|
new releases
Manager 360 aStore
|
|
|
|
|
The Think Factory
ผู้เขียน: Susan D. Conway
ผู้จัดพิมพ์: John Wiley & Sons
จำนวนหน้า: 224
ราคา: $34.95
buy this book
|
|
|
|
การบริหารข้อมูล
ข้อมูลข่าวสารคือเลือดที่หล่อเลี้ยงองค์กรสมัยใหม่ ในทุกวันนี้ไม่ว่าจะอยู่ในอุตสาหกรรมใด องค์กรใดที่บริหารข้อมูลได้ดีกว่าจะประสบความสำเร็จในระยะยาว บริษัทอย่าง Wal-Mart, DuPont, Microsoft, FedEx และ Southwest Airlines ประสบความสำเร็จ แม้จะอยู่ในตลาดที่มีการแข่งขันสูงมาก เพราะความสามารถในการจัดการข้อมูลจำนวนมหาศาลที่บริษัทสร้างขึ้น ใน The Think Factory ผู้แต่งคือ Susan D. Conway ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต ชี้ว่า ความลับของบริษัทที่ประสบความสำเร็จเหล่านั้น คือการปรับปรุงการไหลและการใช้ข้อมูลภายในองค์กร
การวัดประสิทธิภาพการผลิต
ในขณะที่ Conway ทำงานเป็นที่ปรึกษาอยู่ใน Micro soft เธอได้ช่วยให้กองทัพอากาศสหรัฐฯ สร้างกรอบต่างๆ สำหรับวัดผลกระทบของเทคโนโลยีที่มีต่อข้อมูลข่าวสาร องค์กรอื่นๆ ก็สามารถจะใช้กรอบวัดประสิทธิภาพการผลิตเหล่านั้น ในการวัดสภาพการไหลของข่าวสารภายในองค์กร โดยผู้บริหาร สามารถใช้กรอบที่ Conway พัฒนาไว้ ในการติดตามและวิเคราะห์ว่า ขั้นตอนการทำงานของบริษัท เทคโนโลยี วิธีการบริหารของบริษัท และเครื่องมือทางการบริหารที่บริษัทใช้อยู่นั้น ส่งผลอย่างไรต่อผลผลิตของบริษัท โดยสามารถวัดผลออกมาเป็นตัวเงินได้
เครื่องมือวัดประสิทธิภาพ
การปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต ต้องการมากกว่าเพียงการเปลี่ยนแปลงกระบวนการทำงานหรือการนำเทคโน โลยีใหม่มาใช้ โดยจะต้องสอดคล้องและไปกันได้กับลักษณะของธุรกิจและโครงสร้างขององค์กรนั้นๆ ด้วย ถ้าหากกระบวนการ ทำงานไม่สอดคล้องกับโครงสร้างการบริหารขององค์กร ต่อให้นำเทคโนโลยีที่ดีที่สุดหรือทันสมัยที่สุดมาใช้ แทนที่จะเพิ่มประสิทธิภาพ การผลิต อาจกลับกลายเป็นการลดประสิทธิภาพของพนักงาน
ในการปรับปรุงการไหลและการใช้ข้อมูลข่าวสารภายในองค์กร จำเป็นต้องวัดว่า กระบวนการทำงาน เทคโนโลยี และการฝึกอบรมขององค์กรตามที่เป็นอยู่นั้น สนับสนุนความสามารถในการผลิตสินค้าและบริการของพนักงานมากน้อยเพียงใด โดยอาศัย เครื่องมือวัดคือ Productivity Impact Framework (PIF) และProductivity Impact Measures (PIM) ซึ่งเป็นกรอบสำหรับวัด ประเมิน และปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตที่ดีกว่าวิธีวัดจากสายการผลิต แบบเดิมๆ ซึ่งผู้แต่งชี้ว่า ล้าสมัยแล้ว โดยกองทัพอากาศสหรัฐฯ และสายการบิน Korean Air ได้ใช้กรอบวัดทั้งสองนี้ และประสบความสำเร็จในการปรับปรุง คุณภาพ ลดเวลาการทำงาน และปรับปรุง ความพึงพอใจในการทำงาน
ปรับปรุงการไหลของข้อมูล
ผู้แต่งชี้ว่า การลงทุนในการปรับปรุงคนและกระบวนการทำงาน เพื่อที่จะให้ได้รับประโยชน์สูงสุดจากการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ในองค์กร จะเป็นกุญแจแห่งความสำเร็จทางเศรษฐกิจในช่วงทศวรรษหน้า องค์กรควรจะปรับโครงสร้างสิ่งแวด ล้อมในการทำงานไม่ว่าจะซับซ้อนเพียงใด เพื่อให้ข้อมูลข่าวสารภายในองค์กรสามารถไหลได้อย่างเสรีและโปร่งใสมากขึ้น และการนำกรอบปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตมาใช้ จะทำให้องค์กรเปลี่ยน จากการตั้งรับเป็นการชิงเป็นฝ่ายรุกมากขึ้น ทั้งยังทำให้องค์กรมีโครงสร้างพื้นฐานและกระบวนการทำงาน ที่จะสนับสนุนยุทธศาสตร์ของบริษัททั้งในปัจจุบันและในอนาคต
|
|
|
|