Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 



new releases
Manager 360 aStore






 
Full Engagement!
ผู้เขียน: Brian Tracy
ผู้จัดพิมพ์: AMACOM
จำนวนหน้า: 226
ราคา: $22.00
buy this book

ผู้จัดการมีหน้าที่กระตุ้นให้พนักงานทุ่มเทกับการทำงานอย่างเต็มที่ เพื่อให้บริษัทได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนในการว่าจ้างพนักงานอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย แต่คุณจะกระตุ้นพนักงานให้ทุ่มเทกับการทำงานได้อย่างไร ในเมื่อผลการศึกษาหลายครั้งพบว่าพนักงานส่วนใหญ่ใช้พลังในการทำงานเพียงแค่เศษเสี้ยวของศักยภาพที่แท้จริงที่พวกเขามี Full Engagement! เล่มนี้ แนะนำวิธีปลดล็อกประสิทธิภาพการทำงานในระดับซูเปอร์สตาร์ รวมทั้งแรงขับและความสามารถที่ซ่อนเร้นอยู่ออกมาจากพนักงานทุกคน เพื่อให้เกิดการทำงานที่มีประสิทธิภาพสูงสุด ทั้งในระดับบุคคลและองค์กร

โลกธุรกิจเริ่มเปลี่ยนแปลงอย่างไม่มีวันหวนกับไปเป็นอย่างเดิม มาตั้งแต่ปี 2008 และทุกวันนี้คุณกำลังเผชิญกับโลกใบใหม่ และวันดีๆ แต่เก่าก่อนจะไม่มีวันหวนกลับคืนมาอีกแล้ว สิ่งที่คุณกำลังเผชิญคือ ตลาดที่กำลังหดตัว การแข่งขันที่เพิ่มขึ้น ลูกค้าที่เรียกร้องมากขึ้น และการขาดแคลนพนักงานที่มีคุณภาพสูง คุณต้องสร้างผลงานให้มากขึ้นและดีขึ้น แต่ต้องใช้ทรัพยากรน้อยลง

คนส่วนใหญ่ใช้พลังทำงานเพียงครึ่งเดียว

จากการศึกษาพบว่า คนส่วนใหญ่ทำงานเพียงแค่ 50% ของความสามารถทั้งหมดที่มีอยู่ สาเหตุเพราะการมอบหมายงานที่ไม่ชัดเจน ขาดการจัดลำดับความสำคัญของงาน ผู้นำไม่เก่ง ไร้ทิศทาง และไม่มี การประเมินผลงาน พนักงานส่วนใหญ่ผลาญพลังงานที่เหลืออีก 50% หรือมากกว่าไปกับสิ่งที่ไม่เป็นแก่นสารต่อการทำงาน เช่น คุยเล่นกับเพื่อนร่วมงาน ละเลียดกับมื้อกลางวันหรือช่วง coffee break มาทำงาน สายแต่กลับก่อน แอบเล่นอินเทอร์เน็ตในเวลางาน แอบทำเรื่องส่วนตัว และเรื่องที่ไม่เป็นสาระต่อการทำงาน กล่าวโดยสรุปคือเป็นกิจกรรมที่ไม่ทำให้บริษัทได้รับผลตอบแทนที่คุ้มค่าจากพนักงาน เมื่อเทียบกับการ ลงทุนของบริษัทต่อพนักงานในรูปของค่าจ้างเงินเดือนและสวัสดิการ

กฎทองแห่งการบริหาร

เมื่อถามคนส่วนใหญ่ว่า การตัดสินใจของมนุษย์ใช้ความรู้สึกหรือ เหตุผลมากกว่ากัน คำตอบคือใช้เหตุผลมากกว่า แต่ความจริงที่ได้จาก การศึกษาวิจัยคือ คนตัดสินใจโดยใช้อารมณ์ความรู้สึก 100% มนุษย์ทุกคนรวมทั้งตัวคุณตัดสินใจโดยใช้อารมณ์ความรู้สึกล้วนๆ แล้วจึงค่อย หาเหตุผลมารองรับ เรามักตัดสินใจทันทีโดยใช้อารมณ์ความรู้สึก บางครั้งอาศัยการมองเพียงแค่แวบเดียว หรือข้อมูลเพียงแค่ชิ้นเดียว แล้วจากนั้นเราจะยอมเสียเวลาหลายชั่วโมงหรือเป็นเดือนๆ เพื่อหาเหตุผล ข้ออ้างมาสนับสนุนการตัดสินใจด้วยอารมณ์ของเรา คุณรู้หรือไม่ว่า อารมณ์ความรู้สึกพื้นฐานใดที่อยู่เบื้องหลังการ กระทำและพฤติกรรมทุกอย่างของมนุษย์ บางคนอาจตอบว่า “เงิน” “ความกลัวการสูญเสีย” หรือ “ความรัก” แต่อารมณ์ความรู้สึกที่เป็นแรงจูงใจอันทรงพลังที่สุดเพียงอย่างเดียวของมนุษย์คือ “ความต้องการมีความสุข”

อริสโตเติลเคยกล่าวไว้ในหนังสือ Nichomachean Ethics ของเขาว่า เบื้องหลังแรงจูงใจทุกอย่างของมนุษย์ ยังมีแรงจูงใจอื่นๆ อยู่ และเมื่อสาวลึกลงไปเรื่อยๆ ก็จะพบกับแรงจูงใจที่เป็นพื้นฐานของทุกสิ่ง นั่นคือความต้องการมีความสุข

โชคดีที่การทำให้พนักงานรู้สึกมีความสุข เป็นเรื่องง่าย ทั้งหมดที่ผู้จัดการต้องการคือการใช้ “กฎทองคำ” ในทุกๆ การกระทำของคุณ นั่นคือ “จงกระทำต่อผู้อื่น เหมือนดังที่ท่านต้องการให้ผู้อื่นกระทำต่อท่าน” กล่าวกันว่า ตลอดหลายร้อยปีมานี้มีการค้นพบแนวคิดใหม่ๆ มากมายที่สอนเรื่องการปรับปรุงความสัมพันธ์ของมนุษย์ แต่ยังไม่เคย มีความคิดใดเลยที่จะยอดเยี่ยมไปกว่ากฎง่ายๆ ข้อนี้

X Factor

การค้นพบครั้งสำคัญที่ทำให้เราเข้าใจถึงแรงจูงใจของคนเกิดขึ้น ในปี 1928 ที่ Hawthorne Works โรงงานผลิตไฟฟ้านอกเมืองชิคาโก เมื่อกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านทรัพยากรมนุษย์ ได้ทำการทดลองตามหลักการ บริหารเชิงวิทยาศาสตร์ของ Frederick Taylor ในการเพิ่มประสิทธิภาพ การทำงาน คนงานหญิงที่ทำงานประกอบมอเตอร์ไฟฟ้ากลุ่มหนึ่ง ถูกคัดเลือกมาเพื่อเข้าโครงการศึกษาครั้งนั้น พวกเธอได้รับแจ้งเหตุผลที่ได้รับคัดเลือกว่า เป็นเพราะพวกเธอทำงานได้ยอดเยี่ยม และได้รับแจ้ง รายละเอียดของการทดลอง ซึ่งจะมีการเปลี่ยนแปลงปัจจัยต่างๆ ในสภาพแวดล้อมการทำงาน เพื่อจะศึกษาว่า ปัจจัยแต่ละอย่างมีผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานอย่างไร

ผลการทดลองสร้างความประหลาดใจให้แก่คณะนักวิจัยอย่างยิ่ง ไม่ว่าพวกเขาจะเปลี่ยนแปลงปัจจัยแวดล้อมในการทำงานไปอย่างไร ผลที่ได้กลับเหมือนกันทุกครั้งนั่นคือ ประสิทธิภาพการทำงานของกลุ่ม คนงานหญิงในโครงการทดลองนั้นเพิ่มขึ้นทุกครั้ง คณะนักวิจัยรู้สึกงุนงง และไม่สามารถหาคำตอบได้ว่า เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น ในที่สุดพวกเขาจึงต้องถามจากปากของคนงานหญิง คำตอบของกลุ่มคนงานหญิงคือ การได้รับเลือกเพื่อทำการทดลองครั้งนี้ ทำให้พวกเธอ รู้สึก “เป็นคนพิเศษ” และรู้สึกว่าทางฝ่ายบริหารมองเห็นคุณค่าและให้เกียรติพวกเธอ อย่างสูง ผลก็คือ ทุกครั้งที่นักวิจัยเปลี่ยนแปลงปัจจัยสภาพแวดล้อมในการทำงาน คือการ “เตือน” ว่าพวกเธอเป็นคนพิเศษ ดังนั้น ทุกคน จึงทุ่มเททำงานให้หนักยิ่งขึ้นและดียิ่งขึ้น

นักวิจัยเรียกผลจากการทดลองนี้ว่า “X factor” ต่อมาเป็นที่รู้จักในชื่อว่า “ปัจจัยทางจิตวิทยา” (psychological factor) หมาย ความว่า การเปลี่ยนแปลงความคิดและอารมณ์ความรู้สึกของพนักงาน มีพลังและได้ผลในการจูงใจให้เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ได้มากกว่า การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพภายนอกอื่นใด

การมองเห็นตัวตน

การค้นพบเรื่องการมองเห็นตัวตน (self-concept) เป็นหนึ่งในความก้าวหน้าที่สำคัญที่สุดทางจิตวิทยาในยุคศตวรรษที่ 20 ทำให้รู้ว่า ตัวตนที่คนแต่ละคนมองเห็นตัวเองเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมของ คนคนนั้นในทุกๆ ด้าน ดังนั้น การจะเปลี่ยนแปลงประสิทธิภาพของคน ต้องเริ่มต้นที่การเปลี่ยนแปลงความคิดที่พวกเขามองตัวเอง

self-concept ประกอบด้วยความคิด ความรู้สึก ความต้องการ การกระทำ ประสบการณ์และการตัดสินใจทุกอย่างที่คนคนหนึ่งได้เคย ผ่านมา นับตั้งแต่ที่เขายังเป็นทารก หรือแม้ก่อนหน้านั้น self-concept เป็นกุญแจในการเข้าใจบุคลิกภาพของมนุษย์ ประสิทธิภาพและความสุข พฤติกรรมที่ทุกคนแสดงออกภายนอกนั้น ล้วนเกิดขึ้นจากความคิด ภายในของการมองเห็นตัวเอง self-concept ประกอบขึ้นจาก 3 ส่วน คือ ตัวตนในอุดมคติ (Self-Ideal) ตัวตนที่ตนมองเห็น (Self-Image) และสุดท้ายคือคุณค่าแห่งตน (Self-Esteem)



upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide



 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us