Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 



วริษฐ์ ลิ้มทองกุล
มานิตา เข็มทอง
ภก.ดร. ชุมพล ธีรลดานนท์
ธวัชชัย อนุพงศ์อนันต์
ติฟาฮา มุกตาร์
ชาคริต เทียบเธียรรัตน์
สุปราณี คงนิรันดรสุข
สมศักดิ์ ดำรงสุนทรชัย
วิรัตน์ แสงทองคำ
รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์
รุ่งมณี เมฆโสภณ
ธีรัส บุญหลง
วิไลลักษณ์ ถิรนุทธิ
ธนิต แก้วสม
อนิรุต พิเศฏฐศลาศัย
วรรณปราณี ศักดิ์สราญรมย์
สุภาพิมพ์ ธนะพรพันธุ์
ดร. ภิเษก ชัยนิรันดร์
พัชรพิมพ์ เสถบุตร
รับขวัญ ชลดำรงกุล
ธนิต วิจิตรพันธุ์
Jérôme René Hassler
ศศิภัทรา ศิริวาโท






 
ติฟาฮา มุกตาร์ จบสาขาภาพยนตร์ คณะวารสารศาสตร์ฯ ธรรมศาสตร์ ปี 2532 มีผลงานหนังสั้น 16 มม. เช่น ลวดหนาม ข้างถนน บุญทิ้ง และเมีย เริ่มใช้ตัวหนังสือและภาพนิ่งเป็นสื่อแทนกล้องหนังที่นิยตสารลลนาและอิมเมจ ทั้งเป็นนักเขียนอิสระให้กับนิตยสารอีกหลายฉบับ เดินทางไปอินเดียครั้งแรกในปี 2540 ซึ่งเป็นที่มาของรวมงานเขียนชื่อ "คำถามใต้ร่มไม้" ทุกวันนี้เธอพบว่าศานตินิเกตันและแคชเมียร์คือบ้านหลังที่สอง

Voice from Vale
 

บทเรียนหน้าร้อน วานนี้และวันนี้ปรอทในเขตชุมชนวัดได้ 46 องศาเซลเซียส ส่วนกลางทุ่งนาพุ่งขึ้นถึง 49.5 องศา บางพื้นที่ว่ากันว่าวัดได้ 52 องศา พาดหัวรองในหน้าหนังสือพิมพ์กรอบหนึ่งปลอบใจว่า “ยิ่งร้อนตับแลบเท่าไร ปีนี้น้ำท่าจะอุดมสมบูรณ์เท่านั้น” แต่อีกกรอบบอกว่าวานนี้วันเดียว ในรัฐเบงกอลฯ มีผู้เสียชีวิตจากอากาศร้อน 67 คน ในบ่ายวันเดียวกัน ข่าวสั้นของทุกสถานีรายงานการมาถึงของมรสุมฤดูฝน ซึ่งปีนี้พัดเข้าฝั่งรัฐเกรละช้าไปสี่วัน แต่สำหรับเบงกอลฯ ที่อยู่ทางตะวันออกคงต้องกลั้นใจรออีกสักสิบวัน( กรกฎาคม 2555)
สิทธิบัตรยา vs สิทธิประชาชน บททดสอบยากๆ ของอินเดีย ตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมา อินเดียได้รับการขนานนามว่า “pharmacy of the South” หรือ คลังยาของประเทศยากจน เพราะอินเดียเคยเป็นแหล่งผลิตและส่งออกยาราคาถูกที่จำเป็นแก่การรักษาโรคร้ายแรงหลายชนิดแก่ประเทศกำลังพัฒนาในหลายทวีป( มิถุนายน 2555)
ผืนผ้าใหม่จากส่าหรีเก่า ทุกวันนี้เว้นจากคนยากจน คนเรายังใส่เสื้อผ้าจนเก่าขาดหรือไม่ แล้วบรรดาเสื้อผ้าที่ไม่ใช้ เราถ่ายเทไปไหน การบริจาคอาจเป็นทางออกที่ฟังดูดี แต่ชาวอินเดียบางพื้นที่มีคำตอบที่สร้างสรรค์กว่านั้น เขาใช้ผ้าเก่า โดยเฉพาะส่าหรีมาทอและปักเป็นผืนผ้าใหม่ ถือเป็นการ upcycling แบบภูมิปัญญาพื้นบ้านที่ใช้วัตถุดิบและพลังงานในการผลิตใหม่น้อยมาก อันเป็นสิ่งที่โลกร้อนๆ ใบนี้กำลังต้องการ( พฤษภาคม 2555)
คุชราต 10 ปี กับการตามหาความยุติธรรม หากใครได้ชมภาพยนตร์เรื่อง Parzania (Heaven and hell on earth) คงเข้าใจถึงความเจ็บปวดของคนเป็นพ่อและแม่ที่พลัดหลงกับลูกชายวัยสิบปีระหว่างการหนีกลุ่มม็อบคลุ้มคลั่ง แล้วไม่รู้ว่าเขาเป็นหรือตาย หลายวันผ่านไปพวกเขายังเวียนไปตามสถานีตำรวจ โรงพยาบาล และที่เก็บศพพลิกร่างคนตายที่กองอยู่เป็นพะเนิน( เมษายน 2555)
อินเดียในคมเลนส์ของ Homai Vyarawalla เช้าวันที่ 15 มกราคม 2012 ท่ามกลางข่าวร้อนเย็นที่ลามไหล ชาวอินเดียทราบถึงการจากไปของ Homai Vyarawalla ในวัย 98 ปี แต่คนไม่มากนักที่ทราบว่าหญิงชราผู้นี้คือใคร จนเมื่อสื่อบางสำนักเริ่มนำภาพข่าวผลงานของเธอออกเผยแพร่ ซึ่งล้วนเป็นบันทึกบทตอนสำคัญๆ ทางการเมืองทั้งช่วงก่อนและหลังการประกาศเอกราช ชาวอินเดียจึงระลึกได้ว่า เธอคือช่างภาพข่าวหญิงคนแรกที่คนรุ่นเก่ารู้จักในนามแฝง 'Dalda 13'( มีนาคม 2555)
ขจัดความหิวโหย บทเรียนจากอินเดีย อินเดียมีความทะเยอทะยานว่าภายในปี 2020 ตนจะขึ้นไปยืนเคียงบ่าเคียงไหล่กับประเทศมหาอำนาจอื่นในโลก ในฐานะประเทศพัฒนาแล้ว แต่ความใฝ่ฝันนี้จะเป็นจริงได้อย่างไรในเมื่อประชากรร้อยละ 68-84 ยังถือเป็นคนยากจน เด็กอายุต่ำกว่าสามขวบร้อยละ 46 ยังอยู่ในภาวะด้อยสารอาหาร และผู้คนจำนวนมากไม่มีอาหารกินอิ่มท้องแม้สักมื้อต่อวัน( กุมภาพันธ์ 2555)
Bulu Iman: สัตยาเคราะห์ทางปัญญา Bulu Imam คือใคร ชาวอินเดียส่วนใหญ่ก็คงตอบคำถามนี้ไม่ได้ แม้บางคนอาจผ่านตาข่าวที่เขาได้รับรางวัล Gandhi Foundation International Peace Award ประจำปี 2011 ร่วมกับ Dr.Binayak Sen นักสิทธิมนุษยชนทั้งสองท่านต่างอุทิศตนทำงานเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของชนพื้นเมืองเดิม (Tribal people)( มกราคม 2555)
ของขวัญจากกองขยะ ขี้ช้างกลายมาเป็นกระดาษ ขวดแก้วถูกหลอมเชื่อมขึ้นเป็นกระถางไม้ประดับ ถุงพลาสติกเปลี่ยนสภาพจากขยะมาเป็นวัสดุใช้ตัดเย็บกระเป๋าและเครื่องประดับ ติดยี่ห้อและวางขายตามห้างหรูในยุโรปและอเมริกา หาก Upcycling กำลังเป็นเทรนด์และคำตอบที่ดีของการลดขยะของโลก อินเดียก็ไม่ล้าหลังใคร( ธันวาคม 2554)
ไฟฟ้า แคชเมียร์ ความเป็นธรรม ถ้าต้องมีชีวิตอยู่กับสภาพไฟฟ้าดับวันละ 2-8 ชั่วโมง คุณจะรู้สึกอย่างไร คนที่มีไฟฟ้าใช้ 24 ชั่วโมงอย่างเราคงยากจะจินตนาการ แต่นั่นคือสภาพชีวิตประจำวันของชาวแคชเมียร์ ไม่เว้นแม้แต่ช่วงฤดูหนาวที่ปรอทมักอยู่ที่ -5-15 องศา( พฤศจิกายน 2554)
ไฟฟ้า แคชเมียร์ ความเป็นธรรม ถ้าต้องมีชีวิตอยู่กับสภาพไฟฟ้าดับวันละ 2-8 ชั่วโมง คุณจะรู้สึกอย่างไร คนที่มีไฟฟ้าใช้ 24 ชั่วโมงอย่างเราคงยากจะจินตนาการ แต่นั่นคือสภาพชีวิตประจำวันของชาวแคชเมียร์ ไม่เว้นแม้แต่ช่วงฤดูหนาวที่ปรอทมักอยู่ที่ -5-15 องศา( พฤศจิกายน 2554)
 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7  



upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide



 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us