พิพิธภัณฑ์บูร์แดล
พิพิธภัณฑ์ในกรุงปารีส มีมากจนไปเยือนไม่หมดเสียที ประกอบกับบางแห่งรวบรวมงานศิลป์ที่ไม่ต้องใจ ดังในกรณีของพิพิธภัณฑ์บรองลี (Musee Branly) ซึ่งมีผลงาน primitive arts รู้สึกว่าเป็นงานที่ดิบเกินไปและน่ากลัวเกินไป ขอเก็บไว้ยามมีนิทรรศการดีๆ แล้วค่อยไปเยือน
( กันยายน 2554)
นิทรรศการโมเดิร์นอาร์ต
ประธานาธิบดีจอร์จส์ ปงปิดู (Georges Pompidou) ชื่นชอบโมเดิร์นอาร์ตเป็นพิเศษ เห็นได้จากโต๊ะทำงานและภาพเขียนที่ใช้ประดับห้องทำงานในพระราชวังเอลีเซส์ (Palais de l’Elysee) อันเป็นทำเนียบประธานาธิบดี จึงผลักดันให้มีพิพิธภัณฑ์โมเดิร์นอาร์ตในกรุงปารีส ไม่ให้น้อยหน้าสหรัฐอเมริกา
( สิงหาคม 2554)
อองรี เดอ ตูลูซ-โลเทรก
พิพิธภัณฑ์อารต์เดโก (Musee des arts decoratifs) ตั้งอยู่ในปีกหนึ่งของพระราชวังลูฟวร์ (Louvre) เลยทางเข้าพิพิธภัณฑ์ลูฟวร์ซึ่งอยู่เยื้องๆ กับร้านปลอดภาษีเบนลุกซ์ (Benlux) ในบริเวณเดียวกันจะมีพิพิธภัณฑ์แฟชั่นและผ้า (Musee de la mode et du textile) ซึ่งจะเปิดต่อเมื่อมีการจัดนิทรรศการเท่านั้น และพิพิธภัณฑ์โฆษณา (Musee de la publicite)
( มิถุนายน 2554)
เที่ยวธนาคารชาติฝรั่งเศส
นักการเมืองฝรั่งเศสมิได้แต่ออกงานสังคม ตัดริบบิ้นเปิดงานที่โน่นที่นี่ให้ชาวบ้านเบื่อหน้า หากต้องมีวิสัยทัศน์ริเริ่มโครงการใหม่ที่จะเป็นประโยชน์ต่อประชาชน ดังในกรณีของแบร์ทรองด์ เดอลาโนเอ (Bertrand Delanoe) นายกเทศ มนตรีกรุงปารีส ผู้ริเริ่ม Paris Plage แปลงถนนเลียบแม่น้ำแซน (Seine) ช่วงหนึ่งให้เป็นหาดกลางกรุงเพื่อให้ชาวปารีเซียนด้อยโอกาสที่ไม่มีเงินพาครอบครัวไปพักร้อน
( พฤษภาคม 2554)
วิลเลียม เทอร์เนอร์ ผู้นำร่องอิมเพรสชั่นนิสต์
พี่ชายน้องสาวกลับจากศึกษาในต่างประเทศในเวลาใกล้เคียงกัน น้องสาวกลับมาก่อน หอบภาพรีโปรดัคชั่นของอิมเพรสชั่นนิสต์ฝรั่งเศสหลายคนเช่น โคล้ด โมเนต์ (Claude Monet) เอดการ์ เดอกาส์ (Edgar Degas) ปิแอร์-โอกุสต์ เรอนัวร์ (Pierre-Auguste Renoir) ฯลฯ พี่ชายกลับจากอังกฤษพร้อมภาพรีโปรดัคชั่นของจิตรกรชาวอังกฤษ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วิลเลียม เทอร์เนอร์ (William Turner)
( เมษายน 2554)
เที่ยวเบรอะตาญ วิเทรและฟูแจรส์
หลังอาหารกลางวัน เพื่อนขับรถพาเที่ยวเมืองวิเทร (Vitre) ได้พบว่าเมืองนี้มีอะไรให้ชมมากมาย เขตเมืองเก่าน่ารักมาก ถนนคนเดินเล็กๆ สองข้างเป็นบ้านแบบโบราณละม้ายบ้านในนอร์มองดี (Normandie) โครงไม้แทรกในหินและปูน
( มีนาคม 2554)
นิทรรศการอองรี ซิมง
ย่านวัฒนธรรมอย่างเลอ มาเรส์ (Le Marais) นอกจากเต็มไปด้วยร้านค้า ยังมากด้วยพิพิธภัณฑ์ เช่น พิพิธภัณฑ์ปิกัสโซ (Musee Picasso) ซึ่งปิดซ่อมแซมตั้งแต่ปลายปี 2009 กว่าจะเปิดอีกหลายปี พิพิธภัณฑ์การ์นาวาเลต์ (Musee Carnavalet) ซึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์กรุงปารีส พิพิธภัณฑ์กอญัก-เจย์ (Musee Cognac-Jay) หอจดหมายเหตุแห่งชาติ (Archives nationales) เป็นต้น
( กุมภาพันธ์ 2554)
LVMH คิดจะฮุบ Hermes
ธุรกิจสินค้าหรูสามารถยืนหยัดท่ามกลางมรสุมเศรษฐกิจ เพราะมีประเทศเกิดใหม่ทางเศรษฐกิจอย่างจีน อินเดีย รัสเซีย บราซิล ประชาชนของประเทศเหล่านี้กลุ่มหนึ่งจึงหันมาบริโภคสินค้าหรูอย่างไม่ลืมหูลืมตา
( มกราคม 2554)
เบรอะตาญ
เพื่อนคู่หนึ่งอยู่แวร์ซายส์ (Versailles) หากมีบ้านหลังที่สอง ซึ่งภาษาฝรั่งเศสเรียกว่า residence secondaire อยู่ในแคว้นเบรอะตาญ (Bretagne) เป็นบ้านพักผ่อนในชนบทที่ครอบครัวมักไปพักยามว่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูร้อน เพื่อนพูดเสมอว่าอยากให้ไปเที่ยว และแล้ววันหนึ่งก็ได้รับคำเชิญอย่างจริงจัง จึงเป็นที่มาของการไปเที่ยวเบรอะตาญ
( ธันวาคม 2553)
แซงต์-แซร์วองและอเลต
แซงต์-แซร์วอง (Saint-Servan) ถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของแซงต์-มาโลในปี 1967 เป็นย่านที่ร่มรื่นและสงบกว่าแซงต์-มาโลมาก ตัวเมืองเล็กกะทัดรัด ถนนแคบๆ ที่รถวิ่งได้ทางเดียว โดยที่ให้รถจอดได้ฟากหนึ่ง รถประจำทางขนาดใหญ่จึงวิ่งค่อนข้างลำบาก
( พฤศจิกายน 2553)