Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 



new releases
Manager 360 aStore






 
Better to Best
ผู้เขียน: David J. Dempsey
ผู้จัดพิมพ์: Miranda Publishing
จำนวนหน้า: 352
ราคา: $24.95
buy this book

ปรับปรุงการนำเสนอที่น่าเบื่อ

David J. Dempsey, JD ผู้แต่งซึ่งเป็นทนายความ แนะนำทักษะและเครื่องมือที่จะช่วยให้คุณนำเสนอได้ดีขึ้น สื่อสารได้ดีขึ้น สามารถใช้ทั้งวจนและอวจนะภาษา ในการสื่อสารได้อย่างชัดเจน และสามารถชักจูงใจผู้ฟังให้คล้อยตามได้ด้วยความเชื่อมั่นและกระตือรือร้น

ถ้าคุณเป็นคนกลัวการพูดต่อสาธารณะ ผู้แต่งแนะนำให้คุณยิ่งต้องหาโอกาสท/ี่จะพูดให้มากที่สุด เพื่อที่จะสร้างความเชื่อมั่นให้เกิดขึ้น ผู้แต่งชี้ว่า เป็นเรื่องธรรมดาที่คุณจะรู้สึกเป็นกังวล และกลัวการพูดต่อสาธารณะ แต่คุณรู้หรือไม่ว่า สิ่งที่คุณกลัวนั้น มักไม่เคยเป็นจริง และจริงๆ แล้ว คุณมักจะทำได้ดีกว่าที่คุณคิด

ผู้แต่งชี้ว่า อย่าลืมว่าผู้ฟังมักเห็นอกเห็นใจและเอาใจ ช่วยผู้พูดให้ประสบความสำเร็จเสมอและอย่าลืมว่าผู้ฟังไม่เคย ฟังสิ่งที่คุณจะพูดหรือจะนำเสนอมาก่อน เพราะฉะนั้นถ้าคุณจะ ลืมพูดบางอย่างไป พวกเขาก็ไม่มีทางจะรู้ ยกเว้นคุณจะบอก ออกมาเองและไม่มีนักพูดคนใดที่ไม่มีที่ติหรือไม่มีข้อบกพร่อง

แต่การที่ผู้แต่งแนะนำให้คุณหาโอกาสพูดต่อชุมชนให้ บ่อยที่สุด ไม่ได้หมายความว่า ไม่ให้เตรียมตัวก่อนการพูด ตรงข้าม คุณจะต้องเตรียมตัวให้เพียงพอทุกครั้ง ก่อนการพูด หรือการนำเสนอ

วิธีสู้กับการกลัวเวทีอีกอย่างคือ การพูดให้กำลังใจตัวเอง อย่าตัดกำลังใจตัวเองด้วยการนึกถึงแต่ความล้มเหลว จงพร่ำบอกกับตัวเองว่า คุณมีความเชื่อมั่น เพราะคุณเท่านั้น ที่รู้ในสิ่งที่คุณกำลังจะพูด ดีกว่าใครทุกคนที่อยู่ในห้องนั้น คุณเป็นผู้เชี่ยวชาญ และผู้ฟังจะต้องรู้สึกเช่นเดียวกัน การเตรียมตัวให้พร้อมทั้งกายและใจ เช่น การรู้จักผ่อนคลายตัวเอง การหายใจลึกๆ และหลีกเลี่ยงอาหารบางอย่างก่อนการพูด จะทำให้คุณเอาชนะความกลัวได้

ต่อไปนี้คือ เครื่องมือที่จะช่วยให้คุณนำเสนอได้ดีขึ้น

1. เรื่องเล่าส่วนตัว จะจับความสนใจของผู้ฟัง และเป็นที่จดจำ

2. ตัวอย่าง จะช่วยทำให้ผู้ฟังเข้าใจแนวคิดที่ซับซ้อนหรือเป็นนามธรรมได้ชัดเจน

3. อ้างอิงคำพูดของบุคคลที่มีชื่อเสียงหรือเป็นที่เคารพยกย่อง จะช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือให้แก่คุณ

4. การเปรียบเทียบ มี 2 อย่างคือ การเปรียบเหมือนจะช่วยเพิ่มน้ำหนักให้แก่ข้อมูลของคุณ ส่วนการเปรียบต่างจะต้องระวังเรื่องความชัดเจนและถูกต้อง

5. สถิติตัวเลข ต้องระวังอย่าให้ซับซ้อนเข้าใจยาก

รู้จักผู้ฟัง

ผู้แต่งแนะนำให้คุณวิเคราะห์ผู้ฟังล่วงหน้า ด้วยเครื่องมือช่วยคือแบบสอบถามก่อนการนำเสนอ การค้นข้อมูลในอินเทอร์เน็ต และการพูดคุยกับผู้ฟัง ข้อมูลเกี่ยวกับผู้ฟังนี้จะช่วยให้สามารถปรับเนื้อหาในการพูดหรือนำเสนอ ให้ตรงและเหมาะสมกับผู้ฟังมากขึ้น แต่ในขั้นนี้ผู้แต่งเตือนให้คุณระวังไม่ใช้ข้อมูลที่ได้มาในการล้อเลียนให้ผู้ฟังคนใดคนหนึ่งรู้สึกอับอายเป็นอันขาด

วิธีใช้ไมโครโฟน

ผู้แต่งแนะนำแม้กระทั่งการใช้เครื่องมือง่ายๆ อย่างเช่น ไมโครโฟน ซึ่งแม้จะเป็นอุปกรณ์ง่ายๆ ที่เรารู้จักกันดี แต่ถ้าหากคุณไม่คุ้นเคยกับการใช้มัน ก็ควรจะต้องฝึกซ้อมล่วงหน้า และไม่ควรจะเคาะไมโครโฟนเพื่อทดสอบเสียง รวมทั้งจะต้องระวังการเดินสะดุดสายที่ยาว ของไมโครโฟน เป็นต้น

คุณควรรู้จักอุปกรณ์เครื่องมือช่วยการนำเสนอทุกอย่าง รวมทั้งรู้ขนาดของห้อง เข้าใจการจัดวางภายในห้อง แน่ใจว่า ไม่มีการบังกันในหมู่ผู้ฟัง ใช้สีที่สดใส ใช้ตัวอักษร ที่อ่านง่าย รวมถึงการตรวจทานคำผิดในเอกสารประกอบ การนำเสนอ เป็นต้น ทั้งหมดนี้อาจจะดูเป็นคำแนะนำพื้นๆ แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่า สำคัญต่อการนำเสนอที่ราบรื่น

สุดท้าย ผู้แต่งยังได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการพูดโดยไม่ได้เตรียมตัวมาก่อน ซึ่งผู้แต่งชี้ว่า กรณีที่ต้องพูดโดยไม่ได้เตรียมตัว ให้ลืมไปเลยเรื่องที่จะพูดได้อย่างสมบูรณ์ไม่มีที่ติ โดยคุณควรจะแสดงความคิดเพียง 2-3 ประเด็นเท่านั้น แต่ต้องพูดด้วยความหนักแน่น กระชับ และสมเหตุสมผล โดยเริ่มต้นด้วยคำพูดเปิดง่ายๆ แล้วจึงพูดเพียง 2-3 ประเด็น และปิดท้ายด้วยการสรุปสั้นๆ อย่าลืมยืนตัวตรง หายใจลึกๆ ยิ้ม และหยุดสักเล็กน้อย ก่อนที่จะเริ่มพูด และสิ่งสำคัญคือ อย่าพูดเรื่อยเปื่อย



upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide



 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us