Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 



new releases
Manager 360 aStore






 
Mozart in the Jungle
ผู้เขียน: Blair Tindall
ผู้จัดพิมพ์: Grove Press
จำนวนหน้า: 318
ราคา: ฿538
buy this book

เคยแนะนำหนังสือว่าด้วยดนตรีคลาสสิกกับสุขภาพ Mozart Effect ไปเมื่อ 2 ปีก่อน และล่าสุดกำลังกลายเป็นหนังสือแปลขายดีในเมืองไทย แต่กระแสนี้กลับสวนทางเมื่อเจอกับหนังสือที่ "ผ่าซาก" เล่นนี้ ซึ่งเขียนโดยนักดนตรีคลาสสิกเอง

ให้มุมมองกันตรงกันข้ามทีเดียว

หากดูแค่ชื่อ ใครๆ ก็คงอดคิดไม่ได้ว่า ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้คงจะเอาเรื่องที่เคย "ขึ้นหิ้ง" มาปู้ยี่ปู้ยำกันเสียเละเทะ เพราะเรื่องพรรค์นี้หากไม่ใช่อเมริกัน ก็คงไม่มีใครกล้าหาญชาญชัยกระทำเป็นแน่และคนเป็นเรื่องได้อ่านเอามันกันอย่างเดียว

ความจริงแล้ว ไม่ใช่อย่างนั้น เนื้อสาระของหนังสือ เป็นเพียงแค่การเล่าผ่านชีวิตประวัติของตนเองในฐานะนักดนตรีที่วนเวียนอยู่ในโลกของวงการดนตรีคลาสสิกอเมริกัน ซึ่งถือว่าเป็น high-culture ในฐานะมืออาชีพ ที่ไม่ติดยึดกับกรอบอะไรให้เกะกะเหมือนคนที่ผ่านกระบวนการอบรมจากสังคมอื่นๆ ที่มีเครื่องร้อยรัดทางวัฒนธรรมและสังคมมากมาย จนต้องตริตรองในการแสดงออกเป็นพิเศษ

เรื่องสำส่อน เรื่องติดยา และเรื่องพฤติกรรมไต่บันไดชื่อเสียงที่ประหลาดในหนังสือเล่มนี้ แม้จะดูเป็นเรื่องน่าสนใจสำหรับคนวงนอก และเป็นเรื่องน่าอายสำหรับคนวงใน แต่ก็ไม่ใช่สาระสำคัญมากมายนัก และผู้เขียนเองก็ดูไม่เน้นมากมายอะไร แต่ต้องการแสดงให้เห็นว่า ช่วงการเปลี่ยนผ่านของชีวิตนั้น มีทั้งเรื่องดีและไม่ดีโผล่เข้ามาได้เสมอ

ที่สำคัญเป็นเครื่องเตือนสติให้พ่อแม่-ผู้ปกครองที่อยากให้ลูกหลานสนใจเล่นหรือเป็นนักดนตรีที่เด่นดังว่า วิถีชีวิตและสังคมมนุษย์นั้น มีสองด้านเสมอ ทั้งด้านมืด และด้านสว่าง

แม้ชื่อเรื่องจะดูแล้วชวนให้น่าหวาดเสียว ทำนองคาวโลกีย์ แต่เมื่อดูให้ลึกถึงเนื้อหาโดยรวมอย่างละเอียดแล้ว นี่ก็เป็นเรื่องอัตชีวประวัติธรรมดาของคนอเมริกันคนหนึ่งเท่านั้นเอง ไม่ได้มีอะไรเลวร้ายมากมาย เพียงแต่การเล่าแบบตรงไปตรงมา อาจจะทำให้เนื้อหาบางส่วน ดูทื่อไปหน่อย แต่ก็ติดดินและสัมผัสได้ง่าย

ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้เป็นนักดนตรีหญิงชื่อเสียงโด่งดังพอสมควรในแวดวงเพลงคลาสสิก และเดินผ่านประสบการณ์ที่โชกโชนของการทำงานทั่วโลก ซึ่งความโชกโชนนี้เองนำมาสู่เรื่องราวที่ปรากฏในหนังสือที่สะท้อนด้านมืดของวงการดนตรีคลาสสิคออกมาอย่างหมดเปลือก (แน่ละไม่ใช่ประสบการณ์ของผู้เขียนจะเป็นด้านมืดเสียทั้งหมด ด้านที่สดใสก็มีปรากฏให้เห็นมากมายเช่นกัน) ชนิดที่ทำให้ใครต่อใครหน้าชาไปตามๆ กัน

แกนของเรื่องที่ดูเด่นกว่า หัวเรื่อง ดูจะอยู่ที่การเปิดโปงว่า ดนตรีคลาสสิกนั้น เป็นวัฒนธรรมดัดจริตอย่างหนึ่งของคนอเมริกัน เพราะความเฟื่องฟูของมัน เกิดจากการที่เศรษฐีใหม่อเมริกันอยากจะทำตัวเป็นผุ้มีวัฒนธรรมแบบยุโรป แล้วก็หันมาทุ่มเทเงินทองสนับสนุนให้มีวงดนตรีและนักดนตรีคลาสสิกใหม่มากมาย ผลลัพธ์ก็คือ นักดนตรีคลาสสิก กลายเป็นคนที่มีค่าตัวแพง ทั้งที่ตลาดคนฟังคับแคบมาก ไม่เหมือนเพลงป…อป หรือแจ๊ส อันเป็นรากเหง้าของอเมริกัน

เมื่อมันไม่ได้เป็นวัฒนธรรมระดับรากฐาน นักดนตรีคลาสสิกอเมริกัน ก็เลยต้องมีวิถีชีวิตที่แตกต่างไปจากต้นแบบในยุโรปลิบลับ

ผู้เขียนใช้ตัวเองเป็นแกนในการเล่าเรื่อง เริ่มแต่วัยเด็ก จนถึงจุดสุดยอด ซึ่งต้องผ่านกระบวนการ "ขึ้นเตียง" กับคอนดักเตอร์ เพื่อให้ได้รับการบรรจุเข้าวงประจำต่อเนื่อง พร้อมกับความเคร่งเครียดในการทำงาน ที่ต้องผ่านช่วงอารมณ์ที่หลากหลาย ไม่ใช่ในฐานะของงานอันศักดิ์สิทธิ์ แต่เป็นงานอาชีพซ้ำซาก และผ่านช่วงดีร้าย จนกระทั่งตัดสินใจที่จะละวงการอาชีพ มาทำหนังสือพิมพ์ และทำงานดนตรีแบบพาร์ทไทม์ เพราะต้องการชีวิตที่สงบเงียบมากกว่าเดิม

การเล่าเรื่องอย่างเปิดเผย แต่ด้วยความรอบรู้ในเร่องดนตรีคลาสสิคของผู้เขียน ถือเป็นเสน่ห์ของหนังสือนี้ แม้ว่า เมื่ออ่านแล้ว จะก่อให้เกิดคำถามว่า พฤติกรรมสำส่อน และติดยาของนักดนตรีนั้น เกิดความแรงจูงใจ เพื่อเคี่ยวความคิดสร้างสรรค์ หรือเกิดจากสัญชาตญาณดิบที่ปิดไม่มิดของแต่ละคนที่เป็นมนุษย์กันแน่

จุดเด่นของผู้เขียนที่ตั้งชื่อแต่ละบทของเรื่องด้วยชื่อดนตรีดังๆ ทั้งดนตรีคลาสสิก หรือ บทละครเพลงซึ่งรู้จักกันไปทั่ว ทำให้หนังสือน่าอ่านไม่น้อย

ยิ่งกว่านั้น คนที่สนใจการเล่นดนตรีคลาสสิก ย่อมจะพึงพอใจมากที่ผู้เขียนสามารถอธิบายสเกลดนตรีที่เคยเล่นมาด้วยภาษีที่เรียบง่ายเหมือนปอกกล้วยเข้าปาก เหมาะสำหรับคนที่สนใจด้านนี้โดยตรงเพื่อการศึกษา

ส่วนที่โดดเด่นของหนังสือมากที่สุด กลับอยู่ที่ท่อนส่งท้าย ซึ่งแสดงให้เห็นวุฒิภาวะที่สุกงอมของคนที่ผ่านร้อนผ่านหนาวของชีวิตมาอย่างหลากหลาย และยอมรับมันอย่างสงบ ไม่กระวนกระวาย ทำให้หนังสือเล่มนี้ได้อย่างสบายใจว่า ผู้เขียนจะไม่พาไปสู่ทัศนคติมองโลกในแง่ร้ายอย่างแน่นอน

แต่ที่สำคัญกว่านั้น มันช่วยให้เราได้ข้อสรุปเพิ่มเติมว่า ดนตรีคลาสสิกนั้นไม่ใช่ดนตรีขั้นสูงชนิดต้องปีนกระได และคนเล่นดนตรีคลาสสิกก็ไม่ใช่เทวดาหรือนางฟ้าที่ไหน นอกจากนั้น ดนตรีอื่นๆ ก็ไม่อาจถือเป็นดนตรีขั้นต่ำเช่นกัน

ดนตรีแต่ละประเภท ย่อมมีที่มาที่ไปของตนเอง แม้กระทั่งดนตรีอย่างแทงโก ที่ถือกำเนิดมาจากซ่องโสเภณีในบัวโนส แอเรส ก็ตาม

อ่านหนังสือเล่มนี้อาจจะไม่ทำให้บางคนหันกลับไปเล่นดนตรีคลาสสิกอีก ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องแปลก แต่น่าเสียดาย

รายละเอียดในหนังสือเล่มนี้

Part one. First Movement : Appassionata Sonata

Chapter 1 The Magic Flute ว่าด้วยประสบ การณ์เริ่มเรียนดนตรีในวัยเด็ก ซึ่งให้ประสบการณ์กับเด็กหญิงผิวขาวตัวเล็ก กับเพื่อนร่วมชั้นเรียนที่เป็นเด็กขายนิโกรตัวดำว่า ดนตรีนั้นแม้จะเป็นสากลและสวยงาม แต่คนเรียนและเล่นดนตรีนั้น มีการแบ่งชนชั้นชัดเจน เด็กชายนิโกรที่มีพรสวรรค์แต่ยากจน ต้องกระเด็นจากห้องเรียนไปเล่นตามข้างถนน ขณะเด็กหญงผิวขาวฝีมือธรรมดายืนหยัดอยู่ต่อไปได้ และยกระดับฝีมือตัวเอง หากอดทนกับการฝึกหนักได้

Chapter 2 Cunning Little Vixen ว่าด้วยการเรียนรู้โลกที่กว้างขึ้นของนักเรียนดนตรีวัยรุ่นที่พบปะกับความคิดแปลกใหม่ และผู้คนแปลกใหม่ ซึ่งเสริมโลกทัศน์ว่า โลกของความก้าวหน้านั้น ต้องการความแตกต่าง ไม่ใช่ความเหมือน และความชำนาญ ซึ่งไม่เพียงพอ

Chapter 3 The Prodigy เล่าเรื่องชีวิตของเพื่อนชายร่วมห้องที่มีปัญหาสุขภาพเพราะรโรคหัวใจ แต่เอาชนะอุปสรรคของชีวิต และกลายเป็นอัจฉริยะวัยเด็กของวงการดนตรีขึ้นมา ด้วยความเข้าใจของแม่ ผู้ร่ำรวยที่ทุ่มเทความรักให้จนหมดหัวใจ จนประสบความสำเร็จเกินอายุ

Chapter 4 New World Symphony ว่าด้วยกระแสเห่อดนตรีคลาสสิคที่ลามสะพัดในสังคมอเมริกันยุคคริสต์ทศวรรษ 1950 เป็นต้นทำ ทำลายกำแพงเก่าที่ว่า ดนตรีคลาสสิกคือ ดนตรียุโรป ลงไป และทำให้เศรษฐีใหม่อเมริกัน ที่อยากแสดงออกว่าตนมี "หูสูง" เริ่มเห่ออุปถัมภ์วงดนตรีคลาสสิก ทำให้จำนวนนักดนตรีเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

Chapter 5 Apollo's Flophouse ว่าด้วยประสบการณ์เริ่มแรกเมื่อผู้เขียนย้ายไปเรียนดนตรีในนิวยอร์ก ด้วยการเช่าห้องเช่าถูกๆ เป็นการเริ่มต้นประสบการณ์ที่แปลกใหม่ ในฐานะนักเรียนดนตรียากจนผู้มีความฝันอันยิ่งใหญ่ เป็นสภาพขัดแย้งในตัวเองที่ไม่เคยพานพบมาก่อน

Chapter 6 Elixir of Love ว่าด้วยความยากลำบากของการฝึกฝนอย่างสาหัสของนักเรียนดนตรีคลาสสิคในนิวยอร์ก ที่ต้องแข่งขันในการทำความเข้าใจกับดนตรีอันซับซ้อนของสุดยอดคีตกวีระดับโลกในอดีต ด้วยประสบการณ์ที่แตกต่างกัน ทั้งสำเร็จและล้มเหลว

Chapter 7 The Rite of Spring ประสบการณ์ไม่คาดฝัน เมื่อผู้เขียนถูกเรียกตัวเข้าไปร่วมวง นิวยอร์ก ฟิลฮาร์โมนิคอันยิ่งใหญ่ด้วยอายุเพียงแค่ 22 ปี เมื่อนักดนตรีคนหนึ่งที่เคยประจำป่วยลงกะทันหัน ปิดฉากไม่เป็นนักเรียนดนตรีฝึกหัดอีกต่อไป

Chapter 8 The Midsummer Night's Dream การเริ่มต้นชีวิตในฐานะนักดนตรีมืออาชีพที่เป็นมือสำรอง ที่ต้องปรับสภาพย้ายวงไปเรื่อยๆ ตามที่คนรู้จักเรียกหากันไป พร้อมทั้งเรียนรู้ประสบการณ์ใหม่ๆ ในการปรับตัวให้ยืดหยุ่นเสมอ

Chapter 9 The Damnation of Faust ชีวิตนักดนตรีที่ผกผันเข้าสู่วังวนของยาเสพติด เพราะเชื่อว่ามันช่วยเพิ่มจินตนาการในการถึงมากขึ้น มีการจับกลุ่มกันสเพยาขนานต่างๆ กันอย่างโจ๋งครึ่ม หลายคนเสียชีวิต และประสบหายนะเมื่อกลายเป็นทาสยาเสพติดจนถอนตัวไม่ขึ้น บางคนที่ต้องการสลัดทิ้งยาเสพติด ต้องทิ้งวงการดนตรีที่แสนรักไปชั่วชีวิต

Part two : Second Movement : Rhapsody in Blue

Chapter 10 West Side Story ว่าด้วยประสบการณ์เริ่มแรกของผู้เขียน ที่เอาร่างและความสวยงามเข้าแลก เพื่อต้องการเข้าร่วมวงกับนักดนตรีเพื่อนเก่าที่กลายเป็นคนโด่งดัง เป็นการก้าวทางลัดในการเข้าสู่แวดวงคนดังเร็ว กว่าปกติกว่าคนรุ่นเดียวกัน พ้นจากสภาพของนักดนตรีสำรอง

Chapter 11 Mozart in the Jungle ประสบการณ์จากการตระเวนร่วมทัวร์คอนเสิร์ตไปในละตินอมเริกา พร้อมกับเห็นความอลหม่านและชีวิตที่ลุ่มๆ ดอนๆ ของนักดนตรี ทำให้ผู้เขียนตัดสินใจว่า จะต้องยิ่งยกระดับตัวเองเพื่อสร้างความมั่นคงในอาชีพให้ได้ ไม่ว่าจะด้วยหนทางใด

Chapter 12 Twilight of Gods การอุปถัมภ์ มากมายของเศรษฐีใหม่ ทำให้ทศวรรษ 1960 เป็นยุคทองที่นักดนตรีคลาสสิกอเมริกันสามารถสร้างความร่ำรวยขึ้นมาได้ แม้ว่าทางวงดนตรีจะขาดทุนย่อยยับกับค่าตัวนักดนตรีที่แพงลิ่ว และความสนใจของคนในสังคมกับดนตรีคลาสสิกเสื่อมลง แต่นักดนตรีก็ยังคงยืนกรานว่า ค่าตัวจะไม่มีการลดด้วยความหยิ่งผยองเพราะเชื่อว่า สังคมไม่สามารถลดค่าศิลปะอันศักดิ์สิทธิ์ได้

Chapter 13 Danse Macabre วิกฤติของชีวิตเมื่อย่างเข้าสู่ช่วงกลางของอาชีพ เพราะความวับสนเข้ามาเยือนว่า หลังจากความสำเร็จที่แน่นอนแล้ว ชีวิตจากนี้ไป จะเป็นอย่างไร วิกฤตินี้เกิดขึ้นพร้อมกับชู้รักนักดนตรีคนสำคัญป่วยหนักเข้าขั้นโคม่า

Chapter 14 Unfinished Symphony เมื่อชู้รักเสียชีวิตผู้เขียนตัดสินใจเริ่มต้นอาชีพนักดนตรีใหม่ด้วยการแสดงเดี่ยว ในทำนอง "ฉันก็ทำได้" ซึ่งเป็นเส้นทางใหม่ที่สดใสกว่าเดิม และท้าท่ายกว่าเดิมด้วย ซึ่งทำให้ต้องใช้ยาระงับอาการตื่นเต้นมากกว่าเดิมเช่นกัน สำหรับการแสดงสดแต่ละครั้ง ซึ่งปรากฏว่าประสบความสำเร็จล้นหลามเกินคาด

Chapter 15 The Pits การทดสอบครั้งใหม่ของผู้เขียน เมื่อนักดนตรีคลาสสิคย่างเท้าสู่แวดวงของละครเพลง ซึ่งมีท่วงทำนองกระแสนิยมร่วมสมัย แม้จะไม่สูญเสียความนับถือในเรื่องฝีมือแต่ก็เป็นการสูญเสียจิตวิญญาณที่มีความหมายอย่างยิ่ง

Chapter 16 Beggar's Opera ว่าด้วยการปรับวิธีการนำเสนอของวงดนตรีและนักดนตรีคลาสสิก เพื่อหาลูกค้าใหม่เป็นคนอายุน้อยลงของยุคทศวรรษ 1990 ในขณะที่ความสัมพันธ์ของนักดนตรีในวง ก็เริ่มมีลักษณะเปลี่ยนไป เพราะนักดนตรีรุ่นใหม่ที่เข้ามามีฝีมือถดถอยลงโดยเฉลี่ยเมื่อเทียบกับรุ่นก่อนๆ

Chapter 17 The Age of Anxiety การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีในยุคปลายทศวรรษ 1990 ทำให้ฐานะของนักดนตรีคลาสสิคเริ่มสับสน เพราะธุรกิจคาราโอเกะ หรืออินเทอร์เน็ต เข้ามาทำให้นักดนตรีอยู่ในสถานการณ์ยากลำบาก ผู้เขียนหาทางออกด้วยการมั่วเซ็กซ์กับนักดนตรีมากหน้า เพื่อระบายความเครียดนี้พร้อมกับคิดว่าจะหาทางเปลี่ยนไปทำอาชีพอื่นๆ เพื่อหลบหนีสถานการณ์ตกต่ำทางจิตสำนึก

Part three. Third Movement : Symphonic Metamorphoses

Chapter 18 Airlift from Saigon ว่าด้วยช่วงเวลาค้นหาความหมายของการเริ่มต้นใหม่ในชีวิตของนักดนตรี ระหว่างการหาทางออกจากอาชีพอื่นกับการเป็นนักดนตรีต่อไป ท้ายสุดก็ได้ค้นพบทางออกที่เหมาะสมกับตัวเอง พร้อมกับจิตสำนึกใหม่ และความหวังใหม่ในฐานะนักดนตรีคลาสสิกตามเดิม แต่บนเส้นทางใหม่

Chapter 19 Smoke and Mirrors ห้วงเวลาของการอำลา เวทีแสดงดนตรีในละครเพลงที่บรอดเวย์ เพื่อเข้าสู่เส้นทางใหม่ เป็นทั้งนักเรียนมหาวิทยาลัยในวัยกลางคน และเป็นนักดนตรีที่ไม่เต็มเวลา

Chapter 20 Les Miserables การทดสอบชีวิตใหม่ และแบบทดสอบความรู้และจิตวิทยา ซึ่งทำให้ผู้เขียนรู้จักตนเองอย่างชัดเจนมากขึ้น พร้อมกับเชื่อคำแนะนำของเจ้าของแบบทดสอบที่ว่า ควรจะยึดอาชีพนักดนตรีต่อไป ถ้าหากว่า มันยังให้ความสุขในชีวิตดีกว่าอาชีพอื่นๆ

Chapter 21 The Medieval Baebe การผันตัวเองเข้าสู่วงดนตรีที่เล่นดนตรีประกอบภาพยนตร์ในฮอลลีวูด ได้รู้จักกับนักดนตรีหลากหลายประเภทมากยิ่งขึ้น พร้อมกับปรับเปลี่ยนวิธีการเล่นเสียใหม่เพื่อแสดงออกให้สอดคล้องกับเงื่อนไขอื่นในองค์ประกอบทางศิลปะ เพื่อชดเชยกับการที่บริษัทเพลงย้ายการอัดเพลงใหม่ไปยังยุโรปที่มีต้นทุนต่ำกว่า

Chapter 22 Music of the Heart การตัดสินใจหลังจบปริญญาโททิ้งงานประจำเล่นดนตรีที่มีเงินเดือนสูง เพื่อย้ายออกจากนิวยอร์กมาอยู่ในแคลิฟอร์เนีย เพื่อทำงานเป็นผู้สื่อข่าวและคอลัมนิสต์ทางด้านศิลปะในนิตยสารเล็ก เพื่อใช้ชีวิตอย่างสงบเงียบ และอยู่กับดนตรีในฐานะมือสมัครเล่นที่ไม่ต้องเคร่งเครียดที่จะต้องปรากฏตัวต่อสาธารณะบ่อยครั้งอีกต่อไป

Encore บทส่งท้ายซึ่งถือเป็นการวิเคราะห์ทิศทางใหม่ของวงการดนตรีคลาสสิกอเมริกัน ซึ่งปัจจุบัน ผ่านยุคทองไปแล้ว แต่มีการปรับตัวกลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมกระแสหลักที่มีคนรุ่นใหม่เข้ามาไม่ขาดระยะ แม้จะไม่ฟูเฟื่องเหมือนเดิม แต่ก็มีสาระและจับต้องได้มากขึ้น พร้อมกับคำถามทิ้งท้ายว่า ทำไมจึงยังมีคนอยากเข้ามาสู่วงการดนตรีคลาสสิกไม่ขาดสาย?



upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide



 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us