Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 



new releases
Manager 360 aStore






 
From Japan to Arabia
ผู้เขียน: Kennon Breazeale
ผู้จัดพิมพ์: The Foundation for the Promotion of Social Sciences and Humanities Tex
จำนวนหน้า: 250
ราคา: ฿350
buy this book

หนังสือเล่มนี้สนับสนุนโดยมูลนิธิโตโยต้า ดังนั้นจึงไม่น่าประหลาดใจที่จะต้องมีเรื่องบทบาทของพ่อค้าญี่ปุ่นในอยุธยาเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ซึ่งไม่น่าประหลาด เพราะใครที่เคยรู้เรื่องของยามาดา นางามาสา หรือออกญาเสนาภิมุข ก็คงรับทราบความสำคัญของคนญี่ปุ่นในประวัติศาสตร์ไทยยุคอยุธยาเป็นอาณาจักรใหญ่ช่วงหนึ่งได้ดี

ภาพของอยุธยาในฐานะอาณาจักรที่สร้างตัวเองขึ้นมาจากการค้าระหว่างประเทศนั้น มักจะเป็นมุมมองจากภายนอก ซึ่งมองอยุธยาในฐานะจุดแลกเปลี่ยนทางการค้าสำคัญของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แหล่งหนึ่ง นอกเหนือจากมะละกา (และต่อมาปัตตาเวีย)

สำหรับนักประวัติศาสตร์ไทยนั้น มักจะมีมุมมองอยุธยาในฐานะราชอาณาจักรที่เข้มแข็งจากการสร้างระบบควบคุมจากศูนย์กลางอำนาจที่มีระบบโดยผ่านกลไกควบคุมกำลังคนที่เรียกว่า จตุสดมภ์ (ยืมมาจากกัมพูชา) ซึ่งเกิดจากการปฏิรูปการปกครองครั้งสำคัญของพระมหากษัตริย์ที่สำคัญที่สุดของอยุธยา ได้แก่ พระบรมไตรโลกนาถ

มุมมองทั้งสองด้านนี้เป็นเพียงเหรียญคนละด้านเท่านั้นเอง เพราะอยุธยาเติบใหญ่ จากทั้งสองรากฐานนี้คือ ควบคุมกำลังคนอย่างเข้มแข็งเพื่อรวบรวมทรัพยากรเหนืออาณาจักรภายในอื่นๆ (ล้านนา สุโขทัย และกัมพูชา) เพื่อรองรับการเติบโตทางการค้าระหว่างประเทศในแบบผูกขาดการค้า อันเป็นแหล่งที่มาของความมั่งคั่ง

หนังสือเล่มนี้ประมวลบทความเพื่อจัดสัมมนาทางวิชาการว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศสมัยอยุธยา ซึ่งให้ภาพที่น่าสนใจหลายประการ ที่มีประโยชน์ต่อการศึกษา นโยบายการส่งเสริมการค้าในอดีต ที่ในบางเรื่องถือว่า ดีกว่าสมัย "ค้าเสรี" ในปัจจุบัน ด้วยซ้ำ

รูปแบบของการค้าอยุธยาในอดีตในหนังสือเล่มนี้ เราได้เห็น
- การผูกขาดการค้าของพระมหากษัตริย์และขุนนางที่รับผิดชอบ อันเป็นจารีตแบบเอเชียของเมืองท่าในเอเชียโบราณด้วยกัน ก่อนตะวันตกจะเข้ามามีบทบาทในการค้าที่มากกว่าเครื่องเทศ

- ความสัมพันธ์ทางการค้าของญี่ปุ่นในยุคก่อนปิดประเทศค้าของโตกุกาวาในคริสต์ศตวรรษที่ 17

- กระบวนการจัดหาทรัพยากรเพื่อการค้าในประเทศของอยุธยาผ่านกลไกการปกครองที่อาศัยการควบคุมกำลังคนผ่านระบบเลก-ไพร่-เมืองประเทศราช

- บทบาทเสื่อมลงของพ่อค้าจีนในยุคราชวงศ์ชิงที่มีนโยบายจำกัดการติดต่อต่างชาติ

- ความเฟื่องฟูและเสื่อมทรามลงของการค้าระหว่างอยุธยากับอาณาจักรอิสลามในเอเชียใต้หลายแห่ง ผ่านเมืองท่ามะริดและตะนาวศรี ตลอดจนบทบาทแข็งขันของขุนนางมุสลิมในราชสำนักอยุธยาอันยาวนาน

- บทบาทระยะสั้นของอาณาจักรพ่อค้าจีนในทะเลจีนใต้ในช่วงเปลี่ยนผ่านอำนาจการเมืองหลายอาณาจักรในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18

สีสันที่น่าจะถือเป็นมุมมองใหม่ในหนังสือเล่มนี้ก็คือ มุมมองที่ว่า ความขัดแย้งระหว่างอังวะ (หลังจากยึดหงสาวดีสำเร็จ) กับอยุธยาอันเกิดจากการยื่นมือเข้าไปแสวงหาทางควบคุมความมั่งคั่งทางการค้าในเมืองท่ามะริดและตะนาวศรีที่กลายมาเป็นสงครามใหญ่ของสองอาณาจักรหลายครั้ง ซึ่งเป็นคำอธิบายที่ดูเป็นรูปธรรมมากกว่ากรอบวิธีคิดจิตนิยมแบบ "เฮเกล" ในเรื่องศักดิ์ศรีแห่งอำนาจ (ปัจจุบันเรียกกันไพเราะว่ากรอบทฤษฎี "จุดจบของประวัติศาสตร์" ของฟรานซิส ฟูกูยาม่า) เหนือพวกมอญ อันเป็นกรอบคิดแบบชาตินิยมที่เป็นจารีตศึกษาประวัติศาสตร์ไทยมายาวนานนับแต่รัชกาลที่ 5 เป็นต้นมา

ในขณะที่ภาพของเส้นทางการค้าผ้าไหมอันมีสีสันระหว่างอยุธยากับอาณาจักรมุสลิมอินเดียตะวันออก และราชวงศ์ซาฟาวีของเปอร์เซีย ก่อนที่บริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษจะเข้ามาครอบงำเส้นทางดังกล่าว สะท้อนให้เห็นวิสัยทัศน์ในเรื่องการก่อตั้ง "นิคมการค้าของต่างชาติ" และขันติธรรมทางศาสนาของกษัตริย์อยุธยา ซึ่งน่าศึกษาอย่างยิ่ง เพราะชˆางคล้ายคลึงกับแนวคิดเรื่องเขตเศรษฐกิจพิเศษของชาติกำลังพัฒนาทั้งหลายในโลกปัจจุบันอย่างยิ่ง และอาจจะถือเป็นต้นแบบได้ด้วยซ้ำไป หากไม่ติดกรอบความคิดตกค้างจากยุคจักรวรรดินิยมเรื่อง "สิทธิสภาพนอกอาณาเขต" ที่ทำให้คนท้องถิ่นคับข้องใจมาจนถึงปัจจุบัน

ใครที่สนใจอ่านหนังสือประวัติศาสตร์ไทยที่มีมากกว่า "ไทยรบพม่า" (ที่ก่อกำเนิดวีรชนบางคนอย่างพระศรีสุริโยทัย หรือพระนเรศวร ที่ช่วยกระตุ้นต่อมชาตินิยมแบบขวาจัดให้พลุ่งพล่านได้เกินระดับปกติ) แล้ว เหมาะที่จะซื้อหนังสือเล่มนี้มาเสริมวิสัยทัศน์ในเรื่องประวัติศาสตร์และรากเหง้าคนไทย เพราะอย่างไรก็คุ้มค่าเสมอ

น่าเสียดายที่น่าจะมีการแปลเป็นภาษาไทยให้อ่านกันแพร่หลายกว่านี้ โดยเฉพาะคนไทยบางกลุ่มที่กำลังมุ่งแก้ปัญหาภาคใต้ เพราะข้อเท็จจริงในหนังสือนี้ ยืนยันว่า ส่วนหนึ่งของความมั่งคั่งของอาณาจักรอยุธยานั้น มุสลิมทั้งในและนอกสังคมมีส่วนร่วมด้วยแข็งขัน ไม่แพ้คนศาสนาอื่นๆ

รายละเอียดในหนังสือ

Chapter 1 Thai Maritime trade and the Ministry Responsible ว่าด้วยความเฟื่องฟูการค้าระหว่างประเทศระหว่างอาณาจักรเอเชีย หรือ Intra-Asian Trade และการจัดโครงสร้างระบบผูกขาดการค้าภายในอันเป็นจารีตของอาณาจักรในยุคเดียวกันของอยุธยา ในห้วงคริสต์ศตวรรษที่ 15-17 พร้อมกับพลวัตของการค้า-การเมืองระหว่างอยุธยากับอาณาจักรอื่นๆ ที่เฟื่องฟูในฝั่งแปซิฟิก แต่เสื่อมลงในเอเชียใต้

Chapter 2 Origin of a Capital and Seaport : The Early Settlement of Ayuthaya and Its East Asian Trade ว่าด้วยเศรษฐกิจการเมืองของอยุธยาที่รองรับ ความเฟื่องฟูของการค้าระหว่างประเทศ ที่แม้จะมีสัดส่วนไม่ถึงครึ่งของสัดส่วนการค้าโดยรวม แต่ก็ได้กำไรงาม พร้อมกับกระบวนการจัดสรรผลประโยชน์และควบคุมความมั่งคั่งผ่านกติกาของระบบค้าผูกขาดโดยผ่านเสนาบดีคลังภายในประเทศโดยมีพ่อค้าจีนรับบทบาทแข็งขันในการเชื่อมโยงเข้ากับเมืองท่าอื่นๆ ในเอเชีย ทำให้อยุธยาเติบใหญ่กว่าเมืองอื่นๆ ในอาณาจักรที่คนไทยเป็นใหญ่

Chapter 3 Ayuthaya, 1409-24 Internal Politics and International Relations ว่าด้วยรอยต่อที่ขาดหายไปของการเมืองอยุธยาในช่วงความวุ่นวายระหว่างรัชกาลพระอินทรราชากับพระรามราชา ซึ่งทำให้การค้าระหว่างอยุธยากับเมืองท่าอื่นชะงักลงชั่วขณะ แต่มีการค้าอาวุธสงคราม (ปืนคาบศิลา) มากขึ้น เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับสงครามครั้งใหญ่กับพม่าและกัมพูชา ในขณะที่มะละกากำลังเริ่มมีอำนาจขึ้นมาจากความมั่งคั่งในการคุมเส้นทางค้าของช่องแคบ

Chapter 4 Ayuthaya and Japan : Embassies and Trade in the Seventeenth Century ว่าด้วยความเฟื่องฟูทางการค้าระหว่างอยุธยากับญี่ปุ่น ในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 ก่อนการมาของโปรตุเกสและดัตช์ โดยที่ญี่ปุ่นได้เริ่มขั้นตอนของการปิดประเทศค้า (ผ่านทางโอกินาวาทางเดียว) มานานพอสมควร ซึ่งทำให้การค้าต้องอาศัยช่องทางการทูตเป็นหลัก ทำให้ยุคการค้ารุ่งเรืองในสมัยพระเจ้าทรงธรรม จบสิ้นลงหลังจากการเสียชีวิตอย่างลึกลับของยามาดา นางามาสา ซึ่งทำให้โชกุนโตกุกาวาไม่ยอมต้อนรับทูตจากอยุธยาอีก ประกอบกับญี่ปุ่นปิดประเทศหนักขึ้นโดยยอมให้เรือดัตช์ และจีนเท่านั้นที่เทียบท่าได้ เรือไทยต้องเทียบท่าในนามของจีนเท่านั้นเอง

Chapter 5 Mergui and Tenassrim as Leading Port Cities in the Context of Autonomous History ว่าด้วยบทบาทของเมืองท่ามะริดและตะนาวศรี ในฐานะเมืองท่าทางยุทธศาสตร์ของอยุธยาในการค้ากับเอเชียใต้และทะเลอันดามัน ซึ่งการขยายอำนาจเพื่อควบคุมผลประโยชน์เหนือเมืองทั้งสอง ทำให้พม่าและไทยต้องขัดแย้งและทำสงครามกันมากขึ้น ตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 16 เป็นต้นมา จนถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 18

Chapter 6 Ayuthaya and the Persian and Indian Muslim Connection ว่าด้วยอำนาจของราชวงศ์ซาฟาวีในเปอร์เซีย และโมกุลในอินเดียเหนือ ทำให้พ่อค้ามุสลิมจากทั้งสองอาณาจักรเข้ามามีบทบาททางการค้า และทางการปกครองในราชสำนักของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งอยุธยานับแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมา การถือกำเนิดกรมท่าซ้ายและกรมท่าขวาในอาณัติเสนาบดีคลังเริ่มขึ้น พร้อมกับการอนุญาตก่อตั้งชุมชนมุสลิมขึ้นในอยุธยา เพื่อสะดวกกับการค้าผ้าไหมซึ่งในเวลานั้นอยู่ในมือของเปอร์เซีย เคียงคู่กับเรือของอังกฤษและดัตช์ ก่อนที่เรือของฝรั่งเศสจะเข้ามาทำให้สมดุลทางอำนาจเปลี่ยนไปในเอเชียใต้ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 17

Chapter 7 Power Politics in Southeast Asian Waters ว่าด้วยความผันผวนทางการเมืองและการแข่งขันทางการค้าที่แปรผันความสัมพันธ์ระหว่างคู่ค้าในอาณาจักรต่างๆ รวมทั้งพวกมุสลิมและยุโรปหลังจากที่จีนลดบทบาททางการค้าลงไปนับแต่ราชวงศ์ชิงขึ้นสู่อำนาจในปักกิ่ง ทำให้ไม่มีใครมีอำนาจชี้ขาดเหนือทะเลจีนได้อีกต่อไป และพวกดัตช์ก็ประสบปัญหาอำนาจเสื่อมโทรมลงหลังจากยุคการค้าเครื่องเทศถึงจุดจบลงอย่างรวดเร็วในคริสต์ศตวรรษที่ 18

Chapter 8 Hatien or Bantaey Maes in the Time of Fall of Ayuthaya ว่าด้วยบทบาทที่มากขึ้นของอำนาจใหม่ชั่วคราวของผู้พ่อค้าอพยพจีนที่ลี้ภัยจากไต้หวันในฮาเตียน (เวียดนามปัจจุบัน) ที่แสวงหาความมั่งคั่งจากอำนาจการเมืองเหนืออาณาจักรเล็กๆ ในทะเลจีนใต้ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 ก่อนจะล่มสลายไปพร้อมกับรูปแบบการผูกขาดเศรษฐกิจใหม่ที่เข้มงวดขึ้นโดยกรุงเทพฯ และเวียดนาม



upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide



 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us