|
new releases
Manager 360 aStore
|
|
|
|
|
The Second Cycle
ผู้เขียน: Lars Kolind
ผู้จัดพิมพ์: Wharton School Publishing
จำนวนหน้า: 230
ราคา: $27.99
buy this book
|
|
|
|
เอาชนะความตกต่ำของบริษัท
"โรคหยิ่งผยอง" สามารถทำลายบริษัทได้ หลังจากที่บริษัทประสบความสำเร็จ เติบโต และสร้างผลกำไรติดต่อกันมานานหลายปี โรคนี้จะยิ่งกำเริบหนัก เมื่อบริษัทมีขนาดใหญ่โต ตั้งมานาน และประสบความสำเร็จมามากมาย ทั้งยังเกิดขึ้นได้กับบริษัทใดๆ ที่ประสบความสำเร็จ ไม่เว้นแม้กระทั่งบริษัทชั้นนำ
Lars Kolind ผู้แต่งเป็น CEO ของ Oticon บริษัทผู้นำด้านเครื่องช่วยฟัง และเคยได้รับรางวัล Man of the Year Award ของเดนมาร์กในปี 1996 จากผลงานการพลิกฟื้นบริษัท ที่กำลังตกต่ำหลังจากการเติบโตเต็มที่
Kolind แนะนำวิธีพลิกฟื้นบริษัทที่เติบโตเต็มที่แล้วให้สามารถหลีกเลี่ยงความอืด อุ้ยอ้ายและความตกต่ำ และสามารถกลับฟื้นขึ้นอีกครั้ง โดยกลับมาเป็นบริษัทที่มีความคล่องตัวและสร้างสรรค์ เหมือนเมื่อตอนที่บริษัทยังไม่เติบโตเต็มที่ ซึ่งเคยเป็นคุณสมบัติที่นำบริษัทไปสู่ความสำเร็จ
ผู้แต่งชี้ว่า ความสำเร็จที่งดงามมักตามมาด้วยความตกต่ำ ซึ่งเกิดขึ้นแล้วแม้แต่กับบริษัทชั้นนำอย่าง Upjohn, Digital Equipment Corp. และ MG-Rover ทั้งนี้เพราะวงจรชีวิตของบริษัทมักจะเริ่มต้นด้วยการต่อสู้ จากนั้นจะเข้าสู่ช่วงของการเติบโต และเจริญรุ่งเรือง แต่หลังจากนั้นจะตาม มาด้วยการหยุดเติบโต เมื่อเกิดแรงกดดันกับการบริหาร และ ถึงแม้หลังจากนั้นจะมีการเปลี่ยนทีมบริหารใหม่ ลดขนาดบริษัท ควบรวมหรือซื้อกิจการ แต่บริษัทก็อาจจะมีขนาดเล็กลงและอ่อนแอลง จนสุดท้ายอาจตายไปหรือถูกควบกิจการโดยบริษัท อื่น
อย่างไรก็ตาม ผู้แต่งชี้ว่า บริษัทสามารถสร้างวงจรชีวิตรอบที่สองได้ ซึ่งเป็นการทำลายช่วงขาลงของวงจรชีวิตรอบแรกของบริษัท ทำให้บริษัทเข้าสู่วงจรรอบที่สองแห่งความเจริญรุ่งเรือง โดยสิ่งที่จะช่วยรักษาวัฏจักรชีวิตรอบที่สอง ของบริษัทก็คือ นวัตกรรมและการเติบโต
องค์กรแห่งความร่วมมือ
ในการเข้าสู่วงจรชีวิตรอบใหม่ บริษัทจำเป็นต้อง มีกระบวนทัศน์ใหม่ เพื่อแหวกออกจากการเป็นองค์กรรูปแบบเดิมๆ และเข้าสู่การเป็น "องค์กรแห่งความร่วมมือ" ซึ่งมีองค์ประกอบพื้นฐาน 4 ประการคือ
1. เป็นองค์กรที่มี "ความหมาย" ซึ่งเป็นสิ่งที่มีคุณค่าเหนือกว่าการสร้างผลกำไรหรือการเป็นผู้นำตลาด
2. เป็นองค์กรที่มีความร่วมมือระหว่างผู้บริหารกับพนักงาน และไม่เห็นว่าผู้บริหารกับพนักงานเป็นขั้วตรงข้ามกัน
3. มีการจัดองค์กรแบบให้ความร่วมมือกัน ซึ่งหมายถึงการเป็นองค์กรที่มีแบบแผนน้อยกว่า และมีชีวิตชีวามากกว่า รวมทั้งอาจจะมีระเบียบน้อยกว่าองค์กรแบบดั้งเดิม
4. เป็นองค์กรที่ดำรงอยู่ได้เพราะคนที่มีค่านิยมร่วมกัน มากกว่าอยู่เพราะอำนาจและหน้าที่
ผู้แต่งชี้ว่า กระบวนทัศน์ใหม่นี้เป็นการบริหารที่มีพื้นฐานอยู่บน "สัญญาใจ" อันมีรากฐานอยู่ในคุณค่า และบรรทัดฐานที่ทุกคนยึดถือร่วมกัน และเป็นการบริหารที่ส่งเสริมความต่อเนื่อง ในขณะที่ในองค์กรแบบเก่า การบริหารจะมีพื้นฐานอยู่บนการใช้อำนาจ และไม่ให้ความสำคัญกับความต่อเนื่อง
นวัตกรรมและความรู้
องค์ประกอบทั้งสี่ข้างต้นคือพื้นฐานใหม่ของบริษัท ที่ส่งเสริมการคิดค้นนวัตกรรมและความรู้ใหม่ๆ ซึ่งจะเป็นกุญแจในการพลิกฟื้นบริษัทที่เติบโตเต็มที่ และกำลังเข้าสู่ช่วงขาลงของวงจรชีวิตบริษัท ให้กลับสามารถเอาชนะช่วงขาลงได้ เหมือนที่ผู้แต่งทำสำเร็จมาแล้วที่บริษัท Oticon
นอกจากนี้ผู้แต่งยังได้แนะนำเครื่องมือช่วยในการวิเคราะห์และประเมินปัญหาของบริษัท วิเคราะห์สภาพจิตใจของพนักงาน และค้นหาค่านิยมที่ทุกคนมีร่วมกัน รวมทั้งเครื่องมือช่วยสร้างความเป็นเอกฉันท์ การใช้ทรัพยากรบุคคลอย่างเหมาะสม การใช้ประโยชน์ สูงสุดจากนวัตกรรม และการเปลี่ยนจากองค์กรแบบดั้งเดิม ไปสู่องค์กรที่มีพฤติกรรมที่สร้างสรรค์และยืดหยุ่น
|
|
|
|