Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 



new releases
Manager 360 aStore






 
The Travels of a T-Shirt in the Global Economy
ผู้เขียน: Pietra Rivoli
ผู้จัดพิมพ์: John Wiley & Sons
จำนวนหน้า: 254
ราคา: $29.95
buy this book

การตลาด การเมือง และอิทธิพลเบื้องหลังโลกาภิวัตน์

Pietra Rivoli ผู้แต่งซึ่งเป็นศาสตราจารย์ด้านธุรกิจ สามารถอธิบายเรื่องที่ซับซ้อนและเข้าใจยากอย่างโลกาภิวัตน์และการค้าโลก โดยใช้เพียงเสื้อยืดราคา 6 ดอลลาร์ของเธอ ซึ่งเป็นผลผลิตของโลกาภิวัตน์และการค้าโลก เป็นสื่อในการเปิดเผยให้เห็นถึงการเมือง และอิทธิพลที่อยู่เบื้องหลังโลกาภิวัตน์

เริ่มจากไร่ฝ้ายใน West Texas เสื้อยืดของ Rivoli เริ่มมีชีวิต ขึ้นที่โรงงานในจีน ก่อนจะถูกส่งกลับไปขายที่สหรัฐฯ และไปจบลง ที่ร้านขายเสื้อมือสองในแอฟริกา ตลอดเส้นทางการเดินทางของเสื้อยืดราคา 6 ดอลลาร์นี้ Rivoli ได้พบเห็นทั้งผู้สนับสนุนและผู้ต่อต้านโลกาภิวัตน์ ซึ่งเธอได้ตั้งข้อสังเกตว่า ความหมายของโลกาภิวัตน์ที่ทั้งสองฝ่ายต่างพยายามสื่อต่อสาธารณชน ได้สร้าง ความเข้าใจเกี่ยวกับโลกาภิวัตน์ ที่ตื้นเขินและคับแคบเกินไปหรือไม่

ความซับซ้อนของโลกาภิวัตน์

Rivoli ใช้เวลาหลายปีในการเดินทางนับพันๆ ไมล์ไปใน 3 ทวีป เพื่อต้องการพิสูจน์คำกล่าวหาของฝ่ายต่อต้านโลกาภิวัตน์ ที่ว่า โลกาภิวัตน์ทำให้เด็กหญิงในอินเดียต้องถูกบังคับให้ผลิตเสื้อยืด ราคาถูกให้แก่ผู้บริโภคชาวอเมริกัน การเดินทางย้อนรอยเส้นทาง การผลิตเสื้อยืดของเธอ ซึ่งเป็นผลผลิตของโลกาภิวัตน์ ทำให้ผู้แต่ง ได้พบเห็นคนมากมาย และได้เห็นการเมืองและการตลาด ที่อยู่เบื้องหลังการผลิตเสื้อยืด รวมทั้งค้นพบเรื่องราวที่ซับซ้อนของโลกาภิวัตน์

Rivoli ค้นพบว่า แม้ชีวิตของเสื้อยืดตัวนั้นจะได้รับอิทธิพล จากการแข่งขันในตลาดโลก แต่กลับน้อยกว่าอิทธิพลที่มาจากการเมือง ประวัติศาสตร์ และสารพัดกลวิธีในการพยายามหลีกเลี่ยง ตลาด เธอกล่าวว่า "ผู้ชนะ" ในหลายๆ ขั้นตอนที่เกี่ยวข้องกับเสื้อยืดของเธอ หาได้เชี่ยวชาญหรือเก่งกาจในด้านการแข่งขันในตลาด หากแต่เก่งกาจในด้านการหลบเลี่ยงตลาด ซึ่งผลของการพยายามหลบเลี่ยงตลาดนี้ อาจสร้างความเสียหายให้แก่คนในประเทศยากจน มากกว่าการแข่งขันในตลาดด้วยซ้ำ

ผู้แต่งยังพบว่า โลกาภิวัตน์อาจช่วยเสริมสร้างความมั่งคั่ง ในบางแห่ง แต่ขณะเดียวกัน กลับสร้างกับดักที่ "ไม่อาจเอาชนะ" ได้ในที่อื่นๆ ซึ่งเกิดขึ้นจากความไม่สมดุลของอำนาจ และการใช้อิทธิพลที่มีบ่อเกิดมาจากกลไกการเมืองและการตลาด ที่ทำหน้าที่อย่างบกพร่อง

โลกาภิวัตน์ของเสื้อยืด

หลังจากที่ Rivoli ซื้อเสื้อยืดราคา 6 ดอลลาร์จากร้านในฟลอริดา และเดินทางกลับกรุงวอชิงตัน เธอได้เดินทางไปตามป้ายที่ติดอยู่บนเสื้อยืดซึ่งระบุชื่อ Sherry Manufacturing Co. ตั้งอยู่ในไมอามี ซึ่งเป็นหนึ่งในบริษัทสกรีนเสื้อยืดรายใหญ่ ที่สุดในสหรัฐฯ และได้พบว่า เสื้อยืดของเธอเป็นหนึ่งในเสื้อยืด 25 ล้านตัว ที่ได้รับอนุญาตให้นำเข้าจากจีนเข้าไปยังสหรัฐฯ ตามระบบโควตาของสหรัฐฯ ในปี 1998 จากนั้น เธอได้ค้นพบ ต่อไปว่า ฝ้ายที่ใช้ทำเสื้อยืดของเธอนั้น ถูกนำเข้าไปยังนครเซี่ยงไฮ้ของจีนจากเมือง Smyer ในเทกซัส

ในขณะเดียวกันนั้น ผู้แต่งพบด้วยว่า เหตุใดสหรัฐฯ จึง สามารถครองความเป็นเจ้าในอุตสาหกรรมฝ้ายของโลกมาได้ถึง 200 ปีแล้ว และได้รู้เรื่องเงินอุดหนุนที่รัฐบาลสหรัฐฯ จ่ายให้แก่เกษตรกรผู้ปลูกฝ้าย รวมทั้งได้เห็นจิตวิญญาณผู้ประกอบการอันน่าทึ่ง ที่มีอยู่ในตัวเกษตรกรผู้ปลูกฝ้ายชาวอเมริกัน ซึ่งขยันคิดค้นสร้างสรรค์และปรับปรุงวิธีการผลิต การตลาด และเทคโนโลยีใหม่ๆ รวมไปถึงรูปแบบการจัดองค์กรใหม่ๆ อยู่ตลอด เวลา เพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของซัปพลายและดีมานด์ ในตลาดโลก ซึ่งผู้แต่งชี้ว่า ประเทศยากจนในโลกดูเหมือนจะแทบไม่มีวันที่จะพัฒนาตามทันประสิทธิภาพการผลิต ที่มีอยู่ในทุกองค์ประกอบของระบบการเกษตรของสหรัฐฯ

เมื่อฝ้ายจากเทกซัสไปถึงเซี่ยงไฮ้ ก็ถูกปั่นเป็นเส้นด้าย และทอเป็นผืนผ้า ก่อนจะถูกนำไปตัดเป็นชิ้น และเย็บเป็นเสื้อยืด และติดป้าย "Made in China" ก่อนที่จะถูกส่งกลับไปขายที่สหรัฐฯ

สุดท้าย เสื้อยืดของเธอไปจบลงที่หมู่บ้านเล็กๆ แห่งหนึ่ง ในแอฟริกา ในร้านขายเสื้อมือสอง หรือ mitumba ซึ่งหมายถึง เสื้อผ้าที่ทิ้งแล้วของชาวอเมริกันและชาวยุโรป แต่กลายเป็นเสื้อ ที่เด็กและผู้ชายเกือบทุกคนในประเทศอย่าง Tanzania ชอบสวมใส่ นับว่าโลกาภิวัตน์ที่แอฟริกาจึงมีพ่อค้าร้านเสื้อผ้าใช้แล้ว เป็นผู้มีบทบาทสำคัญแทนบริษัทข้ามชาติ



upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide



 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us