Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 



new releases
Manager 360 aStore






 
Fooled by Randomness
ผู้เขียน: Nassim Nicholas Taleb
ผู้จัดพิมพ์: Random House
จำนวนหน้า: 316
ราคา: ฿610
buy this book

ความสำคัญของวิชาคณิตศาสตร์ และทฤษฎีเกมในวงการเงิน เพิ่มทวีความเข้มข้นมากขึ้นเรื่อยๆ จึงไม่น่าประหลาดใจที่ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้ ชาวอเมริกันเชื้อสายอาหรับจากเลบานอน ที่มีปูมหลังเรียนคณิตศาสตร์ จะกลายเป็นผู้จัดการกองทุนรวมในบริษัทจัดการกองทุน (บลจ.) ระดับหัวแถวของอเมริกาที่เรียกว่า เฮดจ์ ฟันด์ (ชื่อบอกว่าเป็นกองทุนคุ้มครองความเสี่ยง แต่พฤติกรรมจริงคือ เล่นกับความเสี่ยงมากกว่าการลงทุนอื่นๆ) และใช้ประสบการณ์จากงานอาชีพ ที่ประสบความสำเร็จแล้วถ่ายทอดประสบการณ์ยาวนานของเขาออกมาเป็นหนังสือ

ที่น่าสนใจก็คือ เขาไม่ได้พูดถึงสูตรทางคณิตศาสตร์หรือทฤษฎี เกมที่เป็นยาขมสำหรับคนทั่วไป แต่กลับพูดถึงความสำคัญหรือบทบาท ของการสุ่มตัวอย่างที่มีต่อชีวิตธุรกิจและวิถีประจำวันของผู้คนร่วมสมัยได้อย่างมีอรรถรสทีเดียว

หนังสือเล่มนี้บอกให้รู้ว่า ที่ว่าคนเก่งๆ และประสบความสำเร็จ ในการเก็งกำไรจากตลาดหุ้น ตลาดเงิน ตลอดจนในบ่อนการพนันนั้น ล้วนไม่ได้อาศัยความ "เก่ง" อย่างเดียวตามที่อ้างๆ กัน (ไม่ว่าจะพยายามเอ่ยอ้างเรื่องแผนธุรกิจ การบริหารความเสี่ยง การสร้าง KPI หรือกระทั่งการทำ SWOT ที่ทฤษฎีบริหารทั้งหลายพยายามเน้นเป็นอย่างมาก) แต่ต้องพึ่งพาความ "เฮง" ด้วยเสมอ

ร้ายกว่านั้น เขาบอกอีกว่า การฝึกทักษะในเรื่องความเฮงนั้น เป็นไปได้ด้วย

ในเชิงปรัชญา ผู้เขียนบอกว่าเขาได้รับอิทธิพลของ คาร์ล ปอปเปอร์ (นักปรัชญาชาวออสเตรียผู้ต่อต้านคาร์ล มาร์กซ์ และเผด็จการทุกรูปแบบ) เจ้าของทฤษฎีเรื่อง "สังคมเปิด" ที่โด่งดัง โดย เฉพาะการพิสูจน์ผิด (falsification) ซึ่งเป็นการทวนกระแสแนวคิดเรื่องพิสูจน์ถูก (verification) ซึ่งนักปรัชญาวิทยาศาสตร์ตะวันตกเชื่อถือกันมายาวนาน

เขายืนยันว่า อดีตไม่สามารถบอกอนาคตได้ โดยเฉพาะการใช้สัญญาณหรือข้อมูลในอดีต (จากการรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณเพื่อหาข้อสรุปเชิงอุปนัยสร้างแนวโน้มในอนาคต) เพื่อเป็นดัชนีบอกอนาคตในการเก็งกำไรในตลาดเงินนั้น ทำให้เกิดมายาคติแบบ "หงส์ดำ" (black swan problem) ที่ผิดพลาด (ในการตัดสินใจเพื่อเก็งกำไรเสมอมา ซึ่งในทางวิชาการนักการเงินใช้ศัพท์ว่า false positives approach (หมายถึงเจตนาดีที่ส่งผลร้าย) เขาสรุปหลักการนี้ไว้ชัดในบทที่ 7 ของหนังสือ

ประสบการณ์ของผู้เขียนในตลาดกองทุนรวม ย้ำว่า การสุ่มตัวอย่างแบบลองผิดลองถูกในลักษณะเดียวกับเล่นการพนันในบ่อนที่มอนติคาร์โล หรือเล่นเกมรัสเซียน รูเล็ต หรือใช้ทฤษฎีเกมต่างหาก ที่ทำให้ผู้จัดการกองทุนและนักลงทุนประสบความสำเร็จมากกว่าพึ่งพา สัญญาณทางเทคนิคและดัชนีที่สร้างกันขึ้นมาโดยอาศัยข้อมูลจากอดีต อย่างเดียว

ยิ่งไปกว่านั้น เขายังสวนความคิดของจอร์จ โซรอส พ่อมดการเงิน เจ้าของการประยุกต์ทฤษฎีฟิสิกส์ Quantum Theory มาใช้กับการเก็งกำไรในตลาดเงินว่า ทฤษฎีวิทยาศาสตร์ธรรมชาติทั้งหลาย นั้น ไม่อาจจะนำเอามาใช้กับทฤษฎีทางสังคม-ธุรกิจได้เต็มรูปอย่างเด็ดขาด เฉกเช่นคาร์ล มาร์กซ์ นำเอาทฤษฎีของชาร์ล ดาร์วิน มาใช้ กับการปฏิวัติสังคม เป็นต้น และกลายเป็นความผิดมหันต์

หนังสือเล่มนี้แม้จะมีข้อดีให้คนอ่านเข้าใจธรรมชาติของความผันผวนในตลาดเก็งกำไรทุกประเภทได้ดีมาก แต่ก็มีจุดให้ถกเถียงกันต่อไปหลายประเด็นทีเดียว เช่น

1) ผู้เขียนดูเบากรอบวิธีคิดเชิงอุปนัย หรือเชิงปริมาณมากเกินไป และให้ความสำคัญกับการคิดเชิงอนุมานมากเกินไปหรือไม่

2) การสุ่มตัวอย่างเพื่อใช้ทฤษฎีเกมในตลาดเงินเพียงอย่างเดียว โดยไม่พึ่งพาสัญญาณทางเทคนิคที่สร้างกันขึ้นมามากมาย เป็นการสุ่มเสี่ยงซื้อสินค้า (หุ้น ตราสารหนี้ หรือสินค้าโภคภัณฑ์ล่วงหน้า) ใน ช่วงราคาสูงเกินหรือไม่?

3) ผู้เขียนดูเบาทฤษฎีด้านการจัดการธุรกิจ (การเงิน และการ ตลาด ตลอดจนพฤติกรรมทางจิตวิทยานักลงทุน) ค่อนข้างมากจนดูเหมือนว่าทุกตลาดเก็งกำไรนั้นเป็นแต่เรื่องของการสุ่มอย่างช่ำชองอย่างเดียว โดยปราศจากพื้นฐานอื่นรองรับ เพียงแต่ข้อถกเถียงที่ยกมานี้ก็เห็นชัดว่า หากข้อสรุปของผู้เขียนถูกต้องทั้งหมด สิ่งที่วอเรน บัฟเฟตต์ และเบนจามิน แกรห์ม พูดเกี่ยวกับนักลงทุนประเภทเน้นคุณค่า (value investors) ก็คงเป็นข้อยกเว้นของตลาดเก็งกำไรอย่าง ชัดเจน ซึ่งไม่น่าจะเป็นไปได้

อ่านหนังสือเล่มนี้จบแล้ว ควรระลึกเสมอว่า นี่เป็นเพียงความ เห็นด้านหนึ่งของตลาดเก็งกำไร ที่ไม่จำต้องเป็นสูตรสำเร็จเสมอไป โดยเฉพาะคำเตือนสติท้ายเล่ม 3 ข้อนั้น นับว่ามีประโยชน์อย่างมากสำหรับคนที่ทำหน้าที่ตัดสินใจในทุกเรื่อง

ทางที่ดี อ่านหนังสือทำนองเดียวกันอีก 2 เล่ม ชื่อ Innume-racy : Mathematical Illiteracy and Its Consequences เขียนโดย นักคณิตศาสตร์ John Allen Paulos ที่บอกให้รู้ว่า ทำไมคนส่วนใหญ่ ในโลกนี้ถึงเกลียด กลัว และสอบตกคณิตศาสตร์ กับ The Mathematics of Games and Gambling เขียนโดย Edward Packel ที่บอกถึงธรรมชาติของการพนันที่มนุษย์เมามัวและเป็นธุรกิจใหญ่โตทั่วโลก ก็จะช่วยให้เข้าใจซาบซึ้งมากขึ้นว่า เหตุใดการเก็งกำไรและการพนัน ถึงมีเสน่ห์เร้าใจมนุษย์ยิ่งนัก ชนิดที่ศาสนาใดๆ ก็ป้องปราม ได้ยาก

รายละเอียดในหนังสือ
Chapter 1 : If You're So Rich, Why Aren't You So Smart? ฉายภาพกว้างถึงผลพวงของการสุ่มความคิดในกติกาวัดค่านิยมทางของสังคมและความอิจฉาริษยาผ่าน 2 บุคลิกต่างขั้วของตัวแปร ภายใต้ปรากฏการณ์ที่ซุกซ่อนเอาไว้ บอกกระบวนการที่ชีวิตปัจจุบันต้องเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและผกผัน

Chapter 2 : A Bizarre Accounting Method ว่าด้วยประวัติศาสตร์ ทางสองแพร่งของความน่าจะเป็น ตลอดจนถึงการฉ้อฉลทางปัญญา และภูมิปัญญาด้านการสุ่มของนักคิดฝรั่งเศส บอกให้รู้ถึงความบกพร่องของนักหนังสือพิมพ์ที่ไม่สามารถเข้าถึงชุดของการสุ่มตัวอย่างเหตุการณ์ และเหตุใดความคิดเกี่ยวกับการสุ่มจึงแตกต่างจาก ความชาญฉลาดพื้นๆ

Chapter 3 : A Mathematical Meditation on History การเพ่งพินิจแบบสาธิตบ่อนพนันในมอนติคาร์โล ในฐานะอุปมาเพื่อเข้าใจชุดของการสุ่มตัวเลข และประวัติศาสตร์จอมปลอมของความมั่งคั่ง เพื่อยืนยันว่ายิ่งแก่ยิ่งฉลาด ส่วนความใหม่และหนุ่มสาวนั้นเป็นมายา

Chapter 4 : Randomness, Nonsense, and the Scientific Intellectual ส่วนขยายภาพของบ่อนพนันมอนติคาร์โลเพื่อสร้างปัญญา ประดิษฐ์โดยเปรียบเทียบกับโครงสร้างระบบคิดที่ไม่ต้องสุ่มตัวอย่างซึ่งมีไม่ได้ดีกว่ากัน เพราะเป็นเรื่องยากที่จะแยกคนพูดพล่ามออกจากนักคิดลึกซึ้ง ดังบทกวีที่ว่า "ซากศพที่ประณีต ควรดื่มไวน์ใหม่"

Chapter 5 : Survival of the Least Fit-Can Evolution Be Fooled by Randomness? กรณีศึกษาว่าด้วยปรากฏการณ์หายาก 2 กรณี เพื่อแสดงว่าแนวคิดเรื่องวิวัฒนาการของดาร์วินผิดพลาดในการพยากรณ์ปรากฏการณ์ที่ไม่เกิดจากชีวภาพ เพราะเกิดจากข้อสรุปเชิงอุปนัยที่มาจากการสุ่มตัวอย่างผิดๆ

Chapter 6 : Skewness and Asymmetry ภายใต้แนวคิดเรื่องการเบี่ยงเบนของ "ค่าเฉลี่ย" ที่ไร้สมมาตรและไม่อาจเป็นตัวแทนของความน่าจะเป็นได้เลย เช่นเดียวกับการเบี่ยงความหมายของคำว่า "กระทิง" และ "หมี" (ในตลาดหุ้น) มีขอบเขตจำกัดที่ต่างจากในสวนสัตว์ เพราะไม่สามารถใช้คาดคะเนความถูกต้องทางสถิติได้ว่าหุ้นจะขึ้นหรือลงในสัปดาห์หน้า โดยอาศัยสัญญาณทางเทคนิคของสัปดาห์นี้ และข้อสรุปทางวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ ไม่เหมาะสมจะนำมาใช้อธิบายปรากฏการณ์ทางสังคมทั้งหมด

Chapter 7 : The Problem of Induction จุดบกพร่องของข้อสรุปเชิงอุปนัย (แม้ว่าจะใช้ข้อมูลเชิงปริมาณมากเท่าใด) นำไปสู่การหันเหมาใช้ข้อสรุปเชิงอนุมัยมากขึ้น และเป็นจุดเริ่มต้นที่อธิบายว่า เหตุใดนักวิทยาศาสตร์จึงไม่เชื่อข้อสรุปทางวิทยาศาสตร์อย่างเป็นกลไกแบบเดียวกับคาร์ล ปอปเปอร์ และเหตุใดนักลงทุนที่เชื่อในสัญญาณการวิเคราะห์หุ้นน้อยที่สุด จึงประสบความสำเร็จมากที่สุด

Chapter 8 : Too Many Millionaires Next Door ข้อมูลเชิงสถิติ และการสุ่มสามารถพิสูจน์ได้ว่า คนที่ประสบความสำเร็จเหนือเกณฑ์ เฉลี่ยมีโชคดีโดยเปรียบเทียบ ไม่ใช่เพราะโดยความสามารถ ย้ำว่า "เก่ง" นั้นไม่เพียงพอ ต้องมี "เฮง" ควบคู่ไปด้วย

Chapter 9 : It Is Easier to Buy and Sell Than Fry an Egg การเก็งกำไรในตลาดหุ้นหรือตลาดโภคภัณฑ์ ต้องการโชคมากกว่าการทอดไข่เสียอีก เพราะการคาดเดาสัญญาณทางเทคนิคไม่สามารถช่วย ให้มีความสามารถเหนือกว่านักลงทุนอื่นๆ ได้ทั้งหมด

Chapter 10 : Loser Takes All-On the Nonlinearirties of Life ชีวิตไม่ได้ขึ้นกับความยุติธรรม เพราะวิถีชีวิตนั้นไม่เป็นเส้นตรง และให้ผลตอบแทนของการใช้ชีวิตที่ไม่ได้สัดส่วนตามที่คาดหวัง และความช่วยเหลือบางส่วนจากการสุ่มตัวอย่าง จะนำโชคมหาศาลมาให้ เหมือนดังถ้อยคำสวนกระแสของสตีฟ จ็อบส์ แห่งบริษัทแอปเปิลที่ว่า "คนแพ้กินรวบ"

Chapter 11 : Randomness and Our Mind, We Are Probability Blind การเลือกที่เกิดจากการคาดเดาทางคณิตศาสตร์โดยไม่รู้ตัวเป็นความน่าจะเป็นที่เปิดช่องให้ความผิดพลาดเกิดขึ้นจากความบกพร่อง (ไม่ใช่ความไม่สมบูรณ์ ดังที่ชอบอ้าง) ของข้อมูลเชิงสถิติเก่าๆ และความรู้เชิงจารีต (normative science) ที่ครอบงำความคิด ซึ่งเทียบ ได้กับการที่มีคนแต่งงานจากคู่นัดครั้งแรกน้อยมาก แล้วมานั่งเสียใจทีหลัง

Chapter 12 : Gamblers' Ticks and Pigeons in a Box ความเชื่อ ทางไสยศาสตร์ที่ซ่อนตัวอยู่ในจิตวิญญาณของมนุษย์แต่ละคน แสดง ออกมาชัดเจนในตัวนักการพนันซึ่งได้พัฒนาความเชื่อดังกล่าวสูงขึ้น ทั้งที่ความจริงแล้วคนเราใช้ชีวิตเฉกเช่นเดิมพันอยู่ตลอดในชีวิตประจำวัน เช่นเดียวกันกับนกพิราบหารังนอนตามความเคยชิน และกลายมาเป็น พฤติกรรมที่ไม่สมเหตุผล

Chapter 13 : Carneades Comes to Rome : On Probability and Skepticism ความน่าจะเป็นได้แสดงตัวออกมาอย่างเป็นรูปธรรม ผ่านทฤษฎีการพนัน และแปลงรูปมาเป็นเกณฑ์ตัดสินเกี่ยวกับการวินิจฉัยความเสี่ยง ซึ่งผู้จัดการกองทุนสถาบันต่างๆ ใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน

Chapter 14 : Bacchus Abandons Antony ลัทธิสโตอิกซึ่งเน้นการ ใช้เหตุผลในการตัดสินใจ กล่าวให้ถึงที่สุดแล้ว เป็นมายาภาพแห่งชัยชนะของคนที่มีต่อการสุ่มตัวอย่าง ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งของจุดเริ่มต้นของวีรชนทุกคน (อีกหนึ่งคือความกล้าหาญทางจิตใจ) เพราะกุญแจสำคัญของวีรชนคือการควบคุมตัวแปรแห่งการสุ่มตัวอย่าง

Postscript : Three Afterthoughts in the Shower 3 แนวคิดสำหรับประสบความสำเร็จในการสุ่มตัวอย่าง 1) ยิ่งมีอำนาจตัดสินใจมากเท่าใด ข้อมูลที่มีอยู่ให้ตัดสินใจจะน้อยลงเท่านั้น 2) อย่าได้หวังพึ่งข้อมูลที่สมบูรณ์ในทุกครั้งที่ตัดสินใจ 3) การตัดสินใจทุกครั้งเปรียบ ได้กับการยืนบนขาข้างเดียวเสมอ



upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide



 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us