|
new releases
Manager 360 aStore
|
|
|
|
|
Riding the Blue Train
ผู้เขียน: Bart Sayle , Surinder Kumar
ผู้จัดพิมพ์: Portfolio
จำนวนหน้า: 228
ราคา: $24.95
buy this book
|
|
|
|
พอกันที "ทุกอย่างปกติ ไม่มีเปลี่ยนแปลง"
คุณและองค์กรของคุณกำลังติดอยู่กับวิธีคิดแบบ "ทุกอย่างปกติ ไม่มีเปลี่ยนแปลง" หรือไม่ คุณอาจกำลังส่งเสริมความคิดแบบนี้อยู่โดยไม่รู้ตัวก็ได้ ผู้แต่งคือ Bart Sayle และ Surinder Kumar ชี้ว่า นี่เป็นวิธีคิดที่ทำให้คุณหยุดนิ่งอยู่กับที่ และแนะนำวิธีคิดที่จะทำให้คุณสามารถก้าวไปข้างหน้า แต่ก่อนอื่นผู้นำและพนักงานจะต้องเลิกคิดแบบเดิมเสียก่อน และยอมรับว่าการเปลี่ยนแปลงคือโอกาส และเริ่มต้นที่สิ่งเล็กๆ แต่สามารถจะสร้างความแตกต่างที่ยิ่งใหญ่ได้ สิ่งเล็กๆ เหล่านั้น ก็ได้แก่ ทัศนคติ ความตั้งใจ แรงบันดาลใจ และวิธีที่เราสื่อสารถึงกัน
อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนวิธีคิดมีอุปสรรคขัดขวางมากมาย ซึ่งรวมถึงการรับรู้และความเข้าใจ รวมทั้งการคิดลบของตัวเราเอง
คิดแบบผู้วิเศษ คิดแบบวีรบุรุษ
วิธีคิดเพื่อจะก้าวไปข้างหน้าเริ่มจากความคิดที่เต็มไปด้วยความเป็นไปได้ ซึ่งผู้แต่งเปรียบเทียบว่าเป็น "รถไฟสีฟ้า" (Blue Train) ความคิดแบบนี้คือการตั้งคำถามว่า "อาจเป็น" อะไรได้บ้าง ซึ่งตรงข้ามกับการถามว่า มัน "เป็น" อะไร อย่างไรก็ตาม สภาพแวดล้อมทางธุรกิจมักจะให้ความสนใจกับสิ่งที่ทำไม่ได้ และพยายามจะบอกว่า ทำไมความคิดใหม่ๆ ที่ถูกเสนอขึ้นมา จึงใช้การไม่ได้ ซึ่งผู้แต่งเรียกความคิดเช่นนี้ว่า "รถไฟสีแดง" (Red Train) ซึ่งเป็นความคิดที่ทำให้องค์กร เหือดแห้งจากความคิดและสิ่งใหม่ๆ ผลก็คือ ไร้ความเติบโต
ดังนั้น วิธีคิดที่จะทำให้เติบโตมี 2 ชนิดคือ วิธีคิดแบบ ผู้วิเศษและวิธีคิดแบบวีรบุรุษ เด็กๆ มักคิดอย่างผู้วิเศษโดยที่ พวกแกก็ไม่รู้ตัว เพราะเด็กๆ มักไม่ถูกถ่วงด้วยขอบเขตของความเป็นจริง อย่างเช่นในปี 1943 ลูกสาวตัวน้อยของ Edwin Land อยากจะเห็นรูปถ่ายที่เพิ่งถ่ายไปทันที แต่ในขณะนั้นเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้เลย แต่ Land กลับคิดว่า ทำไมไม่ทำให้ มันเป็นไปได้ล่ะ และนั่นก็คือกำเนิดของกล้องโพลารอยด์ เพราะ Land ใช้วิธีคิดแบบวีรบุรุษ เชื่อมั่นว่าเขาสามารถจะทำสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ให้เป็นไปได้ เรื่องของ Land ผู้ประดิษฐ์กล้องโพลารอยด์กับลูกสาว จึงเป็นตัวอย่างที่ดีที่แสดงให้เห็นถึงวิธีคิดทั้ง 2 แบบข้างต้น ซึ่งแสดงให้เห็นว่า สิ่งที่เราคิดจะส่งผลเปลี่ยน แปลงองค์กรได้อย่างไร และหน้าที่ของผู้บริหารคือ ส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมในการคิดขององค์กรและต้องกระตุ้นให้คน ในองค์กรกล้าทำผิดพลาด และคิดโดยไม่ต้องคำนึงถึง ความเป็นจริง เช่นเดียวกับวิธีการคิดของเด็กๆ นั่นเอง
ทุกหนแห่งคือจุดหมายปลายทาง
จุดหมายปลายทางของ "รถไฟสีฟ้า" อยู่ทุกหนแห่ง เพราะนี่คือการคิดถึงโอกาสและความเป็นไปได้ เมื่อ Bernard Marcus และ Arthur Blank ต้องตกงาน หลังจาก Handy Dan เครือข่ายร้านรับซ่อมแซมบ้านที่พวกเขาทำงานอยู่ ถูกขายให้แก่นักธุรกิจอื่น แทนที่จะมัวแต่โทษโชคชะตา ทั้งสองกลับเห็นว่านี่คือโอกาส ในเมื่อพวกเขามีความคิดดีๆ และความรู้เกี่ยวกับตลาด ซ่อมแซมและปรับปรุงบ้าน และนี่ก็คือที่มาของ Home Depot
ผู้แต่งชี้ว่า ยิ่งคุณสามารถมองเห็นโอกาสในวิกฤติ มากเท่าไร พลังในทางบวกของคุณก็จะยิ่งเพิ่มพูนขึ้น และยิ่งพลังในทางบวกเพิ่มมากขึ้นเท่าไร คุณก็จะยิ่งมองเห็นโอกาสมากขึ้น และนี่ก็คือพื้นฐานของวิธีคิดแบบก้าวหน้า และสาระสำคัญของรถไฟสีฟ้านั่นเอง ซึ่งต้องเริ่มด้วยการคิดถึงจุดหมายปลายทางที่คุณต้องการจะไปให้ถึง โดยไม่ต้องคำนึงหรือถูกถ่วงด้วยความเป็นจริง หรือความคิดลบ ผู้แต่งอธิบายว่า ด้วยการตั้งจุดหมายปลายทางที่คุณต้องการจะไปเอาไว้ในใจ และลงมือทำด้วยความตั้งใจ โดยมีจุดหมายนั้นอยู่ในใจเสมอ คุณจะสามารถจัดวางชีวิตของคุณไปสู่ความสำเร็จได้
ผู้แต่งยังให้ความสำคัญกับพลังของคำและภาษา คำที่ให้ความรู้สึกลบ อาจทำให้รถไฟสีฟ้าของคุณถึงกับตกรางได้ เพราะความตั้งใจของเราจะสะท้อนออกมาในภาษาที่เราใช้และสามารถทำให้สิ่งที่เป็นไปไม่ได้ กลายเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ แต่ในขณะเดียวกันก็สามารถสูบชีวิตและวิญญาณออกไปจากองค์กรของคุณ ก็ได้เช่นกัน ผู้แต่งยังให้ความสำคัญกับการวิจารณ์ว่า เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของความสำเร็จ แต่จะต้องกระทำโดยคำนึงถึงส่วนรวม
|
|
|
|