ศิลปะภาพเขียนของรพินทรนาถ ฐากูร
รพินทรนาถ ฐากูร กวีและนักคิดชาวอินเดีย เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม เป็นที่รู้จักกันดีในแวดวงนักอ่านและผู้สนใจระบบการศึกษาทางเลือกของบ้านเรา
( ตุลาคม 2552)
Homosexual ในอินเดีย ก้าวสำคัญว่าด้วยกฎหมาย
ในประเทศที่คนยังยึดถือขนบจารีตเหนียวแน่นอย่างอินเดีย ซึ่งการแต่งงานแบบคลุมถุงชนหรือพ่อแม่จับคู่ให้คือเรื่องปกติ แต่การแต่งแบบที่ชอบพอกันเองเป็นเรื่องแสนเข็ญ เราคงจินตนาการได้ว่าเรื่องของ Homosexual การรักหรือมีความสัมพันธ์ระหว่างคนเพศเดียวกัน จะเป็นเรื่องต้องห้ามขนาดไหน
( กันยายน 2552)
การศึกษาระดับอุดมศึกษา ร้อยแปดปัญหาที่ต้องแก้
'550 ล้าน' คือตัวเลขประชากรวัยต่ำกว่า 25 ปีของอินเดีย อันหมายถึงจำนวนประชากรที่รัฐบาลอินเดียจะต้องดูแลในเรื่องการศึกษา และประชากรที่จะเป็นอนาคตของอินเดียในทศวรรษต่อๆ ไป
( สิงหาคม 2552)
ควันหลงเลือกตั้งอินเดีย
การเลือกตั้งทั่วไป 2009 ของอินเดียผ่านพ้นไปอย่างค่อนข้างราบรื่น โดยพรรคคองเกรสได้รับเลือกด้วยเสียงข้างมากให้เข้ามาเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาลผสม และมีมานโมฮัน ซิงห์ เป็นนายกรัฐมนตรีสมัยที่สอง แม้ว่าผลโดยทั่วไปไม่ถึงกลับพลิกโผ แต่ชัยชนะของพรรคคองเกรสครั้งนี้ถือว่าทิ้งห่างคู่ต่อสู้เกินความคาดหมาย เราลองมาสำรวจดูว่ามีอะไรเป็นปัจจัยและเป็นสัญญาณบ่งชี้อะไรบ้าง
( กรกฎาคม 2552)
“ศิลปะ” ต้านการก่อการร้าย
ค่ำวันที่ 26 พฤศจิกายน 2008 เมืองมุมไบต้องเผชิญกับการก่อการร้ายที่อุกอาจและเลือดเย็น ปฏิบัติการอันเหี้ยมเกรียมดำเนินต่อเนื่องจนถึงเช้าวันที่ 29 ทิ้งให้อินเดียทั้งประเทศต้องอยู่กับคราบน้ำตาและความ หวาดผวาด้วยจำนวนผู้เสียชีวิต 183 คน
( มิถุนายน 2552)
เลือกตั้งอินเดีย 2009
การเลือกตั้งทั่วไปไม่ว่าครั้งใดล้วนมีความสำคัญและถือเป็นหัวใจของระบอบประชาธิปไตย กระนั้นการเลือกตั้งทั่วไปของอินเดียที่จะเริ่มขึ้นกลางเดือนเมษายนนี้ มีปัจจัยบ่งชี้หลายประการว่าอาจพลิกให้เกิดการเปลี่ยนขั้วการเมือง และที่แน่ๆ จะถือเป็นมหกรรมการเลือกตั้งครั้งใหญ่ที่สุดในโลก
( เมษายน 2552)
"ปลดคนงาน" โหมโรงเศรษฐกิจถดถอย
เมื่อเกิดการล้มครืนของ Lehman Brothers ธนาคารเพื่อการลงทุนใหญ่อันดับสี่ของสหรัฐฯ ความวิตกกังวลถึงผลกระทบทางเศรษฐกิจครอบคลุมไปทั่วภาคธุรกิจการเงินของอินเดีย ซึ่งบรรดากูรูและผู้นำสถาบันการเงินต่างๆ พากันให้ความเห็นในทิศทางเดียวกันว่า ผลกระทบจะไม่รุนแรงและค่อนข้างจำกัดวง
( มีนาคม 2552)
พุทธศาสนาในห้วงหิมาลัย
พุทธศาสนาถือกำเนิดและเผยแผ่ในช่วงแรกอยู่ในชมพูทวีปจากเบงกอลถึงลุ่มน้ำสินธุ จากเหนือสุดแคชเมียร์จรดใต้และศรีลังกา แต่นับจากคริสต์ศตวรรษที่ 8 เป็นต้นมา ขณะที่พุทธศาสนาเริ่มเสื่อมถอยจากชมพูทวีป ทั้งเหตุจากการสงครามและคลื่นศาสนาใหม่ ดินแดนในหุบเทือกหิมาลัยจากลาดักจรดอรุณาชัลฯ กลับเป็นเนื้อนาบุญแห่งใหม่ให้พุทธศาสนาได้งอกงามยั่งยืนมาจนถึงปัจจุบัน
( กุมภาพันธ์ 2552)
ต่างโฉมหน้าการก่อการร้าย
ปกติในอินเดียเมื่อมีเหตุระเบิดเกิดขึ้น ผู้ต้องสงสัยกลุ่มแรกที่จะอยู่ในโผของทางการรวมถึงสื่อมวลชน คือบรรดากลุ่มมุสลิมหัวรุนแรงที่มักลงท้ายชื่อด้วยมูจาฮีดีนหรือจีฮาดี
( มกราคม 2552)
'จริยธรรม' คำถามที่ TATA ยังไม่ได้ตอบ
การประกาศถอนโครงการก่อสร้างโรงงานผลิตรถยนต์นาโนของบริษัทตาต้ามอเตอร์สฯ จากพื้นที่โครงการเดิมในรัฐเบงกอลตะวันตก เมื่อต้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมา แม้จะเป็นข่าวใหญ่ที่สะเทือนภาคธุรกิจและการเมืองของอินเดีย แต่ก็ยังไม่สร้างความประหลาดใจและคำถาม เท่ากับการประกาศในชั่วเวลา 4 วัน ว่าโครงการดังกล่าวจะย้ายไปปักหลักในรัฐกุจาราต ใต้ปีกผู้ว่าการรัฐนาเรนทรา โมดี้
( ธันวาคม 2551)