Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 



new releases
Manager 360 aStore






 
Failsafe Strategies
ผู้เขียน: Sayan Chatterjee
ผู้จัดพิมพ์: Wharton School Publishing
จำนวนหน้า: 284
ราคา: $26.95
buy this book

เติบโตและทำกำไรจากความเสี่ยงที่คนอื่นเมินหนี

Dr.Sayan Chatterjee ผู้แต่งซึ่งเป็นศาสตราจารย์ด้านนโยบายการบริหารจัดการแห่ง Whitehead School of Management ในสังกัด Case Western Reserve University ได้เสนอแนวคิดในการออกแบบโมเดลธุรกิจ ที่สามารถแสดงให้เห็นว่ามีความเสี่ยงอยู่ตรงจุดใด และสามารถจะลดความเสี่ยงนั้นลงจนอยู่ในระดับที่สมเหตุสมผล แนวคิดของ Chatterjee จะช่วยให้ผู้บริหารมองเห็นโอกาสที่จะได้ผลตอบแทนสูงจากการเสี่ยงสูง โดยสามารถที่จะลดความเสี่ยงนั้นได้แต่เนิ่นๆ ซึ่งจะทำให้พวกเขาค้นพบโอกาสครั้งใหญ่ที่จะทำกำไรสูงแต่ไม่เสี่ยง ซึ่งเป็นสิ่งที่คนอื่นมองไม่เห็น

Chatterjee อธิบายว่า ความเสี่ยงในธุรกิจไม่ว่าธุรกิจใด เกิดจากการไม่เข้าใจความต้องการของลูกค้า ไม่ตระหนักถึงภัยคุกคามจากคู่แข่ง และการขาดความสามารถที่เหมาะสม เพื่อลดความเสี่ยงเหล่านั้น Chatterjee ชี้ว่า คุณต้องรู้อย่างชัดเจนว่า ความเสี่ยงอยู่ตรงไหน และสร้างทางเลือกต่างๆ ที่จะจัดการกับความเสี่ยงนั้นๆ

ปากกาอวกาศ

ในการอธิบายถึงความสำคัญของการแสวงหาทางเลือกหลายๆ ทาง ในขณะที่คุณกำลังวางยุทธศาสตร์บริษัท Chatterjee ยกตัวอย่างคลาสสิกอันหนึ่ง นั่นคือ"ปากกาอวกาศ"

เมื่อครั้งที่องค์การนาซ่าส่งนักบินอวกาศขึ้นไปยังอวกาศเป็นครั้งแรกนั้น นาซ่าพบว่าปากกาลูกลื่นใช้ในสภาพที่แรงโน้มถ่วงเป็นศูนย์ไม่ได้ เพื่อแก้ปัญหานี้ นาซ่าจึงคิดพัฒนาปากกาที่สามารถเขียนได้ในขณะที่แรงดึงดูดเป็นศูนย์ รวมทั้งสามารถเขียนกลับหัวได้ เขียนใต้น้ำ และเขียนบนพื้นผิวใดๆ ก็ได้เกือบทุกชนิด ตลอดจนเขียนได้ในอุณหภูมิตั้งแต่ต่ำกว่าจุดเยือกแข็งจนกระทั่งถึง 300 องศาเซลเซียส ในการนี้นาซ่าต้องสิ้นเปลืองทรัพยากรไปอย่างมหาศาล แต่โซเวียตประเทศคู่แข่งตัวฉกาจของสหรัฐฯ ในทุกเรื่องรวมทั้งเรื่องอวกาศ กลับแก้ปัญหานี้อย่างง่ายๆ ด้วยการใช้ดินสอแทนปากกา

Chatterjee ชี้ว่า ความผิดพลาดของนาซ่าเกิดจากการที่นาซ่ามองแต่ความสามารถที่ตนมีอยู่เท่านั้น ซึ่งเท่ากับปิดโอกาสในการมองหาทางเลือกอื่นๆ ที่อาจมีประสิทธิภาพมากกว่า ในการนำไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ เขาสรุปบทเรียนที่ได้จากนาซ่านี้ว่า การที่คุณมีทรัพยากรพร้อมที่จะพัฒนาปากกาอวกาศ ไม่ได้หมายความว่านั่นคือแผนยุทธศาสตร์ที่ดีที่สุด และเขายังระบุด้วยว่า วิธีคิดแบบมองจากภายในองค์กรออกไปข้างนอก เป็นวิธีที่ผิดในการวางแผนยุทธศาสตร์

วิธีคิดแบบมุ่งเน้นผลลัพธ์เป็นหลัก

แทนที่จะตั้งโจทย์ไว้ที่ "การสร้างปากกาที่สมบูรณ์แบบ" Chatterjee ชี้ว่า นาซ่าควรจะตั้งโจทย์ใหม่ที่ "การจด/บันทึกข้อมูลในอวกาศ" ซึ่งเป็นการคิดแบบมุ่งเน้นที่ผลลัพธ์ที่ต้องการเป็นหลัก ก็จะทำให้นาซ่าไม่ต้องลงทุนลงแรงมากขนาดสร้างปากกาอวกาศที่เขียนได้ในทุกสภาพ แต่แค่ใช้ดินสอหรือการอัดเทปก็สามารถได้ผลลัพธ์ที่ต้องการโดยสิ้นเปลืองน้อยกว่ากันอย่างเทียบไม่ได้

สิ่งที่ผู้อ่านจะได้รับจาก Chatterjee คือวิธีคิดที่มีจุดประสงค์ในการสร้างทางเลือกหลายๆ ทาง และหลีกเลี่ยงการคิดแก้ปัญหาที่สิ้นเปลืองทรัพยากรที่มีอยู่ ซึ่งจะทำให้คุณสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

วางยุทธศาสตร์ที่มีความเสี่ยงต่ำ

Chatterjee ชี้ว่า จะหลีกเลี่ยงความเสี่ยงได้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับคุณรู้หรือไม่ว่ามีความเสี่ยงซ่อนอยู่ที่ใดบ้าง และเข้าใจธรรมชาติอันแท้จริงของมัน รวมทั้งค้นให้พบว่าคุณสามารถทำอะไรได้บ้าง เพื่อควบคุมมัน เขาอธิบายว่า ความเสี่ยงมี 3 ประเภท

1. ความเสี่ยงจากความต้องการของผู้บริโภค คือความเสี่ยงที่ผู้บริโภคอาจไม่ซื้อสินค้าหรือบริการของบริษัทถึงระดับที่คาดการณ์ไว้

2. ความเสี่ยงจากการแข่งขัน คือความเสี่ยงที่คู่แข่งอาจเลียนแบบผลิตภัณฑ์ของคุณและแย่งลูกค้าคุณไป

3. ความเสี่ยงจากการขาดความสามารถที่เหมาะสม คือ การที่บริษัทคุณอาจไม่สามารถส่งมอบคุณค่าให้แก่ลูกค้าหรือผู้ถือหุ้นได้

Chatterjee ได้เสนอกระบวนการที่จะช่วยให้บริษัทมองเห็นและลดความเสี่ยงทั้ง 3 ประการนี้ ในขณะที่กำลังวางแผนยุทธศาสตร์บริษัท และแสดงให้เห็นวิธีการลดความเสี่ยงอย่างหนึ่งโดยไม่ไปเพิ่มความเสี่ยงอีกด้านหนึ่ง โดยยกตัวอย่างจากบริษัทที่มีชื่อเสียงหลายแห่ง เช่น Southwest Airlines, Continental, JetBlue, Cisco และ Eli Lilly

นอกจากนี้ Chatterjee ยังได้อธิบายเรื่องความเสี่ยงในการวางยุทธศาสตร์บริษัทแบบเติบโตและกระจายธุรกิจ และสร้างกรอบคิดที่จะช่วยให้คุณสามารถเข้าใจความเสี่ยง ที่มีอยู่ในการสร้างธุรกิจหลักของบริษัทหรือการเข้าสู่ตลาดใหม่ๆ



upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide



 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us