อิทธิพลของ “เวยป๋อ”
“วันนี้คุณ ‘เวย’ หรือยัง?” หลังจากเขียนแนะนำถึงเรื่องของ "เวยป๋อ" หรือไมโครบล็อก นวัตกรรมในโลกอินเทอร์เน็ตที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็วในสังคมจีนและได้รับการคาดหมายว่าน่าจะเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์และวิธีการสื่อสารของผู้คนในสังคมที่ใช้ “ภาษาจีน” ไปอย่างสิ้นเชิงได้ไม่ถึง 2 เดือนดี ผมก็อดไม่ได้ที่จะกลับมาเขียนถึงเรื่องของเวยป๋อเพิ่มอีกสักหนึ่งตอน
( มิถุนายน 2554)
G7010 ความฝันและความจริง
กลางฤดูใบไม้ผลิของเมืองจีน ผมนั่งเอกเขนกอยู่บนพาหนะทางบกที่กำลังเดินทางด้วยความเร็วมากกว่า 300 กิโลเมตรต่อชั่วโมงตัดผ่านเส้นทางในมณฑลเจียงซูจากมหานครเซี่ยงไฮ้ ไปยังนานกิง (หนานจิง) เมืองเอกของมณฑลเจียงซู
( พฤษภาคม 2554)
จีนกับการปฏิวัติเวยป๋อ
หลายเดือนมานี้เกิดเหตุการณ์เดินขบวน-ประท้วงรัฐบาลของประชาชนในตะวันออกกลาง-แอฟริกาเหนือหลายต่อหลายประเทศ ซึ่งในที่สุดนำมาสู่การเคลื่อนไหวเพื่อโค่นล้มการปกครองในหลายประเทศ เช่น ตูนิเซีย อียิปต์ บาห์เรน เยเมน จอร์แดน แอลจีเรีย
( เมษายน 2554)
สงครามและแนวรบจีน-สหรัฐฯ
“ถ้าคุณพยายามที่จะทำให้เกิดความมั่นคงแบบสัมบูรณ์ คุณก็จะทำให้เกิดความความไม่มั่นคงแบบไม่สัมบูรณ์สำหรับคนอื่นๆ” เฮนรี คิสซิงเจอร์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ กล่าวถึงผลกระทบของอิทธิพลจีนที่มีต่อสหรัฐฯ
( มีนาคม 2554)
ปักกิ่งที่หายไป
“ความเปลี่ยนแปลงที่ประเทศจีนกำลังประสบอยู่นี้เป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดที่ประเทศจีนและประชาชนชาวจีนเคยประสบมาในรอบหลายพันปี” หลี่ หยวนเฉา กรรมการกรมการเมืองและผู้ว่าการฝ่ายการจัดตั้งแห่งคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีน หนึ่งในกลุ่มผู้นำจีนรุ่นปัจจุบัน
( กุมภาพันธ์ 2554)
“สี จิ้นผิง” รัชทายาทแดนมังกร ตอนจบ
“ความคิดที่ถูกนำไปใช้ในภาคปฏิบัติหลายอย่างของผม มีรากฐานมาจากช่วงชีวิตในช่วงนั้น (ช่วงการปฏิวัติทางวัฒนธรรม) และส่งอิทธิพลต่อชีวิตของผมทุกๆ นาที จนกระทั่งปัจจุบัน สิ่งนี้เป็นรากฐานที่สำคัญยิ่งในการทำความเข้าใจขนบธรรมเนียม ประเพณีของชาวบ้านและสังคม” ---สี จิ้นผิง
( มกราคม 2554)
“สี จิ้นผิง” รัชทายาทแดนมังกร ตอนแรก
บ่อยครั้งเมื่อเปิดแผนที่กูเกิล เอิร์ธ ผมมักจะชอบเลื่อนเมาส์ไปเปิดดูแผนที่และสภาพความเปลี่ยนแปลงของกรุงปักกิ่ง เมืองที่ผมเคยใช้ชีวิตและมีความผูกพันอยู่หลายปี
( ธันวาคม 2553)
เมื่อโลกล้อม “จีน”
ภาพนักบาสเกตบอลชายทีมชาติจีนรุมไล่กระทืบนักบาสเกตบอลทีมชาติบราซิลในเกมอุ่นเครื่องก่อนการแข่งขันเอเชียนเกมส์ เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2553 ณ เมืองสวี่ชาง มณฑลเหอหนาน กลายเป็นประเด็นใหญ่ในหน้าสื่อขึ้นมาทันที
( พฤศจิกายน 2553)
“เส้นทางสายไหม” สายใหม่ จาก BRIC ถึง BRICSs
“จีนกำลังพูดคุยกับพี่น้องของเราในแอฟริกา เพื่อสร้างความสัมพันธ์ในเชิงผลประโยชน์ร่วมกัน ซึ่งแตกต่างจากวิธีการของลัทธิล่าเมืองขึ้นของตะวันตกก่อนหน้านี้ที่ชอบยึดครองสิ่งต่างๆ ด้วยกำลัง...” - - จาค็อบ ซูมา ประธานาธิบดีแอฟริกาใต้
( ตุลาคม 2553)
“เส้นทางสายไหม” สายใหม่ (ตอนแรก)
ต้นเดือนสิงหาคม 2553 มีจดหมายด่วนที่สุดจากสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) กระทรวงการคลัง มาถึงกองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์เอเอสทีวีผู้จัดการ เพื่อขอให้มีการมอบหมายผู้สื่อข่าวเดินทางไปดูงานกิจการรถไฟความเร็วสูง ณ เมืองเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน ระหว่างวันที่ 25-29 สิงหาคม 2553 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำสิ่งที่ได้เห็นได้รู้ในประเทศจีนมาต่อยอดพัฒนาโครงข่ายรถไฟความเร็วสูงในประเทศไทย
( กันยายน 2553)