News Model (3) National Newspaper
แนวคิดสำคัญของผม ที่ว่าด้วยเรื่อง National Newspaper เมื่อ 8 ปีที่แล้ว ที่เสนอให้ผู้อ่านหนังสือพิมพ์ส่วนใหญ่ของประเทศ
มีสิทธิ์ในการอ่านอย่างเท่าเทียมกัน โดยเฉพาะในเรื่องเวลา เพื่อให้เป็นสินค้า ที่มีมาตรฐานเดียวกัน
ทั่วประเทศนั้น ยังมีความสำคัญอย่างมากในยุคอินเทอร์เน็ต ที่กำลังขยายอิทธิพลอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน
( มกราคม 2544)
News Model (2)
"พลังของข่าวสารจะเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล เมื่อสามารถกระจายไปในจุดต่างๆ ในขอบเขตทั่วประเทศในเวลาเดียวกัน พลังของข่าวอันเกิดจากการสร้างโอกาสเท่าเทียมในการรับรู้ของผู้คนในสังคม มีคุณค่ามากกว่าความพยายามในการเพิ่มยอดพิมพ์ ยอดผู้อ่าน ในแนวคิดแบบเก่าๆ อีกมิติหนึ่ง จะเป็นแรงกระตุ้นสำคัญในยุคหนังสือพิมพ์มีขีดจำกัดหมดไป ทำให้สื่อมวลชนประเภทนี้สามารถรักษาอิทธิพลต่อสังคมต่อไป คนอ่านจะเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง..."
( ธันวาคม 2543)
News Model(1)
"วันนี้อินเทอร์เน็ตไม่มีข้อจำกัดในเรื่องเทคโนโลยีอีกแล้ว
แต่เทคโนโลยีจะสามารถตอบสนองสาระของอินเทอร์เน็ตอย่างมีประสิทธิภาพ ล้วนมาจากความเข้าใจและพัฒนาความรู้เดิมจากการบริหารข้อมูลข่าวสารในสื่อสิ่งพิมพ์..."
( พฤศจิกายน 2543)
บัณฑูร ล่ำซำ
คำพูดของเขาฮือฮาเสมอ และชวนให้มีการตีความอย่างมากมาย โดยเฉพาะ ปุจฉา-วิสัชนา
เกี่ยวพันไปถึงภาพกว้างกว่าธุรกิจธนาคารไปถึงการเมือง
ปุจฉาที่เร้าใจจึงมีว่า บทบาทของผู้นำธนาคารที่เข้มแข็ง สุดของไทย มีความสัมพันธ์กับการเมืองอย่างไร
ซึ่งความโน้มเอียงในการอรรถาธิบายด้วยทฤษฎีสายสัมพันธ์แบบเดิม กำลังทำงานอยู่นั้น
ผมคิดว่าทฤษฎีนั้น ใช้ไม่ได้กับบัณฑูร ล่ำซำ
( ตุลาคม 2543)
LOCAL BANKING
"ความเป็นธนาคารท้องถิ่น มีความสามารถใน การแข่งขันกับธนาคารต่างชาติในตลาดของตนเองมิติใดบ้าง
เป็นปุจฉาที่น่าสนใจมากในช่วงนี้
มีอยู่สองเรื่องที่มองกันอย่างผิวเผิน โดยอ้างกันว่า ธนาคารต่างชาติสู้ธนาคารไทยไม่ได้ …"
( กันยายน 2543)
50 ผู้จัดการ (2543)
"50 ผู้จัดการ" ก็คือ พลังของผู้บริหารที่สำคัญของไทย ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ
ที่ผ่านมา แสดงถึงพลังและความสำคัญของผู้ประกอบการไทย สปิริตของพวกเขายังมีอยู่ขณะเดียว
กันแนวความคิดดูเหมือนกลมกลืนกับมืออาชีพมากขึ้น ในฐานะผู้ยึดมั่นในการจัดการสมัยใหม่
( สิงหาคม 2543)
หนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่ง
"หนังสือพิมพ์วันนี้ "แตะต้อง" กันมากขึ้น
ปรากฏการณ์หนังสือพิมพ์ฉบับต่างๆรายงานที่เกี่ยวข้องกับผู้ประกอบการหนังสือพิมพ์
อย่างต่อเนื่องในช่วงหลังๆ มานี้ และดูจะเข้มข้นขึ้นเป็นลำดับ นับเป็นพัฒนาการที่ก้าวหน้ามากทีเดียว
ในเชิงพัฒนาการสังคมไทย…"
( กรกฎาคม 2543)
Regional Perspective
ความเข้าใจของผู้นำธุรกิจไทยที่ว่าด้วย ความสามารถในการแข่งขันระดับภูมิภาคนั้น
ยังไม่ตกผลึกกันเท่าที่ควร
ภาพสะท้อนของเรื่องนี้ มีภูมิหลังและปรัชญาที่มี "แรงเฉื่อย" มากทีเดียว
คงจะจำกันได้ว่า เราภูมิใจกันนักหนาในงานบีโอไอแฟร์ครั้งล่าสุด ที่สามารถจัดงานได้ใหญ่มาก
ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจไทยที่กำลังมืดแปด ด้าน โดยหวังว่างานนั้น จะทำให้คนไทยมีความหวังขึ้น
ซึ่งประเมินกันว่า ได้ผลมากทีเ ดียว
( มิถุนายน 2543)
Internet newspaper
หนังสือพิมพ์กำลังเผชิญหน้ากับการท้าทายครั้งใหญ่ จากยุคอินเทอร์เน็ต
ทั้งผู้ประกอบการและตัวทีมงานในกองบรรณาธิการ
ผู้ประกอบการมองว่า สื่ออินเทอร์เน็ต มาแรงจะเข้ามาแทนที่
ซึ่งจะทำให้สื่อสิ่งพิมพ์ตายไป ขณะที่นักข่าวมองว่าประสบการณ์ของพวกเขาและเธอในกองบรรณาธิการ
จะใช้ไม่ได้ในยุคใหม่นี้
ผมเสนอในครั้งนั้นว่า ผู้ประกอบการที่ฉลาด ไม่ควรละทิ้งธุรกิจในสื่อเก่าไปสู่สื่อใหม่ทันที
หากควรสร้าง"สะพาน" เชื่อมระหว่างสื่อสิ่งพิมพ์กับอินเทอร์เน็ตอย่างกลมกลืน
( พฤษภาคม 2543)
Internet Company
เสน่ห์ของตลาดหุ้นไทยลดลง ก็เพราะกิจการในประเทศไทยไม่ใคร่จะมียุทธศาสตร์ที่มีศักยภาพเกี่ยวพันกับอินเตอร์เน็ตเท่าที่ควร
ธุรกิจในกระแสคลื่นลูกใหม่ที่รุนแรงกว่าคลื่นลูกเก่า ก่อนที่เศรษฐกิจไทยจะเข้าสู่ภาวะวิกฤติ ช่วงก่อนหน้านั้น ธุรกิจการเงิน และโทรคมนาคมคือดาวรุ่ง แต่ ณ วันนี้ อินเตอร์เน็ตซึ่งสามารถเชื่อมโยงดาวรุ่งรุ่นก่อน เข้าหากันอย่างมีมูลค่าเพิ่มทางยุทธศาสตร์ เป็นธุรกิจที่ก้าวหน้าอย่างมาก ในเชิงการเติบ โต การแสวงหากำไร และสร้างโอกาสได้อย่างหลากหลาย อย่างกว้างขวาง อย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน
( เมษายน 2543)