เกษตรอินทรีย์ ทางเลือกหรือต้องเลือก
ผลการสำรวจโดย Pesticide Action Network พบว่าทั่วโลกมีผู้เสียชีวิตจากยาปราบศัตรูพืชราว 2 แสน คนทุกปี ขณะที่การสำรวจในอินเดียโดยกลุ่มกรีนพีซระบุว่า ประชากรในรัฐปัญจาบมียาปราบศัตรูพืชราว 6-13 ชนิด ตกค้างอยู่ในกระแสเลือด
( ตุลาคม 2554)
เสน่ห์ในเส้นสีและชีวิตของ Maqbool Fida Hussin
ในแวดวงศิลปะสมัยใหม่ของอินเดีย ผลงานและชื่อของ Maqbool Fida Husain เป็นที่รู้จักกว้างขวางทั้งในอินเดียและเวทีศิลปะโลก ด้วยงานที่มีพลังเปี่ยมชีวิตชีวา บอกเล่าการเปลี่ยนผ่านของศิลปะอินเดียร่วมสมัยตลอดหลายทศวรรษ บางคนขานเรียกเขาว่าศิลปินตีนเปล่า
( กันยายน 2554)
Baba Ramdev สันยาสีหรือซีอีโอ
การเมืองอินเดียกำลังเดือดและเคี่ยวข้นด้วยเรื่องคอร์รัปชั่น ทั้งคดีฉ้อโกงหลายคดีรวมมูลค่าหลายหมื่นล้านบนกระดาน และการประท้วงต่อต้านคอร์รัปชั่นเรียกร้องให้มีพระราชบัญญัติ Lokpal พร้อมกับจัดตั้งองค์กรอิสระที่คาดหมายกันว่าจะเป็น เครื่องมือสำคัญในการปราบคอร์รัปชั่น
( สิงหาคม 2554)
“พุทธเทวา” ในมโนทัศน์ของรพินทรนาถ ฐากูร
ในปี 2011 ถือเป็นวาระครบรอบ 150 ปี ชาตกาลของรพินทรนาถ ฐากูร นักคิดและกวีชาวเบงกาลี ตลอดปีจึงมีการฉลองในรูปแบบต่างๆ นับจากสัมมนาทางวิชาการเวิร์กชอป เทศกาลดนตรี ละคร ศิลปะและวรรณกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับแนว คิดและงานประพันธ์ของท่าน ทั้งในอินเดียและต่างประเทศ ขณะเดียวกันก็มีผลงานชิ้นเล็กๆ ที่อาจเล็ดลอดสายตาผู้คนไปบ้าง หากมีคุณูปการอย่างยิ่ง นั่นคืองานแปลชื่อ Rabindranath Tagore’s Buddhadeva โดยสุลัขณา มูเคอร์จี (Sulagna Mukherjee)
( พฤษภาคม 2554)
แปรรูปหรือ “ขาย” แหล่งน้ำ
กระไอแดดและลมแห้งๆ เป็นสัญญาณของฤดูร้อน ผู้คนมากมายในอินเดียคงรู้สึกขยาดอยู่ในใจ โดยเฉพาะคนยากคนจนที่ไม่มีน้ำประปาส่งตรงถึงบ้าน หนำซ้ำ แหล่งน้ำบางแห่งที่เคยเป็นของสาธารณะก็กลายเป็นสมบัติของเอกชน ชาวชนบทรายหนึ่งเล่าถึงประสบการณ์หน้าร้อนปีก่อนว่าในวันที่ปรอทพุ่งขึ้น 40-45 ํC แม่น้ำในหมู่บ้านของตนแห้งขอดเพราะน้ำถูกทดส่งไปนิคมอุตสาหกรรม “เคยไหมที่ไม่ได้อาบน้ำ หรือแม้แต่ล้างหน้าเป็นอาทิตย์ๆ”
( เมษายน 2554)
Microfinance การเข้าถึงทุนหรือหนี้
ชีวิตคนยากคนจนมักมีแต่ทุกข์ซ้ำกรรมซัด ด้วยเหตุปัจจัยแห่งตนและปัจจัยภายนอก ปัจจัยแห่งตน มักได้แก่ ความไม่รู้ ความซื่อ ประมาท และโลภ ปัจจัยภายนอกที่เห็นได้ชัดคือความไม่เท่าเทียมเชิงโครงสร้างและความโลภของผู้อื่น
( มีนาคม 2554)
RTI Act ความโปร่งใส และอำนาจตรวจสอบในมือประชาชน
Right to Information Act กฎหมายว่าด้วยสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ถือเป็นกลไกประชาธิปไตยที่สำคัญของอินเดีย ที่เปิดโอกาสให้ประชาชนแม้ตาสีตาสาสามารถใช้เป็นเครื่องมือตรวจสอบการทำงานของรัฐที่มีผลกระทบต่อชีวิตและปากท้องของตน นับจากแรกคลอดเมื่อห้าปีก่อน กฎหมายนี้ได้คืนสิทธิและอำนาจแก่คนตัวเล็กๆ นับหมื่นทั่วอินเดีย แต่ขณะเดียวกันก็มีคนไม่น้อยถูกฆ่าและข่มขู่เพราะหาญกล้าเรียกร้อง ‘สิทธิที่จะรู้’ ในสิ่งที่พึงรู้
( กุมภาพันธ์ 2554)
การแพทย์แผนทิเบต พุทธธรรมคือยา
ประสบการณ์ต่อการแพทย์แผนทิเบตของฉันครั้งแรก คือคราวที่ท้องเสียปางตายนอนซมอยู่ในเกสต์เฮาส์เล็กๆ ที่เมืองเคย์ลองในรัฐหิมาจัลประเทศทางตอนเหนือของอินเดีย คราวนั้นชาวบ้านผู้มีเมตตาพาฉันไปหาหมอทิเบต ซึ่งเปิดคลินิกอยู่ใกล้ท่ารถ หลังตรวจชีพจรอยู่ไม่กี่นาที โดยแทบไม่ได้ถามอะไร หมอก็จ่ายยาให้พร้อมกับบอกว่าตามธาตุของฉันแล้วไม่ถูกกับอาหารมัน ถั่วแดง และมันฝรั่ง ซึ่งก็คือจานที่ฉันกินเข้าไปก่อนท้องเสียนั่นเอง
( มกราคม 2554)
เติบโตจากความทุกข์ยาก
'พลิกวิกฤติให้เป็นโอกาส' คำกล่าวนี้อาจฟังดูเป็นปรัชญาโก้ๆ แต่คนหลายคนก็ทำปรัชญานี้ให้เป็นจริงได้ในชีวิตอินเดียเป็นประเทศที่เต็มไปด้วยวิกฤติและปัญหามากมาย กระนั้นก็มีผู้คนไม่น้อยที่ฝ่าวิกฤติและเติบโตขึ้นอย่างงดงาม ในที่นี้ขอเล่าถึง ตัวอย่างคลาสสิกต่างรูปแบบธุรกิจไว้สองราย นั่นคือ อามุล (Amul) ธุรกิจผลิตภัณฑ์นมรายใหญ่ของอินเดีย และ Shrujan องค์กรการกุศลที่ช่วยให้ผู้หญิง กว่า 20,000 คนได้พึ่งตนเองจากศิลปะผ้าปักผ้าทอ
( ธันวาคม 2553)