Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 



วริษฐ์ ลิ้มทองกุล
มานิตา เข็มทอง
ภก.ดร. ชุมพล ธีรลดานนท์
ธวัชชัย อนุพงศ์อนันต์
ติฟาฮา มุกตาร์
ชาคริต เทียบเธียรรัตน์
สุปราณี คงนิรันดรสุข
สมศักดิ์ ดำรงสุนทรชัย
วิรัตน์ แสงทองคำ
รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์
รุ่งมณี เมฆโสภณ
ธีรัส บุญหลง
วิไลลักษณ์ ถิรนุทธิ
ธนิต แก้วสม
อนิรุต พิเศฏฐศลาศัย
วรรณปราณี ศักดิ์สราญรมย์
สุภาพิมพ์ ธนะพรพันธุ์
ดร. ภิเษก ชัยนิรันดร์
พัชรพิมพ์ เสถบุตร
รับขวัญ ชลดำรงกุล
ธนิต วิจิตรพันธุ์
Jérôme René Hassler
ศศิภัทรา ศิริวาโท






 
ติฟาฮา มุกตาร์ จบสาขาภาพยนตร์ คณะวารสารศาสตร์ฯ ธรรมศาสตร์ ปี 2532 มีผลงานหนังสั้น 16 มม. เช่น ลวดหนาม ข้างถนน บุญทิ้ง และเมีย เริ่มใช้ตัวหนังสือและภาพนิ่งเป็นสื่อแทนกล้องหนังที่นิยตสารลลนาและอิมเมจ ทั้งเป็นนักเขียนอิสระให้กับนิตยสารอีกหลายฉบับ เดินทางไปอินเดียครั้งแรกในปี 2540 ซึ่งเป็นที่มาของรวมงานเขียนชื่อ "คำถามใต้ร่มไม้" ทุกวันนี้เธอพบว่าศานตินิเกตันและแคชเมียร์คือบ้านหลังที่สอง

Voice from Vale
 

คำพิพากษาอโยธยา ปลายเดือนกันยายนที่ผ่านมา เป็นช่วงที่อินเดียทั้งประเทศอยู่ในความตึงเครียดที่สุดช่วงหนึ่ง เหตุเพราะจะมีการตัดสินกรณีพิพาท ‘อโยธยา’ ว่าที่ดินผืนเล็กๆ อันเป็นที่ตั้งมัสยิด Babri ซึ่งถูกทุบทำลายโดยชาวฮินดูในปี 1992 ควรจะเป็นกรรมสิทธิ์ของใคร ฮินดูหรือมุสลิม คนทั่วทั้งประเทศต่างกลั้นใจรอ เพราะเกรงว่าผลของคำพิพากษาอาจนำไปสู่การนองเลือดอีกครั้ง( พฤศจิกายน 2553)
แคชเมียร์ ก้อนหิน และกระสุนปืน “Azadi” เสียงเรียกร้องอิสรภาพกลับมาก้องดังหุบเขาแคชเมียร์อีกครั้ง นับจากปลายเดือนมิถุนายน กว่าสองเดือนที่แคชเมียร์อยู่ในสภาพเกือบปิดตาย ทั้งจากการประกาศเคอร์ฟิวโดยฝ่ายรัฐและการสไตรก์แบบ Total Shutdown ภายใต้การนำของกลุ่มแบ่งแยกดินแดน การสูญเสียทวีเป็นเงาตามตัว จนถึงต้นเดือนกันยายน มีผู้เสียชีวิตจากการใช้กำลังปราบปรามโดยฝ่ายรัฐ 69 ราย( ตุลาคม 2553)
ลมมรสุม ทำไมจึงสำคัญนัก ฤดูร้อนปีนี้ถือเป็นปีที่ร้อนที่สุดในอินเดีย นับจากบันทึกที่เริ่มมีตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 อุณหภูมิเฉลี่ยในหลายรัฐอยู่ระหว่าง 41-45 องศาเซลเซียส ขณะที่รัฐคุชราตมีผู้เสียชีวิตแล้ว 100 ราย อุณหภูมิสูงสุดวัดได้ถึง 48.5 องศาเซลเซียส( กรกฎาคม 2553)
เด็กขาดสารอาหาร ความลักลั่นของการพัฒนา ตัวเลขอย่างไม่เป็นทางการของอินเดีย ประเมินว่า ผู้หญิงร้อยละ 75 อ้วนเกินน้ำหนักมาตรฐาน ส่วนผู้ชาย อยู่ที่ร้อยละ 58 ขณะเดียวกันในแต่ละปีมีเด็กเกือบ 2 ล้านคนเสียชีวิตตั้งแต่อายุไม่ถึง 5 ขวบ ในจำนวนนี้ กว่าล้านคนมีสาเหตุจากภาวะขาดสารอาหารและความหิวโหย ปัญหานี้เร่งด่วนและรุนแรงจนนายกรัฐมนตรีมานโมฮัน ซิงห์ ถือว่าเป็น 'ความอับอายของชาติ'( มิถุนายน 2553)
มะเขือม่วง GM โครงการที่เป็นหมัน ต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา มะเขือม่วงที่ชาวอินเดียเรียกว่า Brinjal กลายเป็นประเด็นร้อนจนขึ้นพาดหัวข่าวไม่เว้นวัน ขณะเดียวกันก็เป็นช่วงมะเขือม่วงล้นตลาด กองอวบอ้วนทั้งสีม่วงเข้มและเขียวอ่อนอยู่ทุกแผงผัก ราคาจึงดิ่งจากกิโลกรัมละ 20 กว่ารูปี ลงเหลือ 5 รูปี( เมษายน 2553)
Telangana ในคำถามเรื่องการแยกรัฐ ปัจจุบันอินเดียมีรัฐทั้งหมด 28 รัฐ กำลังจะมีรัฐน้องใหม่ที่ 29 ชื่อว่า Telangana ซึ่งจะแยกตัวออกจากรัฐอานธรประเทศ แต่นับจากคำประกาศของรัฐบาลกลางเมื่อวันที่ 9 ธันวาคมที่ผ่านมา อานธรประเทศโดยเฉพาะเมืองหลวงไฮเดอราบัดก็แทบจะลุกเป็นไฟ เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น( มีนาคม 2553)
เพลงประจำชาติอินเดีย วิวาทะไม่รู้จบ ชาวอินเดียนั้นเป็นคนช่างวิวาทะ มักมีประเด็นทั้งเก่าใหม่มาถกเถียงกันอยู่ไม่เลิกรา ซึ่งถ้ามองโลกในแง่ดีก็ต้องถือว่าเป็นเรื่องของสังคมประชาธิปไตย หากขี้รำคาญคงบอกว่าเสียเวลาน่าเบื่อ เรื่องหนึ่งที่เป็นประเด็นวิวาทะอยู่เป็นครั้งคราวคือเรื่องของเพลงประจำชาติที่ชื่อว่า Vande Mataram( กุมภาพันธ์ 2553)
ร้อยสีร้อยสายวัฒนธรรมในภาพเขียนผนังวัดอัลชิ Alchi เป็นหนึ่งในอารามสำคัญของลาดักซึ่งประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธวัชรยาน มีอายุเก่าแก่ร่วมพันปี ทั้งภายในประดับด้วยภาพเขียนผนังอันงดงาม จนได้ชื่อว่าเป็น 'เพชรเม็ดงามแห่งเอเชีย' ภาพเขียนผนังเหล่านี้นอกจากจะมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ศิลป์ยังแฝงเล่าประวัติศาสตร์หลายบทตอนของดินแดนในภูมิภาคนี้( มกราคม 2553)
ปลุกชีวิตหุ่น Chadar Badar เสียงกลองและขลุ่ยดังมาจากท้ายตลาด งานแห่เจ้าแม่ธุรคาประจำปีก็เสร็จสิ้นไปแล้ว เทศกาลบูชาเจ้าแม่กาลีก็ยังมาไม่ถึง ขบวนแห่ชนิดใดกันถึงส่งเสียงรื่นเริงเช่นนี้ ฝูงชนที่ใคร่รู้ใคร่เห็นทยอยตามเสียงดนตรีไป พบว่าต้นเสียงคือกลุ่มนักดนตรีชาวสันธัล หนนี้พวกเขาไม่เพียงแต่ร้องรำเพลงพื้นบ้านอย่างเคย หากมาพร้อมกับโรงหุ่นหลังน้อยที่เรียกกันว่า Chadar Badar( ธันวาคม 2552)
“เกียรติยศสังหาร” เพื่อเกียรติของใคร การแต่งงานในสังคมอินเดียกางกั้นด้วยม่านประเพณีอันทึบหนาดังม่านเหล็ก ขณะที่ข้อดีเสียระหว่างการแต่งแบบจับคู่โดยพ่อแม่ (Arranged Marriage) และแบบชอบพอกันเอง (Love Marriage) ยังเป็นประเด็นที่ถกเถียงกันได้ถึงศตวรรษหน้า( พฤศจิกายน 2552)
 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7  



upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide



 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us