Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 



new releases
Manager 360 aStore






 
Making Globalization Work
ผู้เขียน: Joseph E. Stiglitz
ผู้จัดพิมพ์: W.W. Norton & Company
จำนวนหน้า: 384
ราคา: $26.95
buy this book

ปัญหาของโลกาภิวัตน์

นักเศรษฐศาสตร์และผู้นำโลกจำนวนมากเห็นพ้องว่า โลกาภิวัตน์จะช่วยยกมาตรฐานการครองชีพให้สูงขึ้น เพิ่มการเข้าถึงตลาดต่างประเทศ ดึงดูดเงินทุนต่างประเทศได้มากขึ้น และทำให้โลกไร้พรมแดน แต่ Joseph E. Stiglitz อดีตหัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของธนาคารโลก และผู้ได้รับรางวัลโนเบล ยืนยันว่า โลกาภิวัตน์หาได้สามารถสร้างประโยชน์เช่นนั้นไม่ต่อร้อยละ 80 ของประชากรโลก ที่อาศัยอยู่ในประเทศกำลังพัฒนา และอีกร้อยละ 40 ที่มีชีวิตอยู่ในความยากจน

ความล้มเหลวของสถาบันซึ่งมีหน้าที่ต้องให้ความช่วยเหลือ

Stiglitz ไม่ได้ต่อต้านโลกาภิวัตน์ แต่คัดค้านวิธีบริหารจัดการโลกาภิวัตน์ ซึ่งอยู่ในมือของสถาบันระดับโลก 3 แห่งคือ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ธนาคารโลก และองค์การการค้าโลก (WTO) แต่สถาบันทั้งสามกลับช่วยชาติพัฒนาแล้ว มากกว่าที่จะช่วยชาติยากจน และให้ความสำคัญ กับผลกำไร นำหน้าการรักษาสิ่งแวดล้อม และการยกระดับมาตรฐานการครองชีพให้ดีขึ้น

สาเหตุที่เป็นเช่นนั้น Stiglitz ชี้ว่า เป็นเพราะสหรัฐฯ มีอิทธิพลมากเกินไปต่อโลกาภิวัตน์ จากการที่ IMF ให้สิทธิ์ออกเสียงมากน้อยตามขนาดของเศรษฐกิจ ซึ่งทำให้สหรัฐฯเหมือนกับมีอำนาจใช้สิทธิยับยั้ง นอกจากนี้ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ยังเป็นผู้แต่งตั้งประธานธนาคารโลก จึงเกิดสภาพที่ Stiglitz ใช้คำว่า "Washington Consensus" กล่าวคือเกิดการ ผูกนโยบายเข้าด้วยกันระหว่างนโยบายของ IMF ธนาคารโลกและกระทรวงการคลังสหรัฐฯ ผลคือสถาบันระดับโลกเหล่านี้จะรับผิดชอบต่อประเทศร่ำรวย แทนที่จะรับผิดชอบต่อประเทศ ยากจน ที่สถาบันเหล่านี้มีหน้าที่จะต้องให้ความช่วยเหลือ

และเมื่อประเทศยากจนต้องการความช่วยเหลือ Washington Consensus ก็จะกำหนดนโยบายเศรษฐกิจและ เงื่อนไขการให้กู้ยืมเงิน ที่มักจะส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจของประเทศยากจน หรือแม้กระทั่งถึงขั้นบ่อนทำลายอธิปไตยของประเทศยากจน โดยนโยบายที่สถาบันเหล่านั้นกำหนดให้ประเทศยากจนต้องทำตาม มักให้แปรรูปรัฐวิสาหกิจขนานใหญ่ ลดการใช้จ่าย ลดภาษีศุลกากรและเปิดรับเงินทุนต่างประเทศ ซึ่งมีความผันผวนสูง อันเป็นนโยบายที่ Stiglitz ชี้ว่าชาติกำลังพัฒนาไม่ต้องการจะทำมากที่สุด ในขณะที่เศรษฐกิจของประเทศกำลังย่ำแย่ ผลก็คือ Stiglitz ระบุว่า ประเทศที่ทำตามคำแนะนำของสถาบันการเงินระดับโลกดังกล่าว กลับล้มเหลวเกือบจะร้อยเปอร์เซ็นต์ในการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ

ทางแก้

Stiglitz เสนอให้ปฏิรูประบบบริหารจัดการโลกาภิวัตน์ ซึ่งจะต้องอยู่บนพื้นฐานความเข้าใจที่ว่า อำนาจ ในการควบคุมที่รัฐบาลแต่ละประเทศมีต่างหาก ที่จะทำให้ตลาดเสรีทำงานต่อไปได้ หาใช่ระบบทุนนิยมที่ไร้การควบคุมไม่ ซึ่งมีแต่จะทำให้ระบบตลาดต้องตกไปอยู่ในสภาพหายนะ ไร้ความซื่อสัตย์และไม่โปร่งใส

Stiglitz เสนอให้ระบบทุนสำรองระหว่างประเทศ เลิกพึ่งพิงหลักทรัพย์ของกระทรวงการคลังสหรัฐฯ ซึ่งเขาเห็นว่า เป็นกลไกที่สนับสนุนนิสัยบริโภคมากเกินไปของสหรัฐฯ และเรียกร้องให้ตั้งระบบทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศใหม่ (เรียกว่า "global green-backl") ที่จะช่วยรักษาเสถียรภาพของผลลัพธ์ที่เกิดจากการเกินดุลและขาดดุลการค้าระหว่างประเทศ

เขายังเสนอให้มีการกำหนดกฎเกณฑ์ระหว่างประเทศ ที่จะควบคุมไม่ให้กิจกรรม และความไร้เสถียร ภาพทางการเมืองใดๆ ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและให้สิทธิ์ในการฟ้องไล่เบี้ย หากการกระทำของประเทศหนึ่งประเทศใด ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของประเทศอื่น รวมทั้งประเทศยากจนควรมีสิทธิ์ที่จะได้รับค่าตอบแทน จากการสามารถรักษาสภาพความหลากหลายทางชีวภาพ โดยเฉพาะประเทศที่สามารถรักษาป่าฝนเอาไว้ได้ ซึ่งเป็นแหล่งของการค้นพบยาใหม่ๆ และช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์


Stiglitz ยังเห็นว่า ธนาคารและบริษัทข้ามชาติ เป็นอีกสถาบันหนึ่งที่ควรจะมีความเข้าใจ ถึงความจำเป็นที่จะต้องมีการควบคุมโลกาภิวัตน์ด้วย และเขาเห็นว่า ควรเปิดทางให้สามารถมีการร่วมกันฟ้องร้องบริษัทข้ามชาติ และการบังคับใช้กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาที่เข้มงวดขึ้น

อย่างไรก็ตาม Stiglitz เห็นว่า สุดท้ายแล้ว การจะปฏิรูปโลกาภิวัตน์ให้สำเร็จก็ขึ้นอยู่กับประเทศยากจนเอง ที่จะต้องกำจัดการทุจริตคอร์รัปชั่นระหว่างรัฐบาลกับบริษัทระหว่างประเทศ และจะต้องขายทรัพยากรธรรมชาติในราคาที่ยุติธรรม รวมทั้งรู้จักใช้จ่ายเงินและออมเงินอย่างฉลาด ตลอดจนเรียนรู้ที่จะบริหารความผันผวนของค่าเงิน ตัว Stiglitz เองเป็นคนที่สนับสนุนโลกาภิวัตน์ และเขาเชื่อมั่นว่า สหรัฐฯ จะไม่สามารถ ควบคุมสถาบันการเงินระหว่างประเทศ ที่ความจริงแล้วมีหน้าที่ จะต้องให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจแก่ประเทศยากจน ไว้ได้ตลอดไป โดยที่ไม่สามารถสร้างผลดีให้เกิดแก่ประเทศยากจนทั่วโลก



upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide



 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us