Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 



วริษฐ์ ลิ้มทองกุล
มานิตา เข็มทอง
ภก.ดร. ชุมพล ธีรลดานนท์
ธวัชชัย อนุพงศ์อนันต์
ติฟาฮา มุกตาร์
ชาคริต เทียบเธียรรัตน์
สุปราณี คงนิรันดรสุข
สมศักดิ์ ดำรงสุนทรชัย
วิรัตน์ แสงทองคำ
รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์
รุ่งมณี เมฆโสภณ
ธีรัส บุญหลง
วิไลลักษณ์ ถิรนุทธิ
ธนิต แก้วสม
อนิรุต พิเศฏฐศลาศัย
วรรณปราณี ศักดิ์สราญรมย์
สุภาพิมพ์ ธนะพรพันธุ์
ดร. ภิเษก ชัยนิรันดร์
พัชรพิมพ์ เสถบุตร
รับขวัญ ชลดำรงกุล
ธนิต วิจิตรพันธุ์
Jérôme René Hassler
ศศิภัทรา ศิริวาโท






 
เศรษฐทรรศน์เจ้าพระยา | bank of Thailand | sports business

 
 

เศรษฐทรรศน์เจ้าพระยา
 

E-Book สตีเฟน คิง (Stephen King) นักเขียนนวนิยายเขย่าขวัญ ประกาศหยุดเขียนนวนิยายเรื่อง The Plant ซึ่งพิมพ์ขายเป็นตอนๆ ทาง Internet หลังจากเขียนไปแล้ว 6 ตอน นวนิยาย เรื่องนี้เข้าสู่ cyberspace ในเดือนกรกฎาคม 2543 และสิ้นชีพในเดือนธันวาคม ศกเดียวกัน สาเหตุสำคัญส่วนหนึ่งเป็นเพราะผู้อ่านเมื่อ down- load ต้นฉบับแล้ว เบี้ยวไม่จ่ายค่าหนังสือ โดยที่อัตราการเบี้ยวหนี้เพิ่มขึ้นตามลำดับ แต่สาเหตุ สำคัญยิ่งกว่า ก็คือ ยอดการจำหน่ายทาง Inter-net น่าผิดหวัง( มกราคม 2544)
Netnomics การปรากฏตัวของวารสาร Netnomics สู่โลกวิชาการในปี 2542 นับเป็นประจักษ์พยานของการขยายพรมแดนแห่งความรู้ของสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง เศรษฐศาสตร์ขยายตัวอย่างรวดเร็ว และขยายพรมแดนอย่างกว้างขวาง โดยมิได้จำกัดการศึกษาและวิเคราะห์เฉพาะแต่ปรากฏการณ์และประพฤติกรรมทางเศรษฐกิจเท่านั้น หากยังรุกล้ำเข้าสู่ปริมณฑลแห่งความรู้ของสาขาวิชาการอื่นอีกด้วย…( ธันวาคม 2543)
เมืองไทยในฐานะสังคมขี้ฉ้อ "ผมติดตามศึกษา Corruption Perceptions Index (CPI) ซึ่งจัดทำโดย Transparency International (TI) ตั้งแต่ปี 2538 แล้ว มิอาจสรุปเป็นอย่างอื่น นอกเสียจากว่า เมืองไทยเป็นสังคมขี้ฉ้อ..."( พฤศจิกายน 2543)
Anita Roddick กับ Body Shop International แอนนิตา ร็อดดิก (Anita Rod- dick) ให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ Sun-day Express กลางเดือนกันยายน 2543 ว่า เธอจะละวางงานบริหาร The Body Shop International ภายในสอง ปีข้างหน้านี้ เพื่อที่จะได้มีเสรีภาพในการห้ำหั่นปรปักษ์ทางการเมือง โดยที่ศัตรูทางการเมืองของเธอมิใช่ใครอื่น หากแต่ เป็นองค์การการค้าโลก (WTO) นั่นเอง ในทัศนะของแอนนิตา ร็อดดิก องค์การการค้าโลกไม่เคยเห็นใจประเทศที่ยากจน และจัดระเบียบการค้าระหว่างประเทศในทางที่สร้างความอยุติธรรมแก่ประเทศ ที่ยากจน ด้วยเหตุที่มีทัศนคติเช่นนี้เอง แอนนิตา ร็อดดิก จึงไม่ลังเลใจใน การร่วมสังฆกรรมเพื่อฟาดฟันองค์การการค้าโลกเมื่อมีการประชุม ณ นคร Seattle ประเทศสหรัฐอเมริกา ในเดือนพฤศจิกายน 2542 …( ตุลาคม 2543)
ดุลยภาพในตลาดนักฟุตบอลยุโรป โจอัน แกสปาร์ต (Joan Gas-part) บ่นงึมงัมหลังจากยอมตกลงปรับเงินเดือนค่าตอบแทนแก่ ริวัลโด (Rivaldo) เมื่อต้นเดือนสิงหาคม 2543 แกสปาร์ตเพิ่งเข้ารับตำแหน่งประธานสโมสรฟุตบอล Barcelona แห่งสเปน สโมสรบาร์เซโลนาเพิ่งเสีย หลุยส์ ฟิกโก (Louis Figo) ดารานัก ฟุตบอลทีมชาติโปรตุเกสแก่สโมสร Real Madrid ซึ่งเป็นปรปักษ์สำคัญในวงการฟุตบอลสเปน ริวัลโด นักฟุตบอลทีมชาติบราซิลเป็นเป้าที่บรรดาสโมสรฟุตบอลยักษ์ใหญ่ทั้งในอิตาลีและสเปนต้องการตัวเป็นอย่างยิ่ง หากสโมสรบาร์เซโลนาต้องเสียทั้งหลุยส์ ฟิกโก และริวัลโด พร้อมกัน นับเป็นการสูญเสียที่อาจทำให้แกสปาร์ตเสียหน้าได้ ดังนั้น แกสปาร์ตจึงต้องพยายามดึงให้ ริวัลโดอยู่กับสโมสรบาร์เซโลนา ต่อไป และไม่มียุทธวิธีใดที่ดีกว่า การเสนอปรับเงินเดือนค่าตอบแทน…( กันยายน 2543)
กอล์ฟ ทุนวัฒนธรรม และเศรษฐกิจฟองสบู่ (ตอนที่ 3) ในขณะที่การขยายตัวของจักรวรรดิอังกฤษเป็นคลื่นลูกที่หนึ่ง และการก่อตัวของทุนวัฒนธรรมเป็นคลื่นลูกที่สองที่กระทบต่อกระบวนการสากลานุวัตรของกีฬากอล์ฟ เศรษฐกิจฟองสบู่เป็นคลื่นลูกที่สามที่ทำให้สายธารของกระแสสากลานุวัตรไม่ขาดตอน…( สิงหาคม 2543)
กอล์ฟ ทุนวัฒนธรรม และเศรษฐกิจฟองสบู่ (ตอนที่ 2) ทุนนิยมวัฒนธรรม (Cultural Capitalism) นับเป็นคลื่นลูกที่สองที่เสริมส่งกระแสสากลานุวัตรของกีฬากอล์ฟ เมื่อกอล์ฟกลายเป็นกีฬาอาชีพในชั้นแรก ความนิยมเล่นกอล์ฟยังไม่ขยายตัวมากนัก ต่อเมื่อสามารถกำหนด เงินรางวัลในระดับสูงความนิยมกีฬากอล์ฟจึงขยายตัวในอัตราเร่ง เงินรางวัล เป็นสิ่งจูงใจที่ดูดดึงให้ผู้คนเข้าร่วมแข่งขัน แรงดึงดูดนี้มีมากพอแม้แต่จะทำให้เด็กเก็บลูกกอล์ฟวาดฝันที่จะเป็นนักกอล์ฟอาชีพ ข้อเท็จจริงปรากฏต่อมาว่า นักกอล์ฟอาชีพจำนวนไม่น้อยไต่เต้าจากเด็กเก็บลูกกอล์ฟนั้นเอง…( กรกฎาคม 2543)
กอล์ฟ ทุนวัฒนธรรม และ เศรษฐกิจฟองสบู่ (ตอนที่ 1) ธุรกิจสนามกอล์ฟกำลังเผชิญภาวะความซบเซาทั้งในประเทศไทย ญี่ปุ่น และ บรรดาประเทศขอบสมุทรแปซิฟิก ข้อที่ไม่สู้มีใครกล่าวถึง ก็คือ ความรุ่งเรือง และความซบเซาของธุรกิจสนามกอล์ฟขึ้นอยู่กับภาวะเศรษฐกิจฟองสบู่อย่าง ค่อนข้างสำคัญ ความข้อนี้เป็นจริงอย่างยิ่งสำหรับกลุ่มประเทศขอบสมุทรแปซิฟิก หรือ Pacific Rim…( มิถุนายน 2543)
รัฐธรรมนูญ กับนโยบายอัตราค่าเล่าเรียน การไม่เก็บค่าเล่าเรียนมิได้ช่วยให้ความเสมอภาคในโอกาสทางการ ศึกษามีมากขึ้น เพราะค่าเล่าเรียนมีความสำคัญน้อยในโครงสร้างรายจ่าย เพื่อให้ได้มาซึ่งบริการการศึกษา ครอบครัวที่ยากจนอาจให้ลูกหลานออกจากโรงเรียน เมื่อจบการศึกษาระดับประถม หรือระดับมัธยมศึกษาตอนต้น เนื่องจากต้องการให้เข้าตลาดแรงงานเพื่อหารายได้ ดังนั้น มีเหตุผลน่าเชื่อว่าการไม่เก็บค่าเล่าเรียนมิได้ช่วยให้อัตราการศึกษาต่อเพิ่มขึ้นฐานะทางเศรษฐกิจต่างหาก ที่กำหนดความต้องการศึกษาต่อการไม่เก็บค่าเล่าเรียนจึงมิได้เป็นประโยชน์แก่กลุ่มประชาชนที่ยากจน หากแต่เป็นประโยชน์แก่ชนชั้นกลางและชนชั้นสูงในสังคม …( พฤษภาคม 2543)
การเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาที่พึงปรารถนา กฎหมายรัฐธรรมนูญและกฎหมายการเลือกตั้งฉบับปัจจุบันออกแบบทางการเมืองและออกแบบสถาบันการเมืองจากข้อสมมติและความคาดหวังอันขัดต่อธรรมชาติของมนุษย์และสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องการคัดสรร "อรหันต์" เป็นสมาชิกวุฒิสภา การออกแบบเช่นนี้ นอกจากมิอาจบรรลุเป้าหมาย (คือ การได้ "อรหันต์" เป็นวุฒิสมาชิก) แล้ว ยังไม่เป็นผลดีต่อกระบวนการปฏิรูปการเมืองอีกด้วย( เมษายน 2543)
 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6  



upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide



 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us