ชาวจีนบริโภคสินค้าหรู
เพื่อนสาวไทยเดินทางไปเยี่ยมลูกชายนักศึกษาที่ฝึกงานในกรุงโตเกียว เธอส่งเสียงมาตามสายว่าอยากกลับไปเที่ยวญี่ปุ่นอีก บ้านเมืองสะอาดสะอ้าน เป็นระเบียบและเขียวชะอุ่มร่มรื่น เธอเข้าใจแล้วว่าฝรั่งเศส ผลิตสินค้าหรูเพื่อใคร ก็เพื่อให้สาวญี่ปุ่นบริโภคโดยเฉพาะ ด้วยว่าสาวญี่ปุ่นมีสินค้าแบรนด์เนมแนบกายกันถ้วนหน้า
( กันยายน 2547)
ธุรกิจเครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร
เมื่อครั้งที่ห้างไดมารูเฟื่อง ชาวไทยได้สัมผัสเครื่องพอร์ซเลนของญี่ปุ่นยี่ห้อนอริตาเก้ (Noritake) ผู้มีอันจะกินรีบรุดไปซื้อเครื่องถ้วยชามเนื้อบางและลวดลายดอกไม้สวยกระจุ๋มกระจิ๋มหากหลาย คนซื้อแล้วไม่ได้ใช้ เครื่องพอร์ซเลนนอริตาเก้จึงสถิตในตู้โชว์ห้องรับแขก ให้รู้ว่ามีรสนิยมวิไล หรือหากใช้ก็จะล้างทำความสะอาดเอง ไม่ไว้ใจแม่บ้านที่ไม่รู้ราคา ตกเป็นทาสของวัตถุไปโดยปริยาย
( สิงหาคม 2547)
เที่ยวฟงแตนโบล
รู้จักปราสาทฟงแตนโบล (Fontainebleau) และพระราชวังแวร์ซายส์ (Versailles) ตั้งแต่เมื่อเป็นนักศึกษาในฝรั่งเศส รู้แต่ว่าเมื่อได้ชมพระราชวังทั้งสองแห่งนี้แล้ว ชอบฟงแตนโบลมากกว่าแวร์ซายส์ เพราะกะทัดรัดและสวย หลังจากนั้นได้กลับไปเยือนอีกหลายครั้งในสามฤดูกาล กล่าวคือ ฤดูร้อน ฤดูใบไม้ผลิ และฤดูหนาว
( มิถุนายน 2547)
การแพทย์ในฝรั่งเศส
"แพทย์" หรือที่เรียกง่ายๆ ว่าหมอนั้น เป็นคำศักดิ์สิทธิ์เหมือนคำว่า "ครู" ดูน่านับถือ คราใดที่ต้องพบแพทย์ เป็นต้องยกมือไหว้ด้วยความนับถือก่อนอื่น แม้ตนเองจะอาวุโสกว่าก็ตาม
( พฤษภาคม 2547)
วิกฤติการณ์ของห้างสรรพสินค้าฝรั่งเศส
ค่าครองชีพในฝรั่งเศสสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ตั้งแต่เลิกใช้เงินฟรังก์หันมาใช้เงินยูโรแทน การแปลงราคาสินค้ามาเป็นเงินยูโรนั้นมีแต่ปัดเศษขึ้น ทว่าเศษซองตีม (centime) ของเงินฟรังก์นั้นมีค่าน้อยกว่าเศษซองตีมของยูโรมากมายนัก ด้วยว่าหนึ่งยูโรมีค่าเท่ากับ 6.55957 ฟรังก์ จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ชาวฝรั่งเศสจำนวนไม่น้อยเลิกให้ทิปตามร้านกาแฟหรือร้านอาหาร
( เมษายน 2547)
นิทรรศการภาพเขียน Botticelli
พลันที่เห็นข่าวว่ามีนิทรรศการภาพเขียนของบอตติเชลลี (Botticelli) ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2003 ถึง 22 กุมภาพันธ์ 2004 ที่พิพิธภัณฑ์ลุกซองบูร์ก (Museum du Luxembourg) ซึ่งอยู่ในบริเวณพระราชวังลุกซองบูรก์ (Palais du Luxembourg) อันเป็นที่ทำการของวุฒิสภา บังเกิดอารมณ์สุนทรีย์ อยากสัมผัส Botticelli จิตรกรที่ยิ่งใหญ่ในศตวรรษที่ 14 บ้าง
( มีนาคม 2547)
เมื่อไทยถูกกล่าวหา
แซงต์-อิปโปลิต (Eglise Saint-Hippolyte) เป็นโบสถ์ในเขต 13 ของกรุงปารีส ซึ่งถือเป็นย่านคนจีน ด้วยว่าเป็นศูนย์รวมชาวอินโดจีนที่อพยพหนีภัยคอมมิวนิสต์ในทศวรรษ 70 เจ้าอาวาสและบาทหลวงประจำโบสถ์นี้ จำต้องปรับรูปแบบการดำเนินพิธีทางศาสนาในวันอาทิตย์และกิจกรรมต่างๆ ให้เข้ากับชาวบ้านในเขตปกครองของตน
( กุมภาพันธ์ 2547)