|
new releases
Manager 360 aStore
|
|
|
|
|
The Accidental Theorist and Other Dispatches from the Dismal Science
ผู้เขียน: Paul Krugman
ผู้จัดพิมพ์: Penguin
จำนวนหน้า: 204
ราคา: ฿592
buy this book
|
|
|
|
พอล ครุกแมน จะมาพูดที่เมืองไทย โดยค่ายผู้จัดการเป็นคนจัด ซึ่งคงจะเรียกคนฟังได้แน่นขนัดเหมือนเคย หนังสือเล่มนี้อาจจะเก่าไปสักนิด แต่ก็สะท้อนความเป็น "ครุกแมน" ได้ดีที่สุด
บทนำของหนังสือรวมบทความเล่มเล็กๆ นี้ อธิบายความหมายของสิ่งที่เรียกว่า popular economics ได้ดีอย่างมากว่า แตกต่างจากเศรษฐศาสตร์ในแวดวงที่เรียกกันว่า ศาสตร์อันน่าเบื่อหน่าย อย่างไรบ้าง
หนังสือเล่มนี้เขียนขึ้นก่อนที่ครุกแมนจะดังระเบิด หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง เป็นหนังสือที่สร้างชื่อให้ครุกแมน "เสียคน" อย่างมากในเวลาต่อๆ มา
จุดยืนของครุกแมนเห็นได้อย่างชัดเจนในหนังสือนี้ (และต่อๆ มา) คือเขาไม่เห็น ด้วยกับเศรษฐศาสตร์เน้นอุปทาน (supply-side economics) และกระแสโลกาภิวัตน์ เพราะเต็มไปด้วยจุดอ่อนมากมายที่เป็นหลุมพราง ซึ่งอาจจะนำไปสู่การกำหนดนโยบาย เศรษฐกิจที่ผิดพลาดของรัฐบาลประเทศต่างๆ ได้ง่าย]
ครุกแมนประกาศตัวเป็นนักวิชาการเสรีนิยม ไม่ซ้ายจัด และไม่ขวาตกขอบ และไม่แก่ตำราแบบ "เคร่งคัมภีร์" เพราะเขาระบุว่าคนที่มีชื่อเสียงโด่งดังมักจะพูดเรื่องโง่ๆ เกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์ และคุณภาพของอุดมคตินั้น ไม่เท่ากับความเป็นจริงที่ปรากฏขึ้นมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเข้าไปข้องแวะกับอำนาจทางการเมือง
งานเขียนในหนังสือเล่มนี้ครอบคลุมสาระตั้งแต่เรื่องภายในอเมริกา มาจนถึงประเทศต่างๆ การค้าและการเงินระหว่างประเทศ ตลาดเก็งกำไรและฟองสบู่ธุรกิจมีลักษณะโยนระเบิดทางภูมิปัญญามากกว่าเสนอข้อมูลที่ยุ่งยากซับซ้อน โดยวิพากษ์กันถึงรากฐานความคิดกันเลยทีเดียว ซึ่งคนที่อ่านจะได้จุดประกายไอเดียใหม่ๆ ได้มาก ไม่ว่าจะเห็นพ้องหรือคัดค้านกับเขาก็ตามที
ที่น่าสนใจก็คือ ครุกแมนไม่เคยปฏิเสธว่าเศรษฐศาสตร์นั้นมีมุมมองที่เหลื่อมกันกับการเมืองได้เสมอ โดยเฉพาะเมื่อมีการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจจากนักการเมือง
อีกนัยหนึ่ง เรื่องเศรษฐศาสตร์ทุกเรื่องมีมิติทางการเมืองปะปนด้วยเสมอ ไม่เคยมี เศรษฐศาสตร์บริสุทธิ์ ไม่ว่าจะใช้สูตรคำนวณทางเศรษฐมิติมากแค่ไหนก็ตาม
เนื้อหาบางเรื่องที่คนไทยเราสัมผัสได้ไม่ยากก็คือ เกี่ยวกับเศรษฐกิจในเอเชีย นับแต่การถดถอยทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่น การค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีน วิกฤติค่าเงินบาท แต่หากจะว่าไปแล้ว แม้งานส่วนใหญ่จะเป็นข้อมูลจากอเมริกา แต่สาระของครุกแมนนั้น สามารถประยุกต์เปรียบเทียบใช้กับเรื่องทั่วไปได้ไม่ยาก
ตราบใดที่เศรษฐกิจโลกยังคงใช้กลไกทุนนิยม การค้าเสรี การเคลื่อนย้ายแรงงานเสรี และ ฯลฯ ตามกันอย่างต่อเนื่อง ภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์
งานที่ท้าทายไอเดียอย่างมากก็คือ ข้อเสนอของครุกแมนที่บอกว่า มีงานทำ แม้จะเลวร้ายหรือต่ำแค่ไหนก็ยังดีกว่าไม่มีงานทำ อาจจะทำให้นักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชน ด้านแรงงานไม่เห็นด้วยกันเสียงขรมเลยทีเดียว
ถือเป็นงานเขียนทางด้านเศรษฐศาสตร์ที่อ่านสนุก และประเทืองปัญญาพร้อมกัน ไปได้ดี ซื้อเก็บไว้ในตู้ แล้วเอามาอ่านเมื่อยามสมองตื้อได้ดีนัก และหากจะให้ดีกว่านี้ อ่านแล้วไปฟังครุกแมนพูด ก็จะเข้าใจลึกซึ้งมากขึ้น จะได้ไม่เสียเงินเปล่า เพราะค่าสัมมนาแพงกว่าค่าหนังสืออักโขทีเดียว ไม่เหมาะสำหรับฟังโดยสมองว่างเปล่า
รายละเอียดในหนังสือ
Part 1 : Jobs, Jobs, Jobs
The Accidental Theorist วิพากษ์นักทฤษฎีจอมปลอมโดยเฉพาะนักเขียนเรื่อง เศรษฐศาสตร์ที่ชอบสร้างทฤษฎีใหม่ๆ บนความโง่เขลาของตนเอง
Downsizing Downsizing วิพากษ์ข้อถกเถียงเรื่องการลดขนาดบริษัทกับปัญหาการจ้างงาน ซึ่งเขาสรุปว่า มักจะหลงลืมประเด็นเรื่องความสามารถในการแข่งขัน
Vulgar Kaynesians วิพากษ์นโยบายดอกเบี้ยของเฟด ที่ไม่ส่งเสริมการออมแต่ให้น้ำหนักกับจีดีพีและเงินเฟ้อมากเกินไป
Unmitigated Gauls : Liberte, Egalite, Inanite วิพากษ์นโยบายที่ขัดแย้งกันในตัวเองของรัฐบาลฝรั่งเศส ที่ต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจ เพิ่มค่าจ้าง รักษาค่าเงินให้แข็งและลดอัตราดอกเบี้ยพร้อมกัน ซึ่งยากจะบรรลุเป้าหมายทุกอย่าง
Part 2 : Right-Wing Wrongs วิพากษ์ความคิดพวกอนุรักษนิยม หรือ supply-sided economics
The Virus Strikes Again วิจารณ์แนวคิดก้าวถอยหลังของพรรครีพับลิกันและบ๊อบ โดล ผู้สมัครชิงประธานาธิบดีของคลินตัน ปี ค.ศ.1996
Supply-Side's Silly Seasons วิเคราะห์นโยบายคลินตันว่าไม่ใช่ supply-sided economics เพราะเหตุใด
An Unequal Exchange วิพากษ์แนวคิดเรื่องภาษีและช่องว่างของการกระจาย รายได้ที่เกิดขึ้นรุนแรงมากขึ้นในอเมริกา เนื่องจากนโยบาย "อุ้มคนรวย ช่วยคนจน" นับแต่สมัยโรนัลด์ เรแกน
The Lost Fig Leaf : Why the Conservative Revolution Failed วิพากษ์แนวคิดอันตรายเรื่องการเก็บภาษีของ บ๊อบ โดล
Gold Bug Variations : Understanding the Rught-Wing Gilt Trip วิพากษ์ แนวคิดของข้อเสนอให้นำมาตรฐานทองคำกลับมาใช้ใหม่
Part 3 : Globalization and Globaloney
We Are Not the World วิพากษ์และสรุปว่า พลังทางเศรษฐกิจของอเมริกานั้น ยังห่างไกลที่จะเป็นต้นแบบของมาตรฐานสากลที่ใช้ได้ทั่วไปทั้งโลกได้
In Praise of Cheap Labor : Bad Jobs at Bad Wages are Better than No Job at All วิพากษ์การเคลื่อนย้ายแรงงาน และผลกระทบของโลกาภิวัตน์ต่อแรงงานทั่วโลก โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนา
The East is in Red : A Balanced View of China's Trade บทวิพากษ์แนวคิด เรื่องกีดกันทางการค้ากับจีนเพื่อลดการขาดทุนการค้าลงไป
Part 4 : Delusions of Growth ว่าด้วยวัฏจักรเศรษฐกิจ
Technology's Wonders : Not so Wondrous วิพากษ์อาการ "เห่อ" เทคโนโลยี สารสนเทศของบริษัท "ทันสมัย" ในอเมริกาที่เชื่อว่าต้องเร่งให้ทันกระแสไม่อย่างนั้นจะตกยุค
Four Percent Follies วิพากษ์แนวคิดเรื่องตั้งตุ๊กตาให้เศรษฐกิจอเมริกาโตเฉลี่ยปีละ 4% ในอนาคต โดยไม่พูดถึงขีดจำกัดทางเศรษฐกิจต่างๆ ในแต่ละช่วงเวลา
A Good Word for Inflation ข้อเสนอที่ให้มุมมองใหม่ที่พ่วงเอาเรื่องการเติบโตกับเงินเฟ้อเข้าด้วยกัน
What is Wrong with Japan? วิพากษ์แนวคิดพิสดารของรัฐบาลญี่ปุ่นที่ยินยอม ให้เศรษฐกิจถดถอยนานนับทศวรรษเพราะกลัวเงินเฟ้อ แทนที่จะกระตุ้นอุปสงค์ของ ตลาดเศรษฐกิจฟื้นตัว
Seeking the Rule of the Waves วิเคราะห์แนวคิดใหม่เกี่ยวกับวัฏจักรของธุรกิจ ที่กำลังจะมาเยือนในอนาคตเพื่อหาโอกาสสร้างธุรกิจ
Part 5 : The Speculator's Ball ว่าด้วยบรรยากาศยุคฟองสบู่ธุรกิจทั่วโลก
How Copper Came a Cropper วิพากษ์สภาวะที่สร้างนักเก็งกำไรให้เป็น บุคคลโดดเด่น
The Tequilla Effect วิพากษ์นโยบายอัดฉีดเงินช่วยกู้วิกฤติเปโซของเม็กซิโก ค.ศ.1994
Bahtulism : Who Poisoned Asia's Currency Market? วิเคราะห์วิกฤติค่าเงิน ในเอเชีย พร้อมด้วยข้อสรุปว่า เศรษฐกิจที่แข็งแกร่งจะไม่ถูกโจมตีค่าเงินได้
Making the World Safe for George Soros วิพากษ์แนวคิดเปิดเสรีให้ค่าเงิน ลอยตัวว่าไม่จำเป็นเสมอไปที่ต้องทำแบบสูตรสำเร็จของ BIS และ IMF
Part 6 : Beyond the Market ประยุกต์โมเดลเศรษฐศาสตร์เข้ากับเรื่องทั่วๆ ไป
Earth in the Balance Sheet : Economists Go for the Green วิพากษ์ การเก็บภาษีสิ่งแวดล้อม และต้นทุนการผลิต
Taxes and Traffic Jams วิพากษ์ข้อเสนอแนะเรื่องเก็บภาษีเพื่อสร้างสาธารณูปโภค แทนที่จะหาทางลดความแออัดด้านจราจร
Rat Democracy วิพากษ์การใช้เงินหาเสียงอย่างไร้เหตุผลและสูญเปล่า เพื่อสร้าง ประชาธิปไตยที่มีเหตุผล
A Medical Dilemma วิพากษ์การใช้จ่ายเงินอุดหนุนนโยบายสาธารณสุขของรัฐ ที่พุ่งขึ้นรุนแรง
The CPI and the Rat Race วิพากษ์มาตรฐานการใช้ดัชนีสินค้าผู้บริโภคเป็นตัววัด "ความสุข" ของคนอเมริกัน
Looking Backward วิเคราะห์ภาพรวมของเศรษฐกิจอเมริกันในคริสต์ศตวรรษที่ 20
|
|
|
|