|
![](/img/mgrm/space.gif)
new releases
Manager 360 aStore
|
|
|
![](/img/mgrm/space.gif)
![](/img/mgrm/space.gif) |
![](/vaf/book/681.jpg) |
The Eye for Innovation
ผู้เขียน: Robert M. Price
ผู้จัดพิมพ์: Yale University Press
จำนวนหน้า: 329
ราคา: $30.00
buy this book
|
![](/img/mgrm/space.gif) |
|
![](/img/mgrm/corner_book02.gif) |
บริหารองค์กรอย่างสร้างสรรค์และมีนวัตกรรม
Robert M. Price CEO และประธานบริษัท Control Data ซึ่งเป็นบริษัทที่เคยมีชื่อเสียงอย่างมากในด้านความคิดสร้างสรรค์ และเป็นบริษัทหนึ่งที่มีส่วนร่วมกำหนดนิยามการปฏิวัติอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ นอกจากนี้ยังเป็นบริษัทที่ได้ชื่อว่ายอดเยี่ยมในด้านเทคโนโลยีดิจิตอล การบริหารจัดการ ความสัมพันธ์ระหว่างพนักงานและชุมชน และการนำเทคนิคทางธุรกิจ ผลิตภัณฑ์และบริการมาใช้อย่างสร้างสรรค์และมีนวัตกรรม Price บริหารบริษัทนี้มาเกือบ 30 ปี ในขณะที่ตัวเขาก็เป็นผู้บุกเบิกทางด้านเทคโนโลยี และเป็นผู้วางหลักการในการสร้างสรรค์และสนับสนุนนวัตกรรมมาถึง 40 ปี
Price รู้ดีว่า เป็นไปไม่ได้ที่บริษัทของเขาจะเจริญรุ่งเรืองโดยปราศจากความคิดสร้างสรรค์ ดังบริษัทของเขาจึงให้ค่าอย่างสูงต่ออิสระในการคิดและการลงมือทำ นวัตกรรม จึงเป็นทั้งวิธีคิดและขั้นตอนในการทำงานใน Control Data
เทคโนโลยีคือ know-how
ผู้แต่งชี้ว่า เทคโนโลยีมักถูกเข้าใจผิดๆ ทำให้คนจำนวนมากหลีกเลี่ยงที่จะใช้มันเพราะกลัวความยุ่งยากซับซ้อนของมัน แต่ Price ชี้ว่า เทคโนโลยีก็เป็นเพียง know-how อย่างหนึ่ง ที่ใช้เพียงหลักการพื้นๆ ทางด้านวิทยาศาสตร์ และนำไปใช้กับผลิตภัณฑ์ กระบวนการทำงานและบริการที่มีอยู่แล้ว เพื่อหาวิธีการแก้ไขให้แก่ปัญหาใดปัญหาหนึ่ง
นวัตกรรมก็เช่นเดียวกัน ไม่ได้เป็นอะไรมากไปกว่าการหาวิธีการแก้ปัญหาใดปัญหาหนึ่ง Price ชี้ว่า การจะบริหารดูแลบริษัทให้สามารถสร้างสรรค์นวัตกรรม คุณจะต้องเชื่อในหลักการ 7 ข้อต่อไปนี้
1. นวัตกรรมเป็นพรแสวง ไม่ใช่พรสวรรค์
2. กลยุทธ์คือการเดินทางอย่างเป็นขั้นเป็นตอนไปสู่วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ และแต่ละขั้นตอนจะเกี่ยวข้องกับการสร้างสรรค์นวัตกรรม ทั้งในด้านกระบวนการทำงาน ผลิตภัณฑ์และตลาดเป้าหมาย
3. กลยุทธ์จะต้องพัฒนาอย่างสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี และธรรมชาติที่เปลี่ยนแปลงไปของโลกในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกลยุทธ์นั้น
4. เทคโนโลยีคือเพื่อนที่ดีที่สุดของผู้บริหารที่ให้ความสำคัญกับกลยุทธ์
5. การร่วมมือโดยเฉพาะการร่วมมือทางด้านเทคโนโลยี เป็นเครื่องมือของกลยุทธ์
6. ปัญหาคือสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้และอาจลุกลามเป็นความหายนะ แต่ผู้นำที่มีนวัตกรรมสามารถจะใช้สถานการณ์สร้างวีรบุรุษ กระตุ้นให้คนเกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางบวก
7. การร่วมมือกันระหว่างภาคเอกชนกับภาครัฐเป็นสิ่งที่สำคัญแต่มักถูกมองข้าม
ผู้แต่งชี้ว่า นวัตกรรมควรจะมีอยู่ในทุกองค์ประกอบของโครงสร้างพื้นฐานของบริษัท อันได้แก่ ค่านิยมที่บริษัทยึดถือนโยบายทรัพยากรมนุษย์ ค่าตอบแทนและสวัสดิการ และบรรษัทภิบาลของผู้บริหาร และจะต้องสอดคล้องกับกลยุทธ์หรือยุทธศาสตร์ของบริษัทด้วย
กลยุทธ์คือวิธี
กลยุทธ์คือวิธีการที่จะช่วยให้นวัตกรรมนั้นๆ ประสบความสำเร็จ ผู้แต่งชี้ว่า กลยุทธ์เป็นเพียงขั้นตอนการแก้ปัญหาที่สอดคล้องกับสามัญสำนึก เพื่อไปให้ถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยใช้ทรัพยากรชุดหนึ่งที่ได้กำหนดไว้ กลยุทธ์ไม่ได้เป็นอะไรมากไปกว่าการเดินทางไปทีละก้าวๆ ของการนำนวัตกรรมมาใช้ ทั้งในด้านกระบวนการทำงานผลิตภัณฑ์ และตลาดเป้าหมาย กลยุทธ์จะต้องพัฒนาอย่างสอดคล้องไปกับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี และธรรมชาติที่เปลี่ยนแปลงไปของโลก ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกลยุทธ์นั้นๆ
กลยุทธ์ทุกกลยุทธ์จะเกี่ยวข้องกับการเลือกข้อใดข้อหนึ่งใน 3 ข้อนี้เสมอ สร้างด้วยตนเอง ซื้อ หรือร่วมมือ ผู้แต่งอธิบายด้วยว่าการเติบโตด้วยตนเอง การซื้อกิจการ และการร่วมมือกับพันธมิตรในเชิงกลยุทธ์ จะช่วยเพิ่มความสัมฤทธิผลของบริษัทได้อย่างไร
|
![](/img/mgrm/divition_menu_below.gif) |
|
|