Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 



new releases
Manager 360 aStore






 
Dynasties
ผู้เขียน: David S. Landes
ผู้จัดพิมพ์: Penguin
จำนวนหน้า: 380
ราคา: $16.00
buy this book

David Landes จะเล่าเรื่องราวและชี้ให้เห็นความสำคัญของอาณาจักรธุรกิจและตระกูลที่สร้างอาณาจักรธุรกิจเหล่านั้นให้ร่ำรวยและมีชื่อเสียงมานานหลายชั่วอายุคน ใน Dynasties : Fortunes & Misfortunes of the World's Great Family Businesses กล่าวถึงประวัติศาสตร์ของตระกูลธนาคารที่ยิ่งใหญ่ (Baring, Rothschild และ Morgan) ตระกูลผู้ผลิตรถยนต์ระดับโลก (Ford, Renault และ Toyota) และตระกูลที่ร่ำรวยมาจากทรัพยากรธรรมชาติ (Rockefeller, Guggenheim และ Wendel)

บางครั้งลูกไม้ก็หล่นไกลต้น

สิ่งหนึ่งที่มักเกิดขึ้นกับธุรกิจที่สร้างโดยตระกูลเดียวคือ รุ่นลูกมักจะเก่งเหมือนรุ่นพ่อรุ่นแม่ แต่พอถึงรุ่นหลาน กลับไม่ค่อยสนใจหรือไม่เก่งพอที่จะบริหารธุรกิจของตระกูลได้ต่อไป เช่น John D. Rockefeller ผู้ก่อตั้ง Standard Oil ซึ่งสร้างรายได้ให้เขามากกว่า 1 พันล้านดอลลาร์ในปี 1913 เมื่อเขาสูงวัย บุตรชายของเขาคือ John Jr. ก็เข้ามาบริหารธุรกิจแทนบิดา Junior ทำงานเก่งเหมือนพ่อ แต่เขาออกจาก Standard Oil ตั้งแต่อายุ 36 เพื่อไปบริหารมูลนิธิการกุศลของตระกูล และไม่ได้สอนลูกหรือหลานในเรื่องธุรกิจเลย

ผู้แต่งสรุปว่า คนรุ่นที่ 3 ในตระกูลมักจะรับสืบทอดธุรกิจมาโดยขาดวิญญาณของผู้ประกอบการ และไร้แรงผลักดัน ของการอยากทำเงินเหมือนรุ่นพ่อรุ่นปู่ รวมทั้งไม่มีความรู้สึกว่า ธุรกิจของตระกูล หาใช่ทรัพย์สมบัติของตระกูล เป็นสิ่งที่ควรปกป้องและรักษาไว้ สำหรับกรณีของ Rockefeller ลูกหลานไม่สนใจธุรกิจแต่กลับไปสนใจเรื่องการเมืองและการกุศลมากกว่าธุรกิจ ส่วนตระกูลอื่นๆ คนรุ่นที่ 3 มักสนใจสะสมงานศิลปะ หรือทำตัวเป็นคนเด่นดังของสังคม และใช้ชีวิตอย่างหรูหราแทนที่จะสนใจบริหารธุรกิจของตระกูล

เลือดข้นกว่าน้ำ

การที่ลูกหลานไม่สนใจธุรกิจ ทำให้ตระกูลธุรกิจเหล่านี้ต้องพึ่งการว่าจ้างผู้บริหารจากภายนอก ผู้แต่งตั้งข้อสังเกตว่า นี่อาจเป็นสาเหตุให้มหาเศรษฐีเจ้าของตระกูลธุรกิจมีลูกมาก โดยหวังว่าจะมีลูกหลานคนใดคนหนึ่งที่จะสามารถนำพาธุรกิจของตระกูลให้รุ่งเรืองต่อไปในอนาคตได้ อย่างเช่นที่ Jean-Martin Wendel มีลูกถึง 14 คน

ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม ผู้แต่งชี้ว่าการดึงคนนอกเข้ามาบริหารธุรกิจของตระกูลเป็นเรื่องเสี่ยง โดยเฉพาะหากธุรกิจของตระกูลนั้นต้องอาศัยพึ่งพาเส้นสายความสัมพันธ์อย่างเช่นธุรกิจธนาคาร เช่น กรณี J.P. Morgan ที่ว่าจ้าง George Perkins ให้มาช่วยบริหาร แต่ก็ต้องปลดเขาออก หลังจาก Perkins ทำตัวฟุ้งเฟ้อเกินไป และไม่เคารพคนในตระกูล Morgan

อย่างไรก็ตาม หากธุรกิจของตระกูลต้องการความเชี่ยวชาญชำนาญทางเทคนิค มักจำเป็นต้องจ้างผู้บริหารจากภายนอก เพื่อให้เป็นพี่เลี้ยงทายาทที่ยังอ่อนหัดและไร้ประสบการณ์ แต่ก็ไม่ใช่จะได้ผลเสมอไป อย่างกรณี Ford ที่มีผู้บริหารคนดังหลายคนผลัดกันเรียงแถวตบเท้าเข้ากุมบังเหียน ไม่ว่าจะเป็น Lee Iacocca, Alexander Trotman และ Jacques Nasser แต่ก็ยังคงแก้ปัญหาผลกำไรไม่ได้

สุดท้ายผู้แต่งชี้ว่า ธุรกิจครอบครัวมีความสำคัญมากต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ เนื่องมาจากกว่า 90% ของธุรกิจในสหรัฐฯ เป็นธุรกิจครอบครัว ซึ่งผลิตสินค้าและบริการรวมกันมากกว่าครึ่งหนึ่งของสินค้าและบริการทั้งหมดในสหรัฐฯ นอกจากนี้ ธุรกิจครอบครัวยังเป็นแหล่งเพาะสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นอย่างไม่ขาดสาย



upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide



 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us