Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 



new releases
Manager 360 aStore






 
The Anarchist in the Library
ผู้เขียน: Siva Vaidhyanathan
ผู้จัดพิมพ์: Basic Books
จำนวนหน้า: 253
ราคา: $26.00
buy this book

Internet กับอาการวิตกจริต

Siva Vaidhyanathan นักเขียนและนักการศึกษาด้านเทคโนโลยีตั้งคำถามว่า เรากำลังวิตกจริตกันมากเกินไปหรือเปล่า ที่คิดว่า เรากำลังใช้เสรีภาพด้านข้อมูลข่าวสารกันอย่างเกินขอบเขต จนถึงขั้นใกล้จะควบคุมไม่ได้ แท้จริงแล้ว ผู้แต่งชี้ว่า เรายังไม่เคยถกถึงปัญหาที่ซับซ้อนนี้อย่างจริงจังเลย

Vaidhyanathan ชี้ว่า มีเสรีภาพบางด้านเท่านั้นที่ถูกใช้อย่างเกินขอบเขต จนอาจก่อให้เกิดอันตราย แต่ไม่ใช่เสรีภาพทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการใช้ข้อมูลข่าวสาร เขายังตำหนิพวกกระต่ายตื่นตูมที่ชอบอ้างศีลธรรมนำหน้า แต่แท้จริงแล้วเป็นผู้ที่ไม่สามารถแยกแยะ และชอบทึกทักเอาว่า อินเทอร์เน็ตซึ่งเปรียบเสมือนห้องสมุดสาธารณะของโลก กำลังตกอยู่ในกำมือของพวกที่ไร้ศีลธรรมและไม่เคารพกฎเกณฑ์

ด้วยความวิตกจริตดังกล่าว ทำให้เกิดการปฏิบัติอย่างไม่เหมาะสมต่อการกระจายของข้อมูลข่าวสาร ซึ่งทำให้ผู้แต่งวิตกว่า จะก่อให้เกิดผลเสียและคุกคามเสรีภาพของเราในการท่องอินเทอร์เน็ต หรือใช้ประโยชน์และใช้ประโยชน์ซ้ำจาก อินเทอร์เน็ต รวมไปถึงเสรีภาพในการแลกเปลี่ยนและเปลี่ยน แปลงข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต รวมทั้งการเล่นเกมออนไลน์ ตลอดจนการกระจายและแบ่งปันข้อมูลข่าวสาร และการถกเถียงผ่านอินเทอร์เน็ต

ผู้แต่งชี้ว่า ปฏิสัมพันธ์ระหว่างเรากับอินเทอร์เน็ตข้างต้นจะมีความสำคัญอย่างยิ่ง ในการกำหนดอนาคตความเป็นไปของโลก

ผู้แต่งยังเตือนด้วยว่า อย่าลืมว่าปฏิกิริยาธรรมชาติที่เกิดขึ้นเสมอ เมื่อสิ่งใดถูกควบคุม คือการต่อต้านดิ้นรนที่จะหลุดออกจากการควบคุมนั้น ซึ่งจะยิ่งทำให้ไม่สามารถควบคุมได้ และเกิดผลร้ายแรงยิ่งกว่าที่คาด

เสรีภาพ VS การควบคุม

ผู้แต่งชี้ว่า การพยายามตั้งกฎเกณฑ์ควบคุมข้อมูลข่าวสาร รวมทั้งเทคโนโลยีที่ใช้ในการส่งและประมวลข้อมูล เป็นอันตรายต่อระบอบประชาธิปไตย เพราะข้อมูลข่าวสารคือวัตถุดิบที่ใช้ประกอบการคิด ซึ่งเป็นรากฐานของประชาธิปไตย

ผู้แต่งเล่าว่า รัฐบาลและองค์กรธุรกิจได้ทำอะไรลงไปบ้าง ในการพยายามควบคุมระบบการติดต่อสื่อสารแบบ peer-to-peer (P2P) อย่างเช่น Napster, Gnutella และแม้กระทั่งการติดต่อสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ตเอง ซึ่งก็ถือเป็นการสื่อสารแบบ P2P อย่างหนึ่งด้วย โดยเป็นการสื่อสารที่ไม่ต้องผ่านช่องทางที่ถูกควบคุมโดยรัฐหรือองค์กรธุรกิจ

Vaidhyanathan ชี้ต่อไปว่า ต่อไปนี้สงครามระหว่างเสรีภาพกับการควบคุมข้อมูลข่าวสาร จะส่งผลกำหนดความเป็นไปในอนาคตของวัฒนธรรม เสรีภาพ ประชาธิปไตยและความก้าวหน้าของมนุษย์ตลอดศตวรรษใหม่นี้ โดยปัญหาที่ท้าทายประจำศตวรรษคือ การพยายามสร้าง "จรรยาบรรณ หรือแนวทาง หรือนิสัย หรือกฎในการกำหนดสถานการณ์แวดล้อมของข้อมูลข่าวสาร ที่เอื้อทั้งต่อการมีเสรีภาพซึ่งเป็นรากฐานของประชาธิปไตย และการมีเสถียรภาพและความมั่นคง ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการค้าและชุมชนของเรา"

สงครามเริ่มแล้ว

ผู้แต่งได้ยกตัวอย่างความขัดแย้งที่เกิดขึ้น จากสงครามระหว่างเสรีภาพกับการพยายามจะควบคุมการไหลของข้อมูลข่าวสาร ที่ได้เกิดขึ้นแล้วดังนี้

- สงครามแย่งชิงการเป็นผู้ควบคุมอินเทอร์เน็ต ซึ่งขณะนี้กำลังถูกตราหน้าว่าเป็นผู้ร้าย โดยถูกกล่าวหาว่าเป็นแหล่งรวมของการก่อการร้ายและภาพลามกอนาจาร การควบคุมกระทำผ่านการคิดค้นเทคโนโลยีขึ้นมาควบคุมการใช้ อินเทอร์เน็ตและผ่านทางกฎหมาย

- การพยายามจำกัดการใช้และกระจายเทคโนโลยีการเข้ารหัส (encryption) โดยอ้างเหตุผลด้านความมั่นคง ด้วยเกรงว่าหากไม่จำกัดการใช้ อาจทำให้อาชญากรและผู้ก่อการร้ายรู้เทคโนโลยีนี้และเจาะล้วงข้อมูลไปได้

- การที่รัฐบาลและองค์กรธุรกิจพยายามตั้งกฎเกณฑ์ควบคุมวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ซึ่งรวมถึงการพยายามควบคุมแผนที่รหัสพันธุกรรมมนุษย์ (genome)

- การที่รัฐบาลกำลังพยายามจะปรับรื้อโครงสร้างทางวิศวกรรมของเครื่องคอมพิวเตอร์พีซีและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ใหม่หมด เพื่อไม่ให้ผู้ใช้สามารถปรับปรุงประสิทธิภาพของเครื่องได้เอง ซึ่งจะทำให้รัฐบาลสามารถเข้าควบคุมการไหลของข้อมูลข่าวสารที่เห็นว่าไม่ถูกต้องได้มากยิ่งขึ้น

ผู้แต่งสรุปว่า ปัญหาที่ท้าทายที่สุดปัญหาหนึ่งของศตวรรษใหม่นี้คือ การแสวงหาทางสายกลาง ระหว่างการมีเสรีภาพในการใช้ข้อมูลข่าวสารอย่างเกินขอบเขตโดยไร้กฎเกณฑ์ใดๆ กับเผด็จการโดยรัฐหรือองค์กรธุรกิจ



upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide



 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us