Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 



new releases
Manager 360 aStore






 
Viral Loop
ผู้เขียน: Adam L. Penenberg
ผู้จัดพิมพ์: Hyperion
จำนวนหน้า: 274
ราคา: $25.99
buy this book

บริษัทในยุค Web 2.0 ที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด อย่าง MySpace, YouTube, eBay, Twitter และ Flickr เป็นตัวอย่างที่ดีของสิ่งที่ Adam L. Penenberg เรียกว่า “viral loop” จะมีประโยชน์อะไรที่จะใช้ Facebook ถ้าไม่มีเพื่อนๆ เล่นด้วย viral loop หมายถึงการทำให้เว็บนั้นมีการใช้กันอย่างแพร่หลาย ผลก็คือ ยังไม่เคยมีบริษัทในยุคใดที่สามารถสร้างความร่ำรวยได้อย่างรวดเร็วและมหาศาลเท่านี้มาก่อน ด้วยจุดเริ่มต้นการลงทุนเพียงน้อยนิด

Penenberg จะเล่าถึงเรื่องราวอันน่าทึ่งของเจ้าของธุรกิจที่ริเริ่มนำศักยภาพของ viral loop มาใช้เป็นครั้งแรก จนสามารถสร้างธุรกิจออนไลน์ที่ประสบความสำเร็จอย่างสูง หลายพันหลายหมื่นล้านดอลลาร์ และกำลังกลายเป็นธุรกิจ ที่ผู้บริโภคติดหนึบและขาดไม่ได้ เคล็ดลับก็คือ พวกเขาสร้างสิ่งที่คนต้องการ “มากจริงๆ” มากจนกระทั่งลูกค้ายินดีที่จะบอกต่อกันไปเรื่อยๆ เพื่อให้คนอื่นหันมาใช้ผลิตภัณฑ์เดียวกัน เหมือนกับเป็นการโฆษณาให้ฟรีๆ

ธุรกิจทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นธุรกิจเล็กๆ ที่เพิ่งเริ่มต้น องค์กรไม่หวังผลกำไร ไปจนกระทั่งถึงบริษัทข้ามชาติที่ใหญ่ ที่สุด ต่างสามารถจะนำพลังของ viral loop ที่ฉีกรูปแบบเดิมๆ ของการทำธุรกิจทิ้ง มาใช้สร้างธุรกิจของคุณให้ประสบความสำเร็จด้วยเทคโนโลยีได้

สินค้าที่กระจายตัวเองได้

Ning เป็นตัวอย่างของบริษัทยุค Web 2.0 ที่เติบโต พรวดพราดอย่างน่ามหัศจรรย์ นับตั้งแต่ประกาศตัวว่าเป็น “Social Network สำหรับทุกสิ่งทุกอย่าง” มาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2007 Ning เสนอ platform ของ social network แบบทำได้ด้วยตัวเองหรือ do-it-yourself social network แก่ทุกคน ทำให้ใครๆ ก็สามารถตั้งกลุ่ม social network ได้ ภายในเวลาเพียง 4 เดือนเท่านั้น ได้เกิดกลุ่ม social network บน Ning ถึง 60,000 เครือข่าย พอ 8 เดือนก็เพิ่มเป็น 80,000 สิ้นปีเดียวกันนั้น เพิ่มขึ้นอีกเป็น 150,000 เครือข่าย และเมื่อถึง 18 เดือนเพิ่มเป็น 325,000 เครือข่าย หรือเท่ากับเพิ่มขึ้นวันละ 2,000 เครือข่าย

เดือนเมษายน 2009 Ning มีผู้ใช้เกือบ 29 ล้านคน (เพิ่มขึ้นเดือนละ 2 ล้านคน) มีจำนวน social network มากกว่า 1.3 ล้านเครือข่าย (มีการตั้งกลุ่ม social network กลุ่มใหม่ๆ เพิ่มขึ้นวันละ 3,500 กลุ่ม) ซึ่งมีหน้าเว็บรวมกันทั้งหมดถึง 2,700 ล้านหน้า คาดว่าเมื่อสิ้นสุดปี 2009 Ning มีผู้ใช้เพิ่มขึ้นเป็นกว่า 60 ล้านคน และมี social network เกือบ 3 ล้านกลุ่ม

viral coefficient

คนที่จัดตั้ง social network ขึ้นมา ไม่พ้นต้องชักชวน เพื่อนฝูงญาติพี่น้อง หรือคนที่ไม่รู้จักแต่มีความชอบเหมือนๆ กันให้มาเป็นสมาชิก social network ของตน และสมาชิกใหม่ยัง ชักชวนคนอื่นๆ ต่อไปอีก นี่คือเหตุผลที่ทำให้ Ning มีประสิทธิภาพแบบ viral coefficient หมายถึงความสามารถของสมาชิก แต่ละคน ในการเพิ่มจำนวนสมาชิกใหม่ๆ ในระดับที่มากกว่า 1.0 นี่คือกุญแจของการเติบโต เพราะหากมี viral coefficient เท่ากับ 1.0 แม้จะทำให้กลุ่ม social network นั้นโตก็จริง แต่เป็นการเพิ่มทีละ 1 แต่การมี viral coefficient มากกว่า 1.0 จะทำให้ social network นั้นโตแบบทวีคูณ และ Ning ก็เป็นอย่างนั้น คือมี viral coefficient เท่ากับ 2.0 ซึ่งหมายความว่า สมาชิกใหม่ 1 คน มีค่าเท่ากับ 2 คนโดยเฉลี่ย เพราะสมาชิกแต่ละคนสามารถชักชวนสมาชิกใหม่เพิ่มอีก 1 คน หรือเท่ากับเพิ่มขึ้นเท่าตัว ทำให้ Ning โตขึ้นเป็น 2 เท่าทุกๆ 5 เดือน

viral video กลยุทธ์การตลาดใหม่

ในปี 2008 Mentos ต้องการวางตำแหน่งแบรนด์ใหม่ หลังจากใช้เงิน 20 ล้านดอลลาร์ต่อปีไปกับการตลาดกับโฆษณา ทางทีวีเดิมๆ ที่ใช้มานาน 15 ปีและต้องการหาคนดังที่มีบุคลิก เหมือนกับ Mentos มากที่สุด จนมาลงตัวการจับคู่ Adam Sandler นักแสดงตลกชื่อดังจากภาพยนตร์ The Waterboy กับคลิปวิดีโออันโด่งดังบนอินเทอร์เน็ตอันหนึ่งที่มีชายทึ่ม 2 คน เอา Mentos กับขวด Diet Coke มาสร้างเป็นรูปจำลองน้ำพุ Bellagio Fountain ในลาสเวกัส คลิปวิดีโอดังกล่าวแพร่สะพัด ไปอย่างรวดเร็วราวกับการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส เพราะถูกดาวน์โหลดจากคนนับล้านๆ คน และมีคนทำเลียนแบบมาก มาย จนสื่อมวลชนสนใจทำข่าวกันเกรียวกราว และหลังจากนั้นก็คือการปฏิวัติทางการตลาด ที่กลายมาเป็นตัวอย่างในตำราวิชาการตลาด ของการที่บริษัทนำอิทธิพลของ viral video มาใช้ ในขณะที่โฆษณาทีวี 30 วินาทีกำลังเสื่อมอิทธิพลลงไปทุกที เพราะในโลกใหม่นี้ คนดูเท่านั้นคือคนที่ตัดสินว่าอะไรดีที่พวกเขาควรดู ในขณะที่ “ผู้รักษาประตู” ดั้งเดิม คือสถานีโทรทัศน์ สตูดิโอสร้างภาพยนตร์และสื่อทั้งหลายกำลังถูกผลักไสไปอยู่ข้างๆ การสามารถเลือกเนื้อหาที่ต้องการชมได้อย่างเสรี เป็นผลมาจากการที่กล้องวิดีโอมีราคาถูก โทรศัพท์มือถือติดกล้อง ซึ่งทำให้ผู้ใช้สามารถสร้างเนื้อหาเองได้อย่างง่ายดาย และยังสามารถกระจายไปยังคนอื่นๆ ได้ ด้วยความช่วยเหลือของเทคโนโลยี

eBay จากการทดลองความเชื่อตลาดเสรีสู่เว็บหมื่นล้าน

ด้วยความเชื่อมั่นในกลไกตลาดทำให้ Pierre Omidyar โปรแกรมเมอร์หนุ่มชาวอเมริกันเชื้อสายอิหร่านที่เกิดในฝรั่งเศส สนใจแนวคิดของการประมูล เขาคิดว่าอินเทอร์เน็ตที่เพิ่งเริ่มเกิดขึ้นในขณะนั้น คือสถานที่ที่สมบูรณ์แบบที่สุดในการทำการประมูล เพราะจะมีความโปร่งใสที่สุด ทุกคนสามารถเข้าถึงได้เท่าเทียมกัน และราคาที่ได้จะเป็นราคาสูงสุดที่ผู้ประมูลเต็มใจจ่าย ไม่น่าเชื่อว่า การทดลองเล็กๆ เกี่ยวกับความเชื่อในตลาดเสรี จะกลายเป็นที่มาของเว็บประมูลอันโด่งดัง eBay ซึ่งถือกำเนิดขึ้นโดย Omidyar เมื่อปี 1995 แต่เมื่อแรกเริ่มใช้ชื่อว่า AuctionWeb และเปลี่ยนชื่อเป็น eBay ก่อนที่จะเข้าตลาดหุ้นในปี 1997 จากเว็บที่เมื่อแรกตั้ง Omidyar ต้องควัก กระเป๋าจ่ายค่าเช่าเว็บเองเดือนละ 30 ดอลลาร์ วันนี้ eBay มีมูลค่าตลาด 40,000 ล้านดอลลาร์ มีผู้ใช้เกินกว่า 100 ล้านคน และมีรายได้คิดเป็นสัดส่วนถึง 14% ของรายได้จาก e-commerce ทั่วโลก ทั้งยังเป็นแหล่งสร้างรายได้หลักให้แก่คน อีก 1.3 ล้านคน

YouTube ปรากฏการณ์ viral loop ที่หยุดไม่ได้

ก่อนที่ YouTube จะเกิดขึ้นในปี 2005 การดูคลิปวิดีโอบนอินเทอร์เน็ต เป็นเรื่องที่น่าขัดใจเพราะเต็มไปด้วยขัดข้องไม่สะดวก แต่ YouTube ใช้โปรแกรม Flash ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ภาพเคลื่อนไหว ทำให้การชมคลิปบนอินเทอร์เน็ตทำได้รวดเร็ว เพียงคลิก 1 ครั้งเท่านั้น แม้ว่าคุณภาพของภาพจะต่ำ ผู้ใช้ MySpace เว็บบล็อกชื่อดัง ซึ่งสามารถลงคลิปวิดีโอในบล็อกได้ ต่างนำลิงค์ของคลิปต่างๆ ที่อยู่บน YouTube ไปแปะในบล็อก MySpace ของตัวเอง ซึ่งไม่เพียงทำให้ YouTube แพร่หลายไปทั่ว MySpace เท่านั้น แต่ยังแพร่ขยายไปทั่วเว็บ social network อื่นๆ ซึ่งมีผู้ใช้นับล้านๆ คน เกิดเป็นปรากฏการณ์ viral loop ซึ่งเมื่อเกิดขึ้นแล้วจะหยุดไม่ได้ กลางปี 2006 หรือเพียงครึ่งปีหลังจาก YouTube ถือกำเนิดขึ้น เว็บแห่งนี้ก็มีผู้ใช้แซงหน้า MySpace ไปแล้ว สุดท้าย YouTube เว็บไซต์อายุเพียง 1 ปีนี้ ก็ถูก Google ซื้อไปด้วยราคาสูงถึง 1,650 ล้านดอลลาร์



upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide



 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us