Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 



new releases
Manager 360 aStore






 
The Spider's Strategy
ผู้เขียน: Amit S. Mukherjee
ผู้จัดพิมพ์: FT Press
จำนวนหน้า: 237
ราคา: $34.99
buy this book

Amit S. Mukherjee ที่ปรึกษาการวางแผนยุทธศาสตร์ทางธุรกิจเตือนผู้อ่านไว้ใน The Spider's Strategy: Creating Networks to Avert Crisis, Create Change, and Really Get Ahead เล่มนี้ว่า การไหลบ่าของเทคโนโลยีและการเริ่มต้นยุคเครือข่ายคอมพิวเตอร์ จะนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงแห่งยุคสมัย และธุรกิจที่จะอยู่รอดได้ คือ ธุรกิจที่ยอมรับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวและพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเองไปเป็นธุรกิจที่ปรับตัวเก่งหรือ Adaptive Business ซึ่งสามารถจะรับมือกับความท้าทายของโลกยุคใหม่อันเป็นโลกแห่งเครือข่ายได้

Muherjee จะแนะนำเครื่องมือที่จะช่วยให้บริษัทสามารถปกป้องตัวเองจากการติด "กับดักแห่งการบริหารที่ดี" เพราะการบริหารที่ดีไม่เพียงพอเสียแล้วที่จะทำให้บริษัทประสบความสำเร็จในโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลง โมเดล การบริหารแบบดั้งเดิมที่เน้นกระบวนการวางแผนและการปฏิบัติตามแผนกำลังล้าสมัย และจะต้องเปลี่ยนแปลงโดยรวมเอาความสามารถในการ "รู้สึกไว รับมือเร็ว" เข้ามาอยู่ในกระบวนการวางแผนด้วย

เรื่องของ Nokia กับ Ericsson

ในปี 2000 เกิดไฟไหม้โรงงานของ Royal Philips Electronics ซึ่งผลิตชิปความถี่วิทยุที่ใช้ในโทรศัพท์เคลื่อนที่ สร้างความเสียหายให้แก่ชิปหลายล้านตัวที่กำลังจะจัดส่งให้แก่ Nokia และ Ericsson 2 บริษัทมือถือยักษ์ใหญ่ซึ่งเป็นคู่แข่งกัน ในขณะที่ Ericsson ไม่เห็นว่าเรื่องนี้น่าวิตกและไม่ได้จัดการรับมือแต่อย่างใด แต่ Nokia ซึ่งติดตามสถานการณ์และติดต่อกับ Philips อย่างใกล้ชิด ทำให้ทราบ ว่าสถานการณ์ดังกล่าวหนักหนาเกินกว่าที่ Philips จะควบคุมได้ และอาจกระทบกับการผลิตโทรศัพท์มือถือหลายล้านเครื่องของ Nokia บริษัทมือถือยักษ์ใหญ่แห่งนี้ รีบตั้งคณะทำงาน 3 ชุด ชุดแรกเป็นทีมผู้บริหารและวิศวกร ไปช่วยแก้ปัญหาให้ Philips ซึ่งเป็นคู่ค้า ชุดที่สองทำการออกแบบชิปใหม่เพื่อให้โรงงานอื่นๆ ทั้งที่ใช่และไม่ใช่โรงงานของ Philips สามารถผลิตได้ ชุดสุดท้ายเสาะหาโรงงานผลิตอื่นๆ เพื่อลดแรงกดดันต่อ Philips

ในปีนั้นยอดขายโทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ Laptop และสินค้าในตลาดอิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ เติบโตมากกว่า 40% และ Nokia มีผลกำไรเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 42 ในไตรมาสที่ 3 ของปีนั้น ส่วนแบ่งตลาดในตลาดโลกก็เพิ่มขึ้นเป็น 30% ในรายงานประจำปีของ Nokia ในปีนั้น แทบไม่ได้พูดถึงปัญหาไฟไหม้โรงงานดังกล่าวเลย แต่ทางด้าน Ericsson กลับขาดทุน 200 ล้านดอลลาร์ในไตรมาสที่ 2 ในแผนกโทรศัพท์มือถือ โดยระบุสาเหตุว่าเป็นเพราะ ไฟไหม้โรงงานทำให้ขาดแคลนชิ้นส่วนโทรศัพท์

จะเห็นว่า Nokia ประสบความสำเร็จในครั้งนี้ เนื่องจากได้บรรจุความสามารถในการรับมือปัญหาอย่างรวดเร็วลงในแผนยุทธศาสตร์ใหญ่ของบริษัท รวมไปถึงในกระบวนการทำงาน คุณค่าและเทคโนโลยีของบริษัทด้วย ทำให้สามารถปรับตัวได้อย่างรวดเร็วในการเปลี่ยนแปลงแผนธุรกิจของตัวเอง

4 หลักการสู่การเป็นธุรกิจปรับตัวเก่ง

1) รวมความสามารถในการรู้สึกและรับมือลงในกระบวนการวางแผนและปฏิบัติตามแผน เพื่อตรวจพบปัญหาและแก้ไขได้แต่เนิ่นๆ รวมถึงความสามารถในการจัดการปัญหาอย่างได้ผล

2) ใช้แผนธุรกิจที่ส่งเสริมการร่วมมือกับคู่ค้าในเครือข่ายธุรกิจ ในยุคโลกาภิวัตน์ บริษัทต่างขยายตัวไปทั่วโลก จึงต้องสร้างความสัมพันธ์และความร่วมมือกับหุ้นส่วนธุรกิจในส่วนอื่นๆ ของโลก เพื่อขอความช่วยเหลือได้ทันท่วงทีเมื่อเกิดวิกฤติ หรือคว้าโอกาสทองไว้ได้เมื่อมองเห็นโอกาส

3) เห็นคุณค่าของการแบ่งปันความรู้ภายในเครือข่าย รวมถึงการสะสม วิเคราะห์ความรู้ที่ได้จากการทำงานว่า วิธีใดได้ผลและวิธีใดที่ไม่ได้ผล

4) ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยให้บริษัทปรับตัวได้อย่างชาญฉลาดเมื่อสภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไป



upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide



 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us