Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 



new releases
Manager 360 aStore






 
Divide or Conquer
ผู้เขียน: Diana McLain Smith
ผู้จัดพิมพ์: Portfolio
จำนวนหน้า: 290
ราคา: $25.95
buy this book

ความขัดแย้งเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ความขัดแย้งจะสร้างหรือทำลายความเป็นทีมหรือไม่ ขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ภายในทีมว่าเข้มแข็งเพียงใด ทีมที่ดีจะสามารถเปลี่ยนความขัดแย้งให้กลายเป็นความเข้มแข็ง ถ้าคุณเคยอยู่ในทีมที่พังเพราะความขัดแย้งมาก่อน แสดงว่าความสัมพันธ์ที่ไม่เข้มแข็งของทีมได้ทำลายความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกและความสัมพันธ์โดยรวม และทำให้ทีมทำงานล้มเหลว

ความเข้มแข็งของทีมเท่ากับความสัมพันธ์ที่อ่อนแอที่สุด

Divide or Conquer: How Great Teams Turn Conflict Into Strength สอนให้คุณคิดใหม่เกี่ยวกับความเป็นทีม ซึ่งไม่ใช่เป็นเพียงการเอาปัจเจกมารวมกลุ่มกัน หากแต่เป็น "ผลรวมความสัมพันธ์" ของทุกคนภายในทีม ทีมที่ดีหาใช่ทีมที่คาดหวังว่าทุกคนจะต้องเข้ากันได้ดี นั่นเป็นความเข้าใจผิด ทีมที่ดีต้องคาดหวังว่าจะเกิดความขัดแย้ง และใช้ความขัดแย้งนั้น สร้างความเข้มแข็งให้แก่ความสัมพันธ์ของพวกเขา ตรงข้าม ทีมที่ล้มเหลวคือทีมที่มักหลีกเลี่ยงความขัดแย้ง ซึ่งสุดท้ายแล้วกลับส่งผลทำลายความสัมพันธ์ของทุกคนในทีม รวมไปถึงความสามารถของทีมในการทำงานให้สำเร็จลุล่วง

จำไว้ว่า ความเข้มแข็งของทีมมีค่าเพียงเท่ากับความสัมพันธ์ที่อ่อนแอที่สุดภายในทีมเท่านั้น และเมื่อใดที่ทีมละเลยความสัมพันธ์ที่สำคัญที่สุดของทีม ทีมก็กำลังทำลาย ตัวเอง

ความสัมพันธ์คืออะไร

ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ไม่ใช่เรื่องของการถูกชะตากันหรือเคมีเข้ากัน ซึ่งเป็นเรื่องลับลึกเกินกว่าจะพิสูจน์ได้ และยากที่จะเปลี่ยนแปลงหรือปรับปรุงได้ ความจริงแล้ว ความสัมพันธ์เป็นสิ่งมีโครงสร้างและมีการทำงาน ที่มองเห็นได้ สามารถศึกษาทำความเข้าใจ และเปลี่ยน แปลงหรือปรับปรุงได้ ทีมจะตัดสินใจได้ดีและรวดเร็วเพียงใดจะสามารถสร้างสรรค์นวัตกรรม หรือแก้ไขปัญหาประสิทธิภาพการทำงาน หรือจะเรียนรู้จากความผิดพลาด ได้ดีเพียงใด ก็ขึ้นอยู่กับความเข้มแข็งของความสัมพันธ์ภายในทีม "ความสัมพันธ์" จึงหมายถึงวิธีที่คน 2 คนขึ้นไป หรือองค์กร 2 แห่งขึ้นไป มองกันและกัน และปฏิบัติต่อกัน ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลยังเป็นส่วนที่ไม่เป็นทางการของชีวิตในองค์กร เป็นส่วนที่อ่อนและยากที่จะมองเห็น หรือจับต้องได้ ทั้งยังยากที่จะเปลี่ยนแปลง

ตัวอย่างความสัมพันธ์อันแตกร้าวที่โด่งดังที่สุดในเวลาไม่นานนี้คือ ความร้าวฉานระหว่าง Steve Jobs กับ John Sculley 2 ผู้ยิ่งใหญ่แห่ง Apple มิตรภาพที่คบกันมานานกว่า 20 ปี พังภินท์ลงภายในเวลาสั้นๆ เพียง 2 ปีเท่านั้น ที่แย่ยิ่งไปกว่านั้น ความขัดแย้งของทั้งคู่ได้ระบาดไปทั่วทุกส่วนใน Apple ทำให้ Apple เกือบถูก takeover และทำให้ Steve Jobs ต้องถูกอัปเปหิจาก Apple ไปนานถึง 12 ปี จากเพื่อนรักกลายเป็นศัตรูภายในเวลาอันรวดเร็ว แสดงให้เห็นว่า แม้กระทั่งความสัมพันธ์ที่ใครๆ คิดว่าเหนียวแน่น ก็สามารถทำลายตัวเองได้เมื่อต้องตกอยู่ใต้แรงกดดัน และผู้ที่รับเคราะห์คือบริษัท ที่ต้องจ่ายราคาแพงเป็นค่าความสัมพันธ์ที่ล้มเหลว

ความสัมพันธ์มีเกิดและมีดับ

ความสัมพันธ์ทุกชนิดประกอบด้วย 2 ระดับ ระดับที่เป็นทางการ จะเกี่ยวข้องกับบทบาทหน้าที่ และความรับผิดชอบ อำนาจในการตัดสินใจ ระดับที่ 2 คือระดับที่ไม่เป็นทางการ เกี่ยวข้องกับความรับผิดชอบในด้านอารมณ์ ความรู้สึกที่มีทั้งให้และรับ การเรียกร้องและการเสียสละ และรางวัลทางใจที่มีทั้งให้และรับ เมื่อความสัมพันธ์เกิดขึ้นและพัฒนาไป จะเกิดโครงสร้างของความสัมพันธ์ ซึ่งอาจจะดีหรือร้ายก็ได้ ต่อการพัฒนาความสัมพันธ์ต่อไป หากเป็นไปในทางร้าย โครงสร้างนั้นจะลดความเป็นอิสระของแต่ละฝ่ายลงเรื่อยๆ จนในที่สุดต่างฝ่ายต่างไม่เหลือความเป็นอิสระเลย และเมื่อนั้นทางออกก็จะเหลืออยู่ทางเดียวเช่นกัน คือ ยุติหรือกำจัดความสัมพันธ์

แต่ไม่จำเป็นต้องเป็นเช่นนั้นเสมอไป ถ้าหากว่าเรา สามารถมองเห็น และเปลี่ยนแปลงโครงสร้างที่กำลังทำลายความสัมพันธ์ โดยเฉพาะความสัมพันธ์ในระดับไม่เป็นทางการ เพื่อทำให้ความสัมพันธ์เข้มแข็งขึ้น ไม่ใช่อ่อนแอลง เมื่อเวลาที่ผ่านไป

ปรับโครงสร้างความสัมพันธ์

เราใช้เวลานานหลายปีสะสมประสบการณ์ในการจัดการกับคนและสถานการณ์ต่างๆ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเริ่มต้นขึ้นตั้งแต่การพบกันครั้งแรก ต่างคนต่างก็ใช้ความรู้ที่ได้จากประสบการณ์การจัดการความสัมพันธ์ในอดีต เป็นพื้นฐานในการสร้างโครงสร้างของความสัมพันธ์ แต่เมื่อโครงสร้างนั้นเริ่มกลับมาทำลายความสัมพันธ์เสียเอง ก็ถึงเวลาแล้วที่จะต้องเปลี่ยนแปลงและปรับโครงสร้างความสัมพันธ์ใหม่ เพราะโครงสร้างเดิมและความรู้เดิม ซึ่งเคยเป็นพื้นฐานของความสัมพันธ์นั้น ใช้ไม่ได้อีกต่อไปแล้ว

การกลับไปทบทวนความรู้เก่า ที่เคยเป็นพื้นฐานของการสร้างความสัมพันธ์มี 3 ขั้น เริ่มด้วยการนึกถึงเหตุการณ์ในอดีต ที่ทำให้คุณนึกถึงความสัมพันธ์ที่มีต่อกัน ได้มากที่สุด จดสิ่งที่เกิดขึ้นทุกอย่างในครั้งนั้น และความรู้ที่คุณได้รับจากมัน แล้วดูว่าความรู้ที่คุณได้รับจากประสบการณ์และเหตุการณ์ในอดีตเหล่านั้น มีผลต่อความสัมพันธ์ของคุณกับคนอื่นอย่างไร หากคุณคิดว่า ความรู้ในอดีตคือต้นเหตุที่ทำให้ความสัมพันธ์ในปัจจุบันเสียไป ขั้นต่อไป คุณควรปรับปรุงความรู้ที่ล้าสมัยนั้น เพื่อปรับพื้นฐานความสัมพันธ์เสียใหม่ โดยมีจุดที่ควรพิจารณา 2 จุดคือ ความรู้เก่าที่เคยเป็นพื้นฐานความสัมพันธ์นั้น เริ่มกระทบกับความสัมพันธ์ตั้งแต่เมื่อใด และคุณจะปรับความรู้นั้นอย่างไร จึงจะเหมาะกับสถานการณ์ในปัจจุบัน หรือความสามารถของคุณในปัจจุบัน

สุดท้าย คือคุณสามารถรักษาความสัมพันธ์ให้อยู่รอดปลอดภัยภายใต้ความกดดันได้ ด้วยการมองไปในอนาคตข้างหน้า หลังจากกลับไปทบทวนอดีตแล้ว การมองไปข้างหน้า ก็เพื่อจะสร้างความเข้มแข็งให้กับสิ่งที่เรามีอยู่ กำหนดวัตถุประสงค์ใหม่ คาดการณ์ปัญหาที่จะเจอในอนาคต และปรับพื้นฐานของความสัมพันธ์เสียใหม่ การกลับไปทวนทวนเหตุการณ์ในอดีต จะทำให้เราสามารถสร้างองค์ความรู้ใหม่ขึ้นจากเหตุการณ์ในปัจจุบันได้ เมื่อเสร็จสิ้นการปรับโครงสร้างความสัมพันธ์ใหม่แล้ว คุณจะสามารถใช้ความรู้ใหม่ที่ได้มา เป็นพื้นฐานสำหรับการสร้างความสัมพันธ์ในอนาคตต่อไป



upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide



 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us