Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 



วริษฐ์ ลิ้มทองกุล
มานิตา เข็มทอง
ภก.ดร. ชุมพล ธีรลดานนท์
ธวัชชัย อนุพงศ์อนันต์
ติฟาฮา มุกตาร์
ชาคริต เทียบเธียรรัตน์
สุปราณี คงนิรันดรสุข
สมศักดิ์ ดำรงสุนทรชัย
วิรัตน์ แสงทองคำ
รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์
รุ่งมณี เมฆโสภณ
ธีรัส บุญหลง
วิไลลักษณ์ ถิรนุทธิ
ธนิต แก้วสม
อนิรุต พิเศฏฐศลาศัย
วรรณปราณี ศักดิ์สราญรมย์
สุภาพิมพ์ ธนะพรพันธุ์
ดร. ภิเษก ชัยนิรันดร์
พัชรพิมพ์ เสถบุตร
รับขวัญ ชลดำรงกุล
ธนิต วิจิตรพันธุ์
Jérôme René Hassler
ศศิภัทรา ศิริวาโท






 
ติฟาฮา มุกตาร์ จบสาขาภาพยนตร์ คณะวารสารศาสตร์ฯ ธรรมศาสตร์ ปี 2532 มีผลงานหนังสั้น 16 มม. เช่น ลวดหนาม ข้างถนน บุญทิ้ง และเมีย เริ่มใช้ตัวหนังสือและภาพนิ่งเป็นสื่อแทนกล้องหนังที่นิยตสารลลนาและอิมเมจ ทั้งเป็นนักเขียนอิสระให้กับนิตยสารอีกหลายฉบับ เดินทางไปอินเดียครั้งแรกในปี 2540 ซึ่งเป็นที่มาของรวมงานเขียนชื่อ "คำถามใต้ร่มไม้" ทุกวันนี้เธอพบว่าศานตินิเกตันและแคชเมียร์คือบ้านหลังที่สอง

Voice from Vale
 

ธุรกิจอุ้มบุญกับกฎหมายใหม่ของอินเดีย อินเดียกว่าทศวรรษที่ผ่านมา ถือเป็นแหล่งการจ้างแรงงานภายนอก (outsourcing) และศูนย์บริการลูกค้า (Call Center) ธุรกิจที่นำเข้าเงินตราต่างประเทศจำนวนมหาศาล แต่ในช่วงสามปีที่ผ่านมา อีกภาคส่วนของตลาดที่กำลังทำรายได้เกินความคาดหมายคือการรับจ้างตั้งครรภ์แทน (Surrogacy) หรือการอุ้มบุญ( พฤศจิกายน 2551)
ป่าศักดิ์สิทธิ์ ระบบอนุรักษ์อันเก่าแก่ ในช่วงหน้ามรสุม ผืนนาของรัฐเบงกอลตะวันตกจะเขียวขจีไปด้วยกล้าข้าวแข็งแรง ท้องฟ้ามักครึ้มด้วยเมฆฝนที่คล้อยตัวต่ำ เคลื่อน และเปลี่ยนทิศรวดเร็ว อีกภาพที่เห็นจนเจนตาคือหมู่นกกระยางที่ร่อนปีกหากินอยู่ตามนาข้าว ลำตัวขาวผ่องของพวกมันเหมือนดอกไม้แซมท้องนา เหมือนปุยนุ่นที่ลมจะพัดหอบไปตามใจ( ตุลาคม 2551)
'เกมรุก' ของเครือซูเปอร์มาร์เก็ต เครือซูเปอร์มาร์เก็ตใหญ่น้อยกำลังรุกตลาดขายปลีกตามหัวเมืองใหญ่ของอินเดีย โดยอัตราการเติบโตแตกต่างไปในแต่ละรัฐ ภาพการณ์ที่เห็นได้ชัดคือ รัฐที่รัฐบาลท้องถิ่นเป็นพรรคฝ่ายซ้าย อย่างเบงกอลตะวันตก และเคราล่า จะมีแรงต้านภายในท้องถิ่นมากกว่ารัฐอื่น( กันยายน 2551)
"กฎหมู่" กลยุทธ์ปิดปากสื่อ เช้าวันที่ 5 มิถุนายนที่ผ่านมา ขณะที่กุมาร เกตการ์ บรรณาธิการคร่ำสังเวียนของหนังสือพิมพ์ Loksatta กำลังเตรียมออกจากบ้านไปทำงาน ก็พบว่าบ้านถูกล้อมด้วยชายฉกรรจ์ร่วม 70 คน ชายเหล่านั้น นอกจากตะโกนกราดเกรี้ยว ยังระดมขว้างก้อนหินเข้ามาตามกระจกหน้าต่าง และโยนสาดยางมะตอยเข้ามาในบริเวณบ้านอีกหลายถังก่อนจะยอมสลายตัวไป การคุกคามชวนสะเทือนขวัญครั้งนี้ เป็นผลจากบทบรรณาธิการที่เกตการ์ตั้งคำถามกับโครงการสร้างอนุสาวรีย์ของรัฐมหาราชตระ( สิงหาคม 2551)
"สไตรค์" สไตล์อินเดีย สไตรค์หรือการหยุดงานประท้วงนั้นมีอยู่ในทุกประเทศ แต่การหยุดงานที่เรียกว่า "General Strike" ที่พร้อมใจกัน (สมัครใจหรือไม่อีกเรื่อง) ทุกภาคส่วนองค์กร หยุดปิด ละงาน จนร้านรวงถนนหนทางเงียบโล่งเสมือนเมืองมีปฏิวัติรัฐประหาร คงไม่มีประเทศใดทำได้จริงจัง หนักแน่น บ่อย แต่สัมฤทธิ์ผลน้อยเท่าอินเดีย( กรกฎาคม 2551)
Binayak Sen หมอนักสิทธิมนุษยชนในจองจำ "สุขภาพที่ดีเป็นสิทธิมนุษยชน" ดร.บินายัค เซ็น ตระหนักถึงหลักการและรากของปัญหานี้ร่วมทศวรรษก่อนที่องค์การอนามัยโลกจะประกาศขึ้นเป็นปฏิญญาสากล กว่า 30 ปีที่หมอบินายัคอุทิศตนเพื่อคนยากไร้ในรัฐชัตติสการ์หพื้นที่สีแดงของอินเดีย จนได้ชื่อว่าเป็นหมอของคนยาก เป็นหมอนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน( มิถุนายน 2551)
เทพเจ้าและสนิมสังคมในภาพเขียนกาลีกัต ภาพเขียนกาลีกัตแม้จะมีต้นกำเนิดจากศิลปะพื้นบ้าน วาดโดยช่างฝีมือท้องถิ่น วางขายตามซอกซอยละแวกวัดกาลีกัต ทั้งสืบทอดฝีไม้ลายมืออยู่เพียงศตวรรษเศษ แต่ด้วยความที่มีเส้นสายเฉพาะตัว มีเรื่องราวที่เป็นดั่งกระจกสะท้อนสังคมของเมืองกัลกัตตาครั้งเป็นอาณานิคมของอังกฤษ ศิลปะข้างถนนที่เทียบค่าได้กับโปสต์การ์ดในปัจจุบัน จึงกลายเป็นของสะสมเป็นความภาคภูมิใจของเมือง ทั้งเป็นแรงบันดาลใจแก่ศิลปินรุ่นใหม่ อะไรคือเสน่ห์ในภาพเขียนเหล่านี้( พฤษภาคม 2551)
ผู้หญิงที่หายไป ปัญหาความเสมอภาคที่ฝังรากลึก คำว่า "missing woman" หรือ "missing girl child" ในอินเดีย มีความหมายลึกและเจ็บปวดยิ่งกว่าการหายสาบสูญของบุคคล เพราะคือการไม่มีตัวตนอยู่เนื่องจากเสียชีวิตก่อนวัยอันควร หรือกระทั่งไม่ได้ลืมตาดูโลก( เมษายน 2551)
รถไฟ วิหารถ้ำ และกังหันลม Vasco-da-Gama Amaravati Express เพียงแค่ชื่อฉันก็รู้สึกถูกชะตากับรถไฟขบวนนี้ สำหรับการเดินทางข้ามรัฐในอินเดีย รถไฟก็เหมือนโรงแรมที่เราต้องค้างอ้างแรมข้ามคืนหรือข้ามวันขึ้นกับระยะทาง( มีนาคม 2551)
หลังคายอดแหลมในสถาปัตยกรรมอิสลามของแคชเมียร์ ในแคชเมียร์ดินแดนที่ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม สถาปัตยกรรมที่น่าจะดารดาษหุบและเนินเขาแห่งนี้ควรได้แก่ยอดโดมและหอสูงของมัสยิดเช่นที่ปรากฏในเดลีและหัวเมืองหลายแห่งในอินเดีย แต่ทิวทัศน์ของที่นี่กลับแทรกแซมด้วยยอดแหลมของโครงหลังคาซ้อนลดหลั่นคล้ายเจดีย์ ชวนให้ผู้มาเยือนฉงนว่าโครงสร้างเหล่านี้เป็นมรดกของสายธารวัฒนธรรมใด( กุมภาพันธ์ 2551)
 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7  



upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide



 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us