซื้อล่วงหน้า (PMI) ในหลายประเทศก็เริ่มมีทิศทางที่ดีขึ้น
แม้จะยังไม่มีการขยายตัวก็ตาม |
อัตราดอกเบี้ย |
อัตราดอกเบี้ยนโยบายน่าจะอยู่ที่ระดับต่ำสุดหรือใกล้ถึง ระดับต่ำสุดแล้ว ขณะที่สัญญาณล่าสุดจากธนาคารแห่งประเทศไทยบ่งชี้ว่า ความเป็นไปได้ในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเริ่มลดลง
อย่างไรก็ดี ภาวะเศรษฐกิจที่ยังคงเปราะบาง และความล่าช้าในการดำเนินนโยบายภาครัฐ อาจทำให้มีความจำเป็นต้องลดดอกเบี้ยลงอีกร้อยละ
0.25 ภายในสิ้นปีนี้ สำหรับอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรระยะยาว อาจเพิ่มขึ้นไม่มากนัก แม้ว่ารัฐบาลจะมีแผนกู้ยืมมากขึ้นก็ตาม
เนื่องจากสภาพคล่องในระบบที่ยังอยู่ในระดับสูง และความล่าช้าในการดำเนินโครงการต่างๆ |
การเติบโตของเศรษฐกิจที่เปราะบาง และอัตราเงินเฟ้อที่ติดลบ ทำให้เชื่อว่าธนาคารแห่งประเทศไทย น่าจะยังคงไม่ตัดสินใจ ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในอนาคต |
เงินเฟ้อ |
อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานและอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยในปี 2552 จะอยู่ที่ 0.4-1.8%
ตามลำดับ โดยคาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้มติดลบต่อเนื่อง ไปจนถึงเดือนตุลาคม
2552 และจะกลับเป็นบวกที่ประมาณ 3% ในช่วงไตรมาส 1 ปี 2553 จากผลของราคาน้ำมันที่ต่ำในช่วงไตรมาส
1 2552 (low base effect) |
แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อล่าสุดจะเริ่มมีสัญญาณเพิ่มขึ้น แต่ระดับราคาน้ำมันในปัจจุบันยังคงต่ำกว่าปีที่แล้ว
สะท้อนว่า อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานน่าจะมีแนวโน้มติดลบต่อเนื่อง ไปจนถึงช่วงไตรมาส 4
ปี 2552 ทั้งนี้ ราคาน้ำมันดิบเวสต์เทกซัส (WTI) ในไตรมาส 3 และ 4 ปี 2551 เฉลี่ยจะอยู่ที่
118 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลและ 58 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลตามลำดับ |
เงินบาท |
คาดว่าเงินบาท ณ สิ้นปี 2552 จะแข็งค่าขึ้นมาอยู่ที่ประมาณ 33 บาทต่อดอลลาร์ โดยมีปัจจัยหลักมาจากการเคลื่อนไหวของเงินดอลลาร์
ทั้งนี้เงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่าตามแนวโน้ม การอ่อนค่าของเงินดอลลาร์ในระยะยาว จากปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่อ่อนแอ
ขณะที่ชี้วัดในภาคการเงินต่างๆ (TED, VIX และ CDS spreads) สะท้อนว่ากระบวนการชำระคืนหนี้
และบทบาทของเงินดอลลาร์ในฐานะ "แหล่งพึ่งพิงที่ปลอดภัย" ได้จบสิ้นลงแล้ว
ซึ่งไม่มีปัจจัยลบใหม่ๆ เข้ามากระทบระบบการเงินโลกอีก (ซึ่งเราเชื่อเช่นนั้น) คาดว่าเงินดอลลาร์จะมีแนวโน้มอ่อนค่าลงในระยะต่อไป |
การเกินดุลบัญชีเดินสะพัดและเม็ดเงินลงทุนโดยตรง จากต่างประเทศที่อยู่ในระดับสูง
(ประมาณ 14 พันล้านในช่วง 5 เดือนแรกปีนี) ยังคงเป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลให้เงินบาทแข็งค่าขึ้น ในช่วงที่ผ่านมา |
น้ำมัน |
สำนักงานข้อมูลด้านพลังงาน (EIA) ของกระทรวงพลังงานสหรัฐฯ คาดว่าราคาน้ำมันดิบเวสต์เทกซัสในช่วงไตรมาส
4 ปี 2552 และในปี 2553 จะอยู่ที่ 70 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลและ 75 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลตามลำดับ
(เฉลี่ยที่ 60 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ในปี 2552 และ 72 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลในปี 2553) |
อุปสงค์และอุปทานน้ำมันในตลาดโลกที่ยังคงอ่อนแอ ทำให้เชื่อว่าแนวโน้มราคาน้ำมันในระยะสั้นๆ
คงจะไม่เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว |
ที่มาข้อมูล : ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) |