|

new releases
Manager 360 aStore
|
|
|

 |
 |
Crunch
ผู้เขียน: Jared Bernstein
ผู้จัดพิมพ์: Berrett-Koehler
จำนวนหน้า: 226
ราคา: $26.95
buy this book
|
 |
|
 |
เคยแปลกใจตัวเองหรือไม่ว่าทำไม แม้เมื่อทุกสิ่งทุกอย่างดำเนินไปด้วยดี แต่คุณยังกลับรู้สึกแย่หรือไม่รู้สึกว่าดีขึ้น ไม่ต้องแปลกใจ เพราะคุณไม่ได้คิดไปคนเดียว ยังมีคนอีกนับไม่ถ้วนที่รู้สึกว่า ระบบเศรษฐกิจที่เป็นอยู่ในทุกวันนี้ไม่ได้ทำให้ชีวิตของพวกเขาดีขึ้นเลย
และความรู้สึกที่ว่านั้นก็ดูเหมือนจะไม่ใช่สิ่งที่เลื่อนลอย inflation-adjusted weekly earnings ของพนักงานโดยทั่วไปในสหรัฐฯ ลดลง 0.7% ในช่วง 6 ปีแรกของทศวรรษนี้ ทั้งๆ ที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ ในช่วงเวลาเดียวกันนั้นเติบโต 15% ในช่วงเวลานั้น จำนวนประชากรที่ถูกจัดว่าเป็นคนจนเพิ่มขึ้น 12.3% จาก 11.3% ขณะที่รายได้ของคนรวยที่อยู่บนระดับยอดสุดซึ่งมีอยู่เพียง 1% ของครัวเรือนทั้งหมดในปี 2005 กลับอยู่ที่ 22% ซึ่งเป็นระดับที่สูงที่สุดนับตั้งแต่ปี 1929 เป็นต้นมา
"ต้องมีอะไรผิดปกติ อะไรบางอย่างที่เป็นเรื่องพื้นฐาน" Jared Bernstein ผู้แต่ง Crunch: Why Do I Feel So Squeezed? (And Other Unsolved Economic Mysteries) ยืนยัน เขาเป็นนักเศรษฐศาสตร์อาวุโสจากสถาบัน Economic Policy Institute และเป็นนักเขียนคอลัมน์ และบางอย่างที่ผิดปกตินั้นก็คือ ความไม่เท่าเทียมทางเศรษฐกิจ ซึ่งเกิดขึ้นมานานหลายทศวรรษแล้ว และคือหัวใจของปัญหาที่ว่า เหตุใดเราจึงยังรู้สึกแย่ ทั้งๆ ที่ใครๆ บอกว่า ทุกอย่างกำลังไปได้ดี และยังเป็นสัญญาณว่า บางอย่างที่เป็นเรื่องสำคัญมากกำลังถูกทำลาย นั่นก็คือเครื่องมือและกลไกทางเศรษฐกิจต่างๆ ซึ่งเคยช่วยกระจายผลประโยชน์ของการเติบโตทางเศรษฐกิจได้อย่างทั่วถึงและยุติธรรม
GDP วัดอะไร
ผู้แต่งชี้ว่า ปัญหาดังกล่าวขาดการให้ความใส่ใจหรือตรวจสอบมานานแล้ว กำลังจะทำลายความไว้วางใจที่เราเคยมีต่อรัฐบาลและเศรษฐกิจ รวมทั้งทำลายการมีส่วนร่วมของเราในระบบการเมืองในที่สุด จะนำไปสู่ความเห็นแก่ตัว แต่ Bernstein มีคำตอบให้กับความกังวลหลายๆ อย่าง เช่น ระบบสวัสดิการสังคมจะล่มสลายจริงหรือ เขายืนยันว่าไม่ คนต่างด้าวแย่งงานอเมริกันจริงหรือ ซึ่ง Bernstein ยืนยันว่าใช่) และประธานาธิบดีสหรัฐฯ มีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจมากเพียงใด (คำตอบของผู้แต่งคือ มาก) ผู้แต่งยังพูดถึงปัญหาโลกร้อนเตือนว่า หากไม่ยอมเสียสละในวันนี้ เราจะต้องสูญเสียมหาศาลในวันพรุ่งนี้ ผู้แต่งยังอธิบายว่า GDP วัดอะไรกันแน่ (วัดมูลค่าของเศรษฐกิจออกมาเป็นตัวเงิน โดยรวมมูลค่าของสินค้าและบริการทั้งหมดเข้าด้วยกัน ตั้งแต่รถยนต์ไปจนถึงกาแฟลาเต้) แต่สิ่งที่ GDP ไม่สนใจจะวัดเลยคือ ความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมที่เป็นผลจากการเติบโตทางเศรษฐกิจ แล้วทำไมครูถึงมีรายได้ต่ำกว่าที่ควร (เพราะเราประเมินค่างานของครูต่ำ) และทำไมจึงควรลดภาษีสำหรับการซื้อบ้านหลังที่ 2 (เพราะไม่มีใครจะสามารถซื้อบ้านหลังที่ 2 ได้ ถ้าไม่ได้ซื้อบ้านหลังแรกก่อน)
ลดภาษีคนรวย ตัดสวัสดิการคนจน
Bernstein ยังอธิบายเรื่องนโยบายเศรษฐกิจและเศรษฐศาสตร์ให้เข้าใจง่ายๆ ไม่ฟังน่าปวดหัวหรือเกินจริงดังอรรถาธิบายของนักการเมืองยามเอ่ยอ้างถึงนโยบายเศรษฐกิจ เขาอธิบายว่า เศรษฐศาสตร์เป็นเพียงวิธีการที่เราจัดระเบียบสังคมของเรา เพื่อให้สามารถจัดหาสินค้าและบริการที่เราต้องการหรือที่จำเป็นสำหรับเรา แต่คำจำกัดความง่ายๆ ของเศรษฐศาสตร์นี้ถูกขโมยไป โดยบรรดาชนชั้นนำในแวดวงเศรษฐกิจ การเมืองและวัฒนธรรม และนี่ก็คือสาเหตุว่า ทำไมเราจึงไม่สามารถจัดระเบียบสังคมไปในทางที่จะทำให้พวกเราส่วนใหญ่เห็นว่ายุติธรรม เท่าเทียมและมีประสิทธิภาพได้
ผู้แต่งอธิบายพร้อมกับเสนอวิธีใหม่ที่จะทำให้เราจัดระเบียบสังคมได้ดีกว่าที่เป็นอยู่ และสามารถจัดหาสิ่งของที่เราต้องการหรือจำเป็น ขณะเดียวกันก็สามารถปรับปรุงสภาพชีวิตของเราทุกคนได้ด้วย ไม่ใช่แค่เฉพาะคุณภาพชีวิตของคนร่ำรวยจำนวนน้อยนิดที่อยู่บนยอดสุดของระดับรายได้เท่านั้น Bernstein ชี้ว่า เป้าหมายหลักของนโยบายเศรษฐกิจแห่งชาติ ควรจะเป็นการเชื่อมทุกคนเข้าหากันใหม่อีกครั้ง ไม่ว่าจะเป็นคนที่มีระดับรายได้เท่าใด เพื่อแบ่งปันความมั่งคั่งรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจร่วมกัน Bernstein กระตุ้นให้เราอย่ายอมอดทนแต่ต้องคัดค้านออกมาดังๆ เมื่อ Wall Street ชื่นชมการปลดพนักงาน หรือเมื่อนักเศรษฐศาสตร์บางคนบอกว่า คนรวยควรได้รับการลดภาษี และคนจนควรถูกตัดสวัสดิการ
|
 |
|
|