Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 



new releases
Manager 360 aStore






 
Women Don't Ask
ผู้เขียน: Linda Babcock, Sara Laschever
ผู้จัดพิมพ์: Princeton
จำนวนหน้า: 223
ราคา: $24.95
buy this book

สาวผู้ไม่ช่าง "เจรจา"

Linda Babcock ศาสตราจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์ และ Sara Laschever นักเขียนค้นพบว่า ปัญหาที่ผู้หญิงได้รับเงินเดือนน้อยกว่า และโอกาสก้าวหน้าในการทำงานด้อยกว่าผู้ชายนั้น เป็นเพราะผู้หญิงไม่ค่อยจะเจรจาต่อรองเรื่องเงินเดือนเหมือนกับผู้ชาย ในขณะที่ผู้ชายจะต่อรองขอเงินเดือนที่มากกว่าที่ได้รับการเสนอ แต่ผู้หญิงกลับยอมรับเงินเดือนที่ได้รับการเสนอครั้งแรก

จากการศึกษาของ Babcock ที่ทำกับมหาบัณฑิตของมหาวิทยาลัย Carnegie Mellon University พบว่า เงินเดือนเริ่มต้นของมหาบัณฑิตชายสูงกว่ามหาบัณฑิตหญิงถึง 7.6% หรือเกือบ 4,000 ดอลลาร์โดยเฉลี่ย และพบว่ามีมหาบัณฑิตหญิงเพียง 7% เท่านั้นที่ต่อรองเรื่องเงินเดือน ในขณะที่มหาบัณฑิตชาย 57% หรือมากกว่าหญิงถึง 8 เท่า จะต่อรองขอเพิ่มอัตราเงินเดือนเริ่มต้น

ผู้แต่งสรุปว่า ความไม่เท่าเทียมของเงินเดือนเริ่มต้นของผู้หญิงกับผู้ชาย อาจถูกกำจัดได้ หากผู้หญิงกล้าที่จะต่อรอง

สาวผู้ไม่เคย "ขอ"

ผู้แต่งได้ค้นหาสาเหตุว่า เหตุใดผู้หญิงจึงไม่นำการเจรจาต่อรองมาใช้มากเท่ากับผู้ชาย และพบว่า ผู้หญิงมักไม่รู้ว่าเธอสามารถจะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่เธอไม่ต้องการได้ และไม่รู้ว่าเธอสามารถจะ "ขอ" ในสิ่งที่เธอต้องการได้

นั่นเป็นเพราะกลไกของสังคมได้จำกัดว่า ผู้หญิงที่ดีควรและไม่ควรจะทำสิ่งใด ผู้หญิงที่ดีควรคิดถึงความต้องการของคนอื่นก่อนความต้องการของตัวเอง และผู้หญิงดีไม่ควรยืนยันความต้องการและความปรารถนาของตน

หนังสือเล่มนี้แสดงให้ผู้อ่านที่ไม่ใช่ชาวตะวันตกได้รู้ว่า แม้แต่ในวัฒนธรรมตะวันตกอันทันสมัย ก็ยังขัดขวางไม่ให้ผู้หญิงได้ "ขอ" ในสิ่งที่เธอต้องการ ผู้แต่งได้เน้นว่า เป็นความผิดของวัฒนธรรมตะวันตก ไม่ใช่ความผิดที่ตัวผู้หญิง และผู้หญิงไม่จำเป็นต้องแก้ไขตัวเองแต่อย่างใด ที่ไม่ได้รับความเท่าเทียมกับผู้ชาย หากแต่สังคมต่างหากที่ควรจะเปลี่ยนแปลง และควรคิดใหม่เกี่ยวกับสิ่งที่ผู้หญิงควรและไม่ควรทำ

เหตุเกิดที่ Deloitte and Touche

Deloitte and Touche เป็นบริษัทบัญชีและที่ปรึกษาระดับโลก ซึ่งมีพนักงาน 29,000 คนในสหรัฐฯ และ 95,000 คนทั่วโลก เคยประสบปัญหาพนักงานหญิงลาออกบ่อยมากในปี 1991 โดยมีผู้จัดการหญิงลาออกมากถึง 33% ในแต่ละปี บริษัทจึงได้จัดตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจเพื่อแก้ไขปัญหานี้ และพบว่า ผู้จัดการหญิงที่ลาออกต่างบอกเป็นเสียงเดียวกันว่า สาเหตุเป็นเพราะวัฒนธรรมชายเป็นใหญ่ของบริษัท

บริษัทจึงเริ่มทำการเปลี่ยนแปลง ทั้งในเรื่องการมอบหมายงานและประเมินผลงาน และเริ่มจัดทำโครงการส่งเสริมความก้าวหน้าในงานอาชีพให้แก่พนักงานหญิง ทำให้ในปี 2000 จำนวนผู้จัดการหญิงที่ทำงานอยู่กับบริษัทนานจนถึงขั้นได้เลื่อนเป็นหุ้นส่วน เพิ่มขึ้น 3 เท่า จากเดิม 5% เป็น 14% และทำให้บริษัทสามารถประหยัดเงินค่าใช้จ่ายในการว่าจ้างและฝึกอบรมไปได้ถึง 250 ล้านดอลลาร์



upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide



 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us