Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 



new releases
Manager 360 aStore






 
The Third Screen
ผู้เขียน: Chuck Martin
ผู้จัดพิมพ์: Nicholas Brealey Publishing
จำนวนหน้า: 230
ราคา: $28.95
buy this book

โลกกำลังเข้าสู่ยุค “จอที่สาม” โดย “จอที่หนึ่ง” หมายถึงโทรทัศน์ ได้ปฏิวัติการเข้าถึงลูกค้าของธุรกิจ เมื่อธุรกิจสามารถส่งโฆษณาตรงเข้าไปถึงในบ้านของลูกค้าได้ ส่วน “จอที่สอง” คือเครื่องคอมพิวเตอร์ ทำให้ธุรกิจกับลูกค้าสามารถสื่อสารแบบ 2 ทางได้อย่างง่ายดาย ธุรกิจสามารถรู้ผลตอบรับและคำแนะนำติชมจากลูกค้าได้ทันที ส่วน “จอที่สาม” หมายถึงเครื่องมือสื่อสารพกพา เช่น smartphone ซึ่งกำลังปฏิวัติและเปลี่ยนแปลงโลกให้เข้าสู่ยุคเครื่องมือสื่อสารครองโลก

ธุรกิจและนักการตลาดจึงจำเป็นต้องรีบเร่งทำความเข้าใจกับโลกยุค smartphone ครองโลก ซึ่งลูกค้าไม่ถูกจำกัดด้วยสถานที่และ เวลาอีกต่อไป สามารถติดต่อและรับส่งข้อมูลข่าวสารได้ตลอดเวลา โดยไม่ต้องอยู่กับที่ โดยผ่านเครื่องมือพกพาทั้งหลาย โดยเฉพาะเครื่องมือสื่อสารอัจฉริยะอย่าง smartphone

The Third Screen เล่มนี้จะชี้ให้เห็นพัฒนาการทางเทคโน โลยีของ m-commerce ที่ตามติดมาด้วยการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ของผู้บริโภคให้กลายเป็นผู้บริโภคที่มีอำนาจแห่งดิจิตอลอยู่ในกำมือ

หน้าจอที่สาม
โทรทัศน์ “the first screen” ได้ปฏิวัติวิธีการที่นักการตลาด ใช้ในการเข้าถึงผู้บริโภค ทำให้ธุรกิจสามารถเข้าถึงผู้บริโภคนับล้านๆ คนพร้อมกัน ด้วยการส่งสารที่ถูกออกแบบมาอย่างดี ภายใต้การควบคุมของธุรกิจ ยุค “จอที่หนึ่ง” นี้เป็นยุคที่นักการตลาดครองโลก

เครื่องคอมพิวเตอร์ “the second screen” ส่งเสริมการสื่อสาร 2 ทางระหว่างธุรกิจกับลูกค้าให้สะดวกง่ายดายมากขึ้นอย่าง ที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ทำให้ธุรกิจสามารถสื่อสารและขายสินค้าและบริการแก่ลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว และรับทราบความพอใจหรือคำตำหนิติเตียนจากลูกค้าได้ในทันที “จอที่สอง” นี้ ถึงกับเปิดโอกาส ให้ลูกค้าเข้าไปมีส่วนร่วมอย่างมากในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการของธุรกิจอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ยุคนี้เป็นการเคลื่อนย้ายจาก การตลาดแบบ mass marketing ไปเป็นการตลาดแบบมีส่วนร่วม หรือ participatory marketing ซึ่งหมายถึงลูกค้าสามารถเข้าถึงเครือข่ายข้อมูลที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และบริการที่มีอยู่มากมายบนอินเทอร์เน็ตได้ง่ายๆ ภายในพริบตาเดียว

“จอที่สาม” คือ smartphone ทำให้ลูกค้าสามารถสื่อสารกันเองได้โดยตรงอย่างสะดวกง่ายดายและรวดเร็ว สามารถแบ่งปัน ข้อมูลข่าวสารและความคิดเห็น ไม่ใช่เฉพาะแค่ real time แต่ “ตลอดเวลา” แม้ว่าพวกเขาจะไม่อยู่กับที่ก็ตาม นี่จึงเป็นทั้งความท้าทายและโอกาสของธุรกิจ ที่จะต้องหาวิธีแทรกตัวเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของการติดต่อสื่อสารกันเองระหว่างลูกค้านี้ให้ได้ หากต้องการที่จะอยู่รอดในยุคที่ smartphone ครองโลก

ลูกค้าที่มีอำนาจ m-Power
โลกเข้าสู่ยุคที่เครื่องมือสื่อสารเคลื่อนที่ครองโลก แต่สิ่งสำคัญไม่ใช่เทคโนโลยี หากแต่เป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภค เทคโนโลยีใหม่ที่ไม่อาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ผู้บริโภคได้ เป็นเทคโนโลยีที่ไร้ความหมาย และหากนักการตลาดพลาดที่จะเข้าใจประเด็นนี้ พวกเขาก็เสี่ยงที่จะตกยุค

หากเราบอกกับคนเมื่อ 10 ปีก่อนว่า พวกเขาจะใช้นิ้วโป้งเพียงนิ้วเดียวในการพิมพ์ข้อความ คงจะไม่มีใครเชื่อเลยแม้แต่คนเดียว แต่ในวันนี้กลับกลายเป็นเรื่องธรรมดา สำหรับผู้ที่ใช้ smart-phone ไม่ว่าจะเป็น BlackBerry, iPhone หรือ Droid เดี๋ยวนี้คนอ่านหนังสือบน iPhone กันแล้ว และนักการตลาดในยุค smart-phone ครองโลกเอง คือผู้ที่จะยิ่งทำให้พฤติกรรมของผู้บริโภคในการใช้ smartphone เปลี่ยนแปลงมากยิ่งขึ้นไปอีก เพราะพวกเขาจะยิ่งทำให้ผู้บริโภคสามารถชอปปิ้งและซื้อผลิตภัณฑ์และบริการได้อย่างสะดวกง่ายดายผ่านทางโทรศัพท์มือถือ

ผู้บริโภคในยุคมือถือครองโลกเป็นอิสระจากคอมพิวเตอร์ชนิด อยู่กับที่ เพราะสามารถเข้าถึงข้อมูลหรือเครือข่ายผ่านโทรศัพท์มือถือ โดยไม่ต้องถูกจำกัดด้วยสถานที่หรือเวลา ผู้บริโภคยุคนี้ชอบที่จะต่อ อินเทอร์เน็ตตลอดเวลา สามารถติดต่อสื่อสารกับใครก็ได้ทุกที่ ทุกเวลา ซึ่งเท่ากับว่า “จอที่สาม” ได้เพิ่มอำนาจให้แก่ผู้บริโภค ทำให้พวกเขามีอำนาจทางดิจิตอลอยู่ในมือตลอดเวลาแม้ในขณะเคลื่อนที่

พฤติกรรมของผู้บริโภคที่มีอำนาจเพิ่มขึ้นจากการมี smart-phone หรือ m-Powered customer คือพวกเขาจะนิยมบริโภคข้อมูล ผ่าน smartphone ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดก็ตาม และจะเชื่อข้อมูลที่ได้รับจาก เพื่อนหรือเครือข่ายสังคมมากกว่าข้อมูลที่ได้รับจากการโฆษณา เกิดเป็น “ระบบข้อมูลจากความเห็นของผู้บริโภค” หากผู้บริโภคคนใดชอบหรือ เกลียดสิ่งใด เขาจะไม่รีรอที่จะทำให้คนอื่นได้รับรู้ด้วยทันที ในทำนอง เดียวกันหากเขาเกิดชอบใจสินค้าหรือบริการใดขึ้นมาก็สามารถตัดสิน ใจซื้อได้ทันทีผ่าน smartphone

นี่จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ธุรกิจจะต้องติดตามพฤติกรรมการใช้ “จอ ที่สาม” ของผู้บริโภคให้ทัน ว่ารูปแบบการใช้ของพวกเขาเป็นอย่างไร และพวกเขาชอบหรือไม่ชอบอะไร ไม่เช่นนั้นธุรกิจก็จะเสี่ยงกับการสร้างผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ไม่เข้ากับพฤติกรรมการใช้ smartphone ของผู้บริโภค

Smartphone ครองโลก
การเติบโตของ smartphone ยังไม่มีทีท่าว่าจะหยุดลง สิ่งที่ผลักดันให้ smartphone เติบโตคือฟังก์ชันการใช้งาน ผู้บริโภคสามารถ ค้นหาข้อมูลได้เร็วขึ้น ได้รับบริการเฉพาะตัว และสามารถทำอะไรได้มากมายผ่าน smartphone แม้ว่าจะไม่ได้อยู่กับที่ก็ตาม จากที่เคยต้องถูกจำกัดด้วยสถานที่และเครื่องคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ

จุดเปลี่ยนที่ทำให้ smartphone เติบโตแบบก้าวกระโดด คือการถือกำเนิดขึ้นของ iPhone จาก Apple ซึ่งทำให้เกิด application ตามมานับร้อยนับพัน ซึ่งล้วนแต่ส่งเสริมให้การใช้อินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ เครือข่าย 3G ยิ่งทำให้การใช้งาน อินเทอร์เน็ตบนโทรศัพท์มือถือรวดเร็วมากยิ่งขึ้น และยังทำให้รับส่งคลิปวิดีโอและข้อมูลเสียงได้ด้วยความเร็วสูง ขณะนี้เครือข่าย 4G ก็เริ่มมีการใช้งานแล้วด้วยความเร็วที่สูงยิ่งไปกว่า 3G อีก 5-10 เท่า ก็จะยิ่งทำให้การรับส่งข้อมูลและคลิปวิดีโอเพิ่มขึ้นอีกอย่างมหาศาล ยิ่ง เมื่อบวกกับตัวประมวลผลคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ที่จะมีความเร็วสูงขึ้น ก็จะยิ่งสามารถใช้งาน smartphone ด้วยความเร็วสูงขึ้นไปอีก เชื่อว่า ยอดขาย smartphone จะแซงหน้ายอดขายเครื่องคอมพิวเตอร์ PC ในอีกไม่นานนี้ธุรกิจจำนวนมากบอกว่า iPhone ได้เปลี่ยนแปลงธุรกิจ ของพวกเขาไปอย่างสิ้นเชิง

มีบางเวลาที่ผู้บริโภค m-powered ไม่ได้เคลื่อนที่ แต่กำลังอยู่ในสถานที่แห่งใดแห่งหนึ่ง ธุรกิจก็ยังสามารถที่จะแทรกตัวเข้าหาผู้บริโภคได้ ด้วยการให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์เกี่ยวข้องกับสถานที่นั้น แม้ว่าผู้บริโภคอาจจะยังไม่ตัดสินใจซื้อในทันทีก็ตาม นี่คือการให้ข้อมูล แบบ location-based ผ่านโทรศัพท์มือถือ ซึ่งจะช่วยให้ธุรกิจสามารถ ส่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องไปถึงผู้ที่อาจจะเป็นลูกค้าได้ในทันที ลูกค้าสามารถ เก็บข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่เหล่านั้นไว้ เพื่อกลับเข้ามาดูใหม่ในภายหลัง ยกตัวอย่างเช่น หากลูกค้ากำลังค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่หนึ่ง ผ่าน app ใน smartphone โดยที่ app นั้นมีฟังก์ชันการติดตามสถานที่ หากลูกค้ายินยอม พวกเขาจะได้รับข้อมูลโฆษณาผลิตภัณฑ์หรือบริการ ที่เกี่ยวข้องกับสถานที่นั้นๆ ภายในเวลาอันรวดเร็ว นอกจากนี้ นักการตลาดสามารถมอบข้อมูลของลูกค้าให้แก่บริษัทเจ้าของผลิตภัณฑ์หรือ บริการนั้น เพื่อให้จัดเตรียมสินค้าหรือบริการนั้นให้พร้อมและสามารถ จะส่งมอบให้แก่ลูกค้าได้ทันทีที่ลูกค้าติดต่อเข้าไปยังบริษัท



upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide



 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us