ชองปาญ
ไวน์เป็นเครื่องดื่มของชาวฝรั่งเศสประกอบมื้ออาหาร โดยทฤษฎีแล้ว ดื่มไวน์แดงกับอาหารประเภทเนื้อสัตว์ และไวน์ขาวกับอาหารทะเล หากในทางปฏิบัติ ขึ้นอยู่กับความชอบของผู้ดื่ม ด้วยว่าชาวฝรั่งเศสจำนวนไม่น้อยไม่นิยมไวน์ขาวและเรียกหาไวน์แดงยามอาหารขึ้นโต๊ะ ไม่ว่าจะเป็นปลา หรืออาหารทะเล ส่วนไวน์ชมพูดื่มในฤดูใบไม้ผลิหรือฤดูร้อนเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น อาจเป็นเพราะว่าไวน์ชมพูจะต้องแช่เย็น
( พฤษภาคม 2550)
เรื่องของเห็ด
เมื่อครั้งเยาว์วัย รู้จักแต่เห็ดฟางดอกเล็กๆ แม่นำมาผัดกับกุ้ง เติมต้นหอมหั่นเป็นท่อนๆ หรือผัดกับเนื้อใส่น้ำมันหอย เห็ดฟางดอกใหญ่ขึ้นเป็นลำดับจากความก้าวหน้าของเกษตรกร ในภายหลังได้ลิ้มเห็ดชื่อแปลกๆ เช่น เห็ดเป๋าฮื้อ เห็ดนางฟ้า เป็นต้น
( เมษายน 2550)
ระดับแอลกอฮอล์ในไวน์
สื่อฝรั่งเศสประโคมข่าวว่าจำนวนวัยรุ่นฝรั่งเศสที่ดื่มแอลกอฮอล์น้อยลง หากไปเพิ่มที่ความเข้มข้นของเครื่องดื่ม ซึ่งน่าเป็นห่วงไม่น้อย สังเกตว่าชนฝรั่งเศสรุ่นใหม่เห็นไวน์เป็นเครื่องดื่มของคนแก่จึงไม่สนใจดื่ม ประกอบกับวัฒนธรรมอเมริกันถาโถมสู่ฝรั่งเศส แมคโดนัลด์เป็นร้านที่จำต้องเข้า และถูกโคคา-โคลาเข้าครอบงำ ชนรุ่นใหม่วิ่งไล่ตามวิถีชีวิตอเมริกันไม่แพ้เด็กไทย
( มีนาคม 2550)
ร้านกาแฟ
ในเยาว์วัย ยามเดินผ่านร้านกาแฟข้างบ้าน เป็นต้องสูดกลิ่นหอมของกาแฟที่โชยมา ยุคนั้น อาหารเช้าของชาวกรุง คือโอยัวะกับปาท่องโก๋ อันว่าโอยัวะนั้นคือกาแฟใส่นม เสิร์ฟมาในแก้วสูง พร้อมช้อนคันเล็ก ควันกรุ่นหอมอวล นมข้นหวานนอนก้นมาในแก้วกาแฟ
( กุมภาพันธ์ 2550)
ร้านอาหารและร้านกาแฟในฝรั่งเศส
เดินชมเมืองจนเมื่อยขาแล้ว ขอแวะนั่งพักดื่มกาแฟ หากเป็นเวลาคาบเกี่ยวมื้ออาหารกลางวัน จะหาร้านยากเป็นอย่างยิ่ง ด้วยว่าร้านส่วนใหญ่ต้องการลูกค้าที่หิวโหย มิใช่ที่หิวกระหาย
( มกราคม 2550)
น้ำมันมะกอกและน้ำส้มสายชู
น้ำมันหมูอยู่คู่อาหารไทยจีนมานาน ภาพที่เคยคุ้นคือการหั่นมันเปลวเป็นชิ้นเล็ก และนำมาเจียวน้ำมัน เด็กๆ พลอยสนุกไปด้วย ทว่าถูกผู้ใหญ่กันออกห่างจากเตาถ่านที่มีกระทะมันหมูตั้งอยู่
( ธันวาคม 2549)
ไวน์บอร์โดซ์
ไวน์แดงฝรั่งเศสมีแหล่งผลิตใหญ่สองแห่งด้วยกัน จึงเรียกชื่อตามแหล่งผลิต คือไวน์บูร์โกญ (le bourgogne) จากมณฑล บูร์โกญ (la Bourgogne) ไวน์บอร์โดซ์ (bordeaux) จากแถบเมืองบอร์โดซ์ (Bordeaux) นอกจากนั้นยังมีไวน์ระดับรองจากลองก์ดอก-รูสซียง (Languedoc-Roussillon) ซึ่งพยายามไต่อันดับด้วยการผลิตไวน์รสเลิศ ทว่ายังทำไม่ได้
( พฤศจิกายน 2549)
โฟชง (Fauchon)
เหนื่อยที่สุดคือการหาซื้อของฝากญาติมิตรทุกครั้งที่เดินทางกลับมาเยี่ยมบ้าน สาวใกล้ตัวทั้งสองเถาได้กระเป๋าเป็นของฝากจนล้นตู้ ทำให้ไม่ค่อยรู้ค่านักเพราะได้รับจนชินเสียแล้ว ค่าครองชีพที่สูงขึ้นสาเหตุจากราคาน้ำมัน ทำให้การมองหาของฝากยิ่งยากขึ้นไปอีก
( ตุลาคม 2549)
ว่าด้วยห้างสรรพสินค้า Printemps
สาวไทยในฝรั่งเศสตั้งข้อสังเกตว่าจะพบเห็นเพื่อนร่วมชาติก็แต่ตามร้านค้า ส่วนตามพิพิธภัณฑ์ไม่เคยได้ยินเสียงภาษาไทยเลย ฟังแล้วเห็นคล้อยตาม เพราะเป็นเช่นนั้นจริงๆ ตามร้านค้าปลอดภาษีอย่าง Benlux หรือ Parislux จะมีพนักงานชาวไทยคอยต้อนรับนักท่องเที่ยวไทยโดยเฉพาะ แถมติดประกาศภาษาไทยให้ขึ้นไปยังชั้นที่จัดให้บริการชาวไทยโดยเฉพาะ หรือติดป้ายบอกที่จ่ายเงิน เป็นต้น
( กันยายน 2549)
ภาพเขียนพิธีราชาภิเษกของนโปเลอง
ช่วงปลายเดือนมิถุนายนในแต่ละปีเพื่อนสาวเทศมีธรรมเนียมเชิญมิตรสหายกลุ่มใหญ่ไปพักผ่อนสุดสัปดาห์ที่บ้านพักต่างจังหวัดที่องแซง (Onzain) เมืองเล็กๆ ที่อยู่ห่างจากเมืองบลัวส์ (Blois) ไปเพียง 12 กิโลเมตร
( สิงหาคม 2549)