Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 



new releases
Manager 360 aStore






 
The (Mis) Behavior of Markets
ผู้เขียน: Benoit Mandelbrot
ผู้จัดพิมพ์: Profile Books
จำนวนหน้า: 328
ราคา: ฿698
buy this book

ชื่อของนักคณิตศาสตร์อย่าง เบนวา มันเดลโบรท คนนี้ อาจจะเป็นที่รู้จักค่อนข้างน้อยในเมืองไทย แต่ในระดับโลก เขาคือตัวจริงเสียงจริงระดับอัจฉริยะของวงการคณิตศาสตร์

เบนวา คือนักคิดชาวฝรั่งเศส เชื้อสายโปแลนด์ เจ้าของทฤษฎีเรขาคณิตแฟรคทอล หรือ fractal geometry อันโด่งดังไปทั่วโลก ซึ่งถือเป็นการปฏิวัติแนวคิดและปรัชญาว่าด้วยการคำนวณ หรือการสังเกตธรรมชาติกันใหม่ทั้งหมด อย่างชนิดที่นักคณิตศาสตร์อย่างยูคลิด นิวตัน เก๊าส์ หรือลีออนฮาร์ดออยเลอร์ หรือกระทั่งไอน์สไตน์ กลายเป็นคนล้าสมัยไปเลยในทันที

เมื่อเบนวาย้ายมาทำงานในสหรัฐฯ ความสนใจเรื่องการลงทุนในตลาดหุ้น ตลาดตราสารหนี้ และตลาดเก็งกำไรอื่นๆได้จุดประกายให้เขาเขียนหนังสือเล่มนี้ขึ้นมา เพื่อประยุกต์ใช้ทฤษฎีเรขาคณิตแฟรคทอลเข้ากับทฤษฎีการเงิน

ผลลัพธ์ก็คือ ไม่ใช่เพียงแค่เขาจะสามารถค้นพบข้อบกพร่องของทฤษฎีการเงินที่เคยใช้กันมาอยู่ว่า เหตุใดไม่สามารถคาดเดาหรือทำนายแนวโน้มอนาคตได้แม่นยำ แต่ยังสามารถนำเสนอทฤษฎีใหม่ทางการเงินขึ้นมาอีกด้วย

การรื้อฟื้นเอาทฤษฎีที่ถูกทิ้งบนหิ้งอย่างไม่ใส่ใจของหลุยส์ บาเชลิเยร์ นักคิดฝรั่งเศส ผู้ค้นพบทฤษฎีการเคลื่อนไหวแบบบราวเนียน หรือ Brownian Motion ซึ่งเป็นการประยุกต์ทฤษฎีคณิตศาสตร์เข้ากับโลกของการเงินและเก็งกำไร

ทฤษฎีของบาเชลิเยร์ได้แก่การศึกษารูปแบบการเคลื่อนตัวของราคาตราสารการเงินที่มองเห็นแต่ความสะเปะสะปะไร้รูปที่ชัดเจน แต่เมื่อวิเคราะห์ให้ดีแล้วจะเห็นแบบแผนการเคลื่อนตัวที่สามารถมองเห็นทิศทางที่ซ้ำๆ กันสามารถพล็อตเป็นกราฟได้

จากทฤษฎีดังกล่าว เบนวานำมาประยุกต์เพิ่มเติมโดยเน้นหนักไปที่การวิเคราะห์ปัจจัยความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากแบบแผนการเคลื่อนตัวของราคาหุ้น หรือตราสารการเงินที่ปรากฏในตลาดเก็งกำไรต่างๆ

ไม่เพียงเท่านั้น เบนวายังร่วมกับนักคิดที่มีความคิดคล้ายกันอย่างนัสซิม ทาเล็บ (Nassim Taleb) นักคณิตศาสตร์การเงินอีกคนหนึ่งที่มีชื่อเสียงโด่งดังขึ้นมา เพื่อทำการศึกษาว่าด้วยการลองผิดลองถูกในการเก็งกำไรว่า แม้จะมีความผันผวนในการเก็งกำไร แต่หากเข้าถึงความเสี่ยงได้ชัดเจน ก็สามารถที่จะสร้างรูปแบบการลงทุนที่เหมาะสมได้

ผลลัพธ์ของทฤษฎีแฟรคทอลทางการเงิน fractal finance ที่ปรากฏในหนังสือเล่มนี้ ก็ได้กลายเป็นระเบิดเวลาทางความคิดครั้งสำคัญที่บรรดานักวิเคราะห์การเก็งกำไร ผู้จัดการกองทุน และบรรดานักลงทุนระดับเซียนเรียกพี่ ต้องนำมาศึกษากันอย่างจริงจัง

โดยเฉพาะเรื่องของ rules of regular roughness หรือกฎว่าด้วยความรุงรังของธรรมชาติ ซึ่งมีความซับซ้อนและรายละเอียดที่หากสามารถถอดรหัสออกมาได้แล้ว จะค้นพบว่าเต็มไปด้วยสาระที่น่าสนใจอย่างยิ่ง

ทฤษฎีของเบนวาในระยะแรก ไม่ได้รับความเชื่อถือนัก (ตามปกติของทฤษฎีที่ยิ่งใหญ่ที่มักจะถูกตั้งข้อสงสัยเอาไว้ก่อน) จนกระทั่งวิกฤติแบล็ก มันเดย์ ในปี 1987 ที่ดัชนีดาวโจนส์ถล่มลงกว่า 500 จุดในวันเดียว จนต้องคิดค้นมาตรการป้องกันตัว ที่เรียกว่า เซอร์กิต เบรกเกอร์ เอามาใช้

ปัจจุบันแนวคิดเรื่องแฟรคทอลทางการเงินของเบนวาว่าด้วยการแกว่งตัวที่ไม่น่าเชื่อ หรือ impossible swings และ การเชื่อมโยงของตัวแปรสุดขั้ว clusters of extreme variance เป็นที่ยอมรับกันโดยเปิดเผย

ความสำคัญของทฤษฎีดังกล่าวอยู่ที่การเปลี่ยนกระบวนทัศน์จากทฤษฎีการเก็งกำไรแบบเดิมๆ ที่เน้นค้นหา "ความปกติ" (smoothness) ของตลาด มาเป็นการค้นหา "การเดาสุ่มอย่างแปรปรวน" (wild randomness) ของตลาดแทน โดยไม่ต้องอาศัยฐานข้อมูลที่ประมวลจากอดีตเป็นที่พึ่งพิง

แนวคิดอย่างนี้ให้ความสำคัญกับกระบวนการคิดแบบใช้เหตุผล หรือ a priori มากกว่าการใช้ประสบการณ์จากอดีต หรือ a posteriori นั่นเอง

เนื้อหาของหนังสือ แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ที่ง่ายๆ ส่วนแรกวิพากษ์แนวคิดเดิม ส่วนที่สอง เสนอแนวคิดใหม่ของตนเอง และส่วนสุดท้าย ว่าด้วยการคลี่คลายของแนวคิดที่แผ่ขยายออกไปจากปัจจุบัน

หนังสือเล่มนี้คนที่ได้อ่านย่อมหมดข้อสงสัยเกี่ยวกับความยิ่งใหญ่ของเบนวา แมนเดลโบรท ทั้งในเรื่องความรู้ทางคณิตศาสตร์และการประยุกต์เข้ากับตลาดเก็งกำไร รวมทั้งมุมมองที่ทำให้เราได้ประกายไอเดียใหม่ๆ แต่ความยากที่จะเข้าใจถ้อยคำซึ่งแม้จะพยายามไม่แสดงออกด้วยสัญญะทางคณิตศาสตร์มากจนอ่านไม่รู้เรื่อง ก็ยังถือว่าเป็นเรื่องที่เคี้ยวยากพอสมควรทีเดียว

โดยเฉพาะคนที่ไม่มีรากฐานความรู้ทางคณิตศาสตร์ร่วมสมัย และไม่รู้เรื่องตลาดทุนหรือตลาดเก็งกำไรมากพอ คงจะต้องลำบากลำบนแสนสาหัสกว่าจะเข้าถึงเนื้อหาของหนังสือนี้

เพียงแต่ว่า คนที่ถือว่าความยาก มันก็คือความท้าทายอย่างหนึ่ง ก็เป็นเรื่องน่าสนใจไม่น้อย เพราะอาจจะเจอขุมทรัพย์ได้ง่ายขึ้นแม้ว่าจะไม่ถึงขั้น "อ่านแล้วรวย" ก็ตาม

การได้รู้ว่าตลาดเงินและตลาดเก็งกำไรนั้น มีความเสี่ยงที่ตรงไหน ก็เหมือนการเข้าสู่สนามแข่งขันโดยมีแผนที่เดินทางหรือคัมภีร์เป็นคู่มือที่ดี...มิใช่หรือ?

รายละเอียดในหนังสือ
Part 1 The Old Way

Chapter 1. Risk, Ruin, and Reward การถือกำเนิดของทฤษฎีเงินสมัยใหม่ที่เริ่มต้นจากฐานความคิดที่คับแคบและมายาคติที่หละหลวมของนักคิดบางคน นำพาให้นักลงทุนและนักวิเคราะห์ร่วมสมัยไปสู่กับดักของความหลงผิดจนดูเบาความเสี่ยงของตลาดเงินต่ำเกินไป

Chapter 2. By the Toss of a Coin or the Flight of an Arrow? กระบวนการภาคปฏิบัติว่าด้วยโอกาสเพื่อแสวงหากำไรจากตลาดเงินและการเก็งกำไร

Chapter 3. Bachelier and His Legacy ย้อนรอยทบทวนทฤษฎีการเงินเมื่อร้อยปีก่อนซึ่งถูกละเลยไปของนักคณิตศาสตร์ฝรั่งเศส หลุยส์ บาเชลิเยร์ เจ้าของทฤษฎีว่าด้วยการเก็งกำไรด้วยการศึกษาการเคลื่อนตัวแบบบราวเนียน (Brownian Motion)

Chapter 4. The House of Modern Finance วิเคราะห์ทฤษฎีการเงินโดยละเอียดของบาเชลิเยร์ ได้แก่ การประเมินสินทรัพย์ การสร้างพอร์ตโฟลิโอเพื่อการลงทุน และการประเมินความเสี่ยง

Chapter 5. The Case Against the Modern Theory of Finance ทฤษฎีการเงินแบบเถรตรงที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันได้สร้างปริศนาที่บกพร่องเนื่องจากสมมุติฐานที่ผิดพลาด และนำไปสู่คำตอบที่เสียหายได้อย่างไรบ้าง

Part 2 The New Way

Chapter 6. Turbulent Markets : a Review ความผันผวนที่รุนแรงของตลาดหุ้นและตลาดเงินเปรียบได้กับสายลม หรือน้ำหลากท่วม ซึ่งให้มุมมองแบบแฟรคทอลสร้างคำอธิบายใหม่ได้อย่างไร

Chapter 7. Studies in Roughness : A Fractal Primer การค้นหาสาเหตุว่าทำไมตารางราคาหุ้นจึงมีลักษณะใกล้เคียงกับใบเฟิร์น ซึ่งสามารถสร้างแบบแผนใหม่ด้วยเรขาคณิตแบบแฟรคทอลได้ด้วยกฎของความรุงรัง หรือ rules of roughness เพื่อศึกษามิติหลายด้านที่แตกต่างจากเรขาคณิตแบบยูคลิด

Chapter 8. The Mystery of Cotton การศึกษาเปรียบเทียบกรณีแรก เกี่ยวกับการขยายตัวของปุยฝ้ายในธรรมชาติเข้ากับมุมมองใหม่ของตลาดการเงิน ซึ่งเป็นการค้นพบที่สำคัญอย่างยิ่งทางด้านคณิตศาสตร์ด้วยกฎการไหลของราคา 3 ข้อ คือ กฎของซิพ์ฟ กฎของพาเรโต และกฎการขึ้นต่อกันของปัจจัยเป็นระยะยาว

Chapter 9. Long Memory, from the Nile to the Marketplace การศึกษาเปรียบเทียบกรณีที่สอง จากการทดสอบและสังเกตการไหลเวียนของแม่น้ำไนล์ โดยนักอุทกวิทยาชาวอังกฤษ เอช อี เฮิร์ซ

Chapter 10. Noah, Joseph, and Market Bubbles ปรากฏการณ์สำคัญของตลาดเงินที่เกี่ยวข้องกับการเหวี่ยงอย่างรุนแรงของราคา และผลข้างเคียงในระยะยาวที่เรียกว่า โนอาห์เอฟเฟกต์ และโจเซฟ เอฟเฟกต์

Chapter 11. The Multifractal Nature of Trading Time ในตลาดเงิน เวลาถูกเร่งให้เร็วขึ้น และช้าลงได้อย่างไร จากการวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์ โดยใช้โมเดลแบบมัลติแฟรคทอลเพื่อศึกษาทิศทางของตลาด

Part 3 The Way Ahead

Chapter 12. Ten Heresies of Finance มุมมองใหม่ว่าด้วยกระบวนการทำงานของตลาดเงิน พร้อมกับกุญแจไขความลับใหม่โดยมุมมองของแฟรคทอลทางการเงิน

Chapter 13. In the Lab การศึกษาแบบแฟรคทอลทางการเงิน จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงตลาดเงินได้มากน้อยเพียงใด พร้อมกับโปรแกรมสำหรับการวิจัยเพิ่มเติมที่เป็นรูปธรรมในอนาคต



upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide



 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us