Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 



new releases
Manager 360 aStore






 
Beyond Performance
ผู้เขียน: Colin Price, Scott Keller
ผู้จัดพิมพ์: John Wiley & Sons
จำนวนหน้า: 280
ราคา: $29.95
buy this book

ประดิษฐกรรมที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาลของมนุษย์ไม่ใช่ล้อ หากแต่เป็น “องค์กร” ด้วยการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิผล ทำให้คนเราสามารถบรรลุความสำเร็จได้มากกว่าการทำงานเพียงคนเดียวมากมายนัก แต่ในยุคที่กำลังเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การเมืองและสังคมอย่างทุกวันนี้ องค์กรยิ่งต้องทำงานด้วยประสิทธิภาพที่สูงมากกว่าที่เคยเป็นมา เพื่อทำให้ได้เช่นนั้น องค์กรต้องการผู้นำที่เข้าใจทั้งการทำให้องค์กรบรรลุความ เป็นเลิศ และรู้วิธีที่จะรักษาความสำเร็จนั้นเอาไว้

จากผลการศึกษาพบว่ามีเพียง 1 ใน 3 ขององค์กรสามารถ บรรลุความเป็นเลิศเท่านั้น ที่สามารถรักษาความเป็นเลิศไว้ต่อไปได้ ในช่วงหลายทศวรรษต่อจากนั้น และมีองค์กรจำนวนน้อยกว่านั้นอีก ที่สามารถเปลี่ยนแปลงตัวเองได้สำเร็จ เมื่อประสบปัญหา ตัวเลขนี้มีนัยที่น่าตกใจ เพราะหมายความว่า บริษัทส่วนใหญ่ที่มีอยู่ในทุกวันนี้ จะต้องอันตรธานหายไปภายในอีก 20 ปี หากหมายถึงหน่วยงานรัฐบาล ก็หมายความว่า โครงการปฏิรูปส่วนใหญ่ของรัฐบาลที่ทำอยู่ทุกวันนี้ จะล้มเหลวในอนาคต ซึ่งพลอยทำให้การเปลี่ยนแปลงสังคม อันเป็นเป้าหมายของโครงการเหล่านั้นต้องพลอยล้มเหลวตามไปด้วย

สุขภาพขององค์กร

ในบรรดาบริษัทที่ติดอันดับรายชื่อ “Fortune 500” ล้วนเป็น บริษัทที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในสหรัฐฯ เมื่อ 30 ปีก่อนนั้น เมื่อมาถึงปี 2006 หรือก่อนที่จะเกิดวิกฤติการเงินโลกครั้งล่าสุด ปรากฏว่า 20% ของบริษัทเหล่านั้นไม่มีอยู่อีกต่อไป อีก 46% กำลังประสบปัญหาอย่าง หนัก มีเพียง 33% เท่านั้นที่ยังคงเป็นบริษัทที่มีประสิทธิภาพสูงเหมือน เมื่อ 30 ปีก่อน เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น

แค่ “ประสิทธิภาพ” ยังไม่เพียงพอ

ผลการสำรวจพบด้วยความประหลาดใจว่า ผู้นำที่ประสบความ สำเร็จ และสามารถรักษาบริษัทให้ประสบความสำเร็จต่อไปอีกนานเท่านานนั้น นอกจากจะลงทุนริเริ่มสิ่งใหม่ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ขององค์กรในระยะสั้นแล้วยังมักจะลงทุนเป็นจำนวนมาก ในสิ่งที่อาจ มองไม่เห็นประโยชน์ชัดเจนในระยะสั้น และโดยไม่มีสิ่งใดสามารถรับประกันด้วยซ้ำว่า การลงทุนนั้นจะให้ผลตอบแทนในอนาคต ยกตัวอย่างเช่น บริษัท Infosys Technologies บริษัทที่ปรึกษาด้าน IT ซึ่งมี N.R. Narayana Murthy เป็นประธาน Murthy กล่าวถึงความจำเป็นในการทำให้พนักงาน “เชื่อมั่น” ในอนาคตของบริษัท และสร้าง “DNA ให้แก่องค์กร เพื่อการประสบความสำเร็จในระยะยาว”

และนั่นก็คือเหตุผลว่า เหตุใดลำพังการมีประสิทธิภาพสูงจึงยังไม่เพียงพอ แต่องค์กรต้องมี “สุขภาพที่ดี” ด้วย

ต่อไปนี้คือความหมายของประสิทธิภาพและสุขภาพขององค์กร

ประสิทธิภาพขององค์กร คือสิ่งที่ธุรกิจส่งมอบให้แก่ผู้มีส่วนได้ ส่วนเสียของบริษัท ในรูปการเงินและประสิทธิภาพทำงาน ซึ่งประเมิน จากมาตรฐานที่เป็นรูปธรรมชัดเจน อย่างเช่นผลกำไรการดำเนินงานสุทธิ ผลตอบแทนการลงทุน ผลตอบแทนต่อผู้ถือหุ้น ค่าใช้จ่ายการดำเนินการสุทธิ เป็นต้น

สุขภาพขององค์กร หมายถึงความสามารถขององค์กรในการปรับเปลี่ยน ปฏิบัติ และเปลี่ยนตัวเองใหม่อย่างรวดเร็วและนำหน้าการ แข่งขัน เพื่อให้ดำรงรักษาประสิทธิภาพขั้นสูงสุดไว้ได้แม้เวลาผ่านไป

4 ต้นแบบบริษัทสุขภาพดี

องค์กรที่มีสุขภาพดีอาจแบ่งได้เป็น 4 แบบ จากผลสำรวจพบว่า 4 ใน 5 ขององค์กรที่มีสุขภาพดี จะอยู่ในแบบใดแบบหนึ่งใน 4 แบบนี้

Leadership Driven องค์กรที่อยู่ในข่ายนี้เชื่อว่าผู้นำคือตัวเร่ง ให้เกิดประสิทธิภาพ จะมีการตั้งเป้าหมายสูงและผู้นำจะสนับสนุนให้องค์กรบรรลุเป้าหมายนั้น

Execution Edge คือองค์กรที่เชื่อว่า วินัย การปฏิบัติงานอย่างสมบูรณ์ไม่มีขาดตกบกพร่อง และการหมั่นปรับปรุงการทำงานอยู่ตลอดเวลา คือรากฐานของประสิทธิภาพ

Market Focus บริษัทที่จัดอยู่ในกลุ่มนี้เชื่อว่า การกำหนดแนวโน้มในตลาด และการสร้างแบรนด์ที่เข้มแข็งและมีนวัตกรรม จะทำให้พวกเขานำหน้าทุกคน

Knowledge Core บริษัทในกลุ่มนี้เชื่อว่า ทัพคนเก่งและขุมความรู้ในบริษัทเป็นสินทรัพย์ที่มีค่าที่สุดขององค์กร และความสำเร็จขององค์กรขึ้นอยู่กับการพัฒนาสินทรัพย์นี้

ธนาคาร Wells Fargo ของสหรัฐฯ เป็นองค์กรที่มีวัฒนธรรมองค์กรแข็งแกร่ง เป็นผู้นำอุตสาหกรรมในหลายผลิตภัณฑ์และหลายกลุ่มลูกค้า เมื่อ John Stumpf เข้ามารับตำแหน่งผู้บริหารคนใหม่ เขาสั่งให้มีการทบทวนวิเคราะห์ประสิทธิภาพของธนาคารที่เป็นอยู่ในปัจจุบันกับแนวโน้มในอนาคต ผลปรากฏว่า ผลการวิเคราะห์พบแนวโน้มที่น่าวิตกหลายอย่างกำลังก่อตัว

ผลการวิเคราะห์ “สุขภาพ” ของธนาคารยังพบว่า Wells Fargo เป็นองค์กรที่เข้าข่ายองค์กรประเภท execution-edge คือเน้นการสร้างอัตราการเติบโตสูงไม่ว่าสภาพเศรษฐกิจจะเป็นอย่างไร และเพิ่งตัดสินใจเน้นการเพิ่มการขาย cross-selling และเพิ่มความภักดีของลูกค้า การตัดสินใจดังกล่าวหมายความว่าธนาคารกำลังจะเปลี่ยน แปลงตัวเองจากองค์กรแบบ execution-edge ไปเป็น market-focus โดยจะต้องไม่สูญเสียความแข็งแกร่งและความมีวินัยขององค์กรแบบ execution-edge ไป

Wells Fargo ให้ความสำคัญเท่าๆ กัน ทั้งการริเริ่มใหม่ๆ ใน การปรับปรุงประสิทธิภาพ และการใช้วิธีคิดที่มุ่งรักษาสุขภาพของบริษัท ภายในเวลาเพียง 2 ปี อัตราการขาย cross-sell ของธนาคารเพิ่มขึ้น 18% และสามารถขายผลิตภัณฑ์ของธนาคารได้มากถึง 5.2 ผลิตภัณฑ์ต่อลูกค้า ซึ่งเป็นอัตราที่สูงมาก ความภักดีของลูกค้ากระโดดจาก 34% เป็น 45% การสูญเสียลูกค้าลดลงจาก 20% เหลือเพียง 10% รายได้สุทธิเติบโต 31% ในขณะที่ธนาคารคู่แข่งอื่นๆ เติบโตเพียง 11% เท่านั้น ทั้งหมดนี้แสดงถึงประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้น

ส่วนในด้านสุขภาพของธนาคาร จำนวนพนักงานที่รู้สึกว่าวิธีการทำงานของพวกเขาช่วยให้ลูกค้ารู้สึกสะดวกง่ายดายขึ้นในการใช้บริการของธนาคารเพิ่มขึ้น 23% จำนวนพนักงานที่รู้สึกว่าความร่วมมือ ระหว่างพนักงานภายในธนาคารเป็นประโยชน์ต่อลูกค้าเพิ่มขึ้น 16% และอัตราส่วนระหว่างพนักงานที่กระตือรือร้นและมีส่วนร่วมกับพนักงานที่เฉยเมยเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด จาก 4:1 เป็น 7:1



upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide



 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us