|
new releases
Manager 360 aStore
|
|
|
|
|
A Perfect Mess
ผู้เขียน: Eric Abrahamson, David H. Freedman
ผู้จัดพิมพ์: Little Brown and Company
จำนวนหน้า: 336
ราคา: $25.99
buy this book
|
|
|
|
ประโยชน์ของโต๊ะรกๆ
Albert Einstein เคยกล่าวว่า ถ้าหากโต๊ะรกๆ หมายถึงเจ้าของโต๊ะมีความคิดที่ไม่เป็นระเบียบ ถ้าอย่างนั้น โต๊ะที่ว่างเปล่าเล่า ถึงแม้โต๊ะคุณอาจจะรก แต่ก็ไม่จำเป็นว่า คุณจะหาเอกสารที่ต้องการไม่พบเสมอไป แม้ความไร้ระเบียบอาจจะนำไปสู่ความสับสนวุ่นวายหรือความอึกทึก แต่มันอาจเป็นเรื่องธรรมดาสำหรับคนจำนวนมาก ซึ่งรวมถึง Einstein โต๊ะทำงานของเขาที่อยู่ในสถาบัน Institute for Advanced Study นับว่ารกที่สุด แต่ Einstein ประสบความสำเร็จอย่างสูงจนได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ในปี 1921 ซึ่งเป็นเครื่องยืนยันว่า ความยุ่งเหยิงไร้ระเบียบ ไม่ได้เป็นปัญหาสำหรับทุกคนเสมอไป ซ้ำอาจเป็นผลดีสำหรับบางคนอย่างเช่น Einstein
มาไร้ระเบียบกันเถอะ
ใน A Perfect Mess : The Hidden Benefits of Disorder-How Crammed Closets, Cluttered Offices, and On-the-Fly Planning Make the World a Better Place เล่มนี้ ผู้แต่งทั้งสองคือ Eric Abrahamson ซึ่งเป็นศาสตราจารย์ด้านการบริหารจัดการแห่งมหาวิทยาลัย Columbia Business School และ David H. Freedman ซึ่งเป็นบรรณาธิการนิตยสาร Inc. ตั้งคำถามว่า ความเป็นระเบียบเรียบร้อยดีกว่าความไร้ระเบียบจริงหรือ
ทั้งสองชี้ว่า การปล่อยให้มีความรกอยู่บ้าง เป็นสิ่งที่ดีกว่าความเจ้าระเบียบเนี้ยบไปหมดทุกอย่าง เหตุผลคือค่าใช้จ่ายของการรักษาความเป็นระเบียบสูงกว่าประโยชน์ที่ได้รับจากมัน อย่างน้อย ประโยชน์อย่างหนึ่งของความไร้ระเบียบคือ ช่วยลดความเครียดของการที่จะต้องรักษาความ เป็นระเบียบเรียบร้อยอยู่ตลอดเวลา และอันที่จริงผู้แต่งชี้ว่า หลายคนทำงานได้ดีอยู่แล้ว แม้ว่าโต๊ะทำงานของเขาจะรกไปบ้าง แต่กลับต้องรู้สึกไม่สบายใจ เนื่องจากถูกฝังหัวให้เข้าใจผิดๆ มาตลอดว่า โต๊ะรกๆ เป็นสิ่งที่ไม่ดี
ผู้แต่งยกตัวอย่างร้านขายหนังสือ 2 แห่งใน Manhattan ร้านแรกจัดหนังสือเป็นระเบียบ และใช้ระบบคอมพิวเตอร์ค้นหาหนังสือ พร้อมกับพนักงานเต็มร้าน ในขณะที่ร้านที่สองกองหนังสือสุมๆ กันไปทั่วร้าน แม้ว่าร้านแรกจะมีลูกค้ามากกว่า แต่ร้านที่สองเป็นร้านที่ยังคงเปิดกิจการมาจน ถึงทุกวันนี้ ในขณะที่ร้านแรกเจ๊ง เหตุผลก็คือแม้ว่าร้านที่ไร้ระเบียบ อาจจะขายหนังสือได้น้อยกว่า แต่กลับทำรายได้มากกว่าเมื่อเวลาผ่านไปนานหลายปี เนื่องจากไม่ต้องแบกค่าใช้จ่ายสูงลิ่ว จากการมีระบบคอมพิวเตอร์ และการที่ต้อง จ้างพนักงานขายจำนวนมาก
ประโยชน์ของความไร้ระเบียบ
ผู้แต่งชี้ว่า ความไร้ระเบียบ ไม่ได้หมายถึงการไม่มีระเบียบอยู่บ้างเลยแม้แต่นิด และความไร้ระเบียบสามารถแบ่งได้ถึง 12 ชนิด ตามความมากน้อย นอกจากนี้ ความไร้ระเบียบมีประโยชน์ที่เห็นได้ชัดคือ ความยืดหยุ่น ระบบที่มีความไร้ระเบียบอยู่บ้างจะสามารถ ปรับเปลี่ยนได้อย่างรวดเร็ว และพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงได้หลาก หลายและโดยไม่ต้องใช้ความพยายามมาก ในขณะระบบที่วางไว้อย่างเป็นระเบียบมากเกินไปจะปรับตัวได้ยากและเชื่องช้า
|
|
|
|